13 ก.ค. 2552

ความดันโลหิตสูง...ไม่ควรมองข้ามต้องรีบรักษา 2

ร้อยละ 70 ของผู้เป็นความดันโลหิตสูง…มักเป็นโรคหัวใจ

โรคหัวใจแอบแฝงที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่ควรละเลย จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจวายถึง 60-75 % เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูง มักจะไม่รู้ตัวว่าเป็นเพราะไม่แสดงอาการ เลยไม่ได้ให้ความสนใจ แต่เมื่อเราเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนแล้วจึงจะเริ่มสนใจและรักษา นั่นอาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควรซึ่งการควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดโอกาสเกิดโรค อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ ความดันโลหิตนั้นเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ดังนี้1. อายุ ส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ขณะอายุ 18 ปี ความดันโลหิต เท่ากับ 120/70 มม.ปรอท แต่พออายุ 60 ปี ความดันโลหิต อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 140/902.เวลา ความดันโลหิตจะขึ้นๆ ลง ๆ ไม่เท่ากันตลอดวัน ตัวอย่างเช่น ในตอนเช้าความดันซีสโตลิกอาจจะวัดได้ 130 มม. ปรอท ขณะนอนหลับอาจวัดได้ถึง 140 มม.ปรอท ขณะนอนหลับอาจวัดได้ต่ำถึง 100 มม. ปรอท เป็นต้น

3. จิตใจและอารมณ์ พบว่ามีผลต่อความดันโลหิตได้มากขณะได้รับความเครียด

4. เพศ พบว่าเพศชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้บ่อยกว่าเพศหญิง

5. พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีบิดาและมารดา เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่า ผู้ที่ไม่มี ประวัติในครอบครัว สิ่งแวดล้อม ที่เคร่งเครียดก็ทำให้มีแนวโน้มการเป็นโรคความดันสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

6. สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ที่อยู่ในสังคมเมืองจะพบภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าในสังคมชนบท

7. เชื้อชาติ พบว่าชาวนิโกรอเมริกันความดันโลหิตสูงมากกว่าชาวอเมริกันผิวขาว

8. ปริมาณเกลือที่รับประทาน ผู้ที่รับประทานเกลือ มากจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่รับประทานเกลือน้อยอาการของผู้ป่วยความดันโลหิต ซึ่งอาจส่งผลต่อการเป็นโรคหัวใจ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลย หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจมีอาการแน่นหน้าอกหรือนอนไม่หลับ

กรณีที่ 1 ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรง ได้แก่ภาวะหัวใจวานหรือ หลอดเลือดในสมองแตก

กรณีที่ 2 ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ทำให้หัวใจ เต้นผิดจังหวะ อาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หลอดเลือดสมองตีบเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือหลอดเลือดแดงในไตตีบมาก ถึงขั้นไตวายเรื้อรังได้

ภาวะแทรกซ้อน

- หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวายได้ในที่สุด

- อาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตก ทำให้เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ถ้าเป็นเรื้อรังอาจกลายเป็นโรคความจำเสื่อม สมาธิลดลง

- เลือดอาจไปเลี้ยงไตไม่เพียงเนื่องจากหลอดเลือดเสื่อมทำให้ไตวายเรื้อรัง และภาวะไตวายจะยิ่ง ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีก

- หลอดเลือดแดงในตาจะเสื่อมลงอย่างช้าๆ จนตาบอดได้การป้องกัน…รักษาโรคหัวใจแทรกซ้อนจากการเป็นความดันโลหิตสูง

- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น การเดินเร็วๆ วิ่งเหยาะ หรือว่ายน้ำ ปั่นจักรยานควรออกกำลังกายประมาณ 15-20 นาที อย่างน้อย 3-6 ครั้ง/สัปดาห์

- ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด เพื่อลดปริมาณเกลือซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงได้

- ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่

- ลดความเครียดของงานและภาวะแวดล้อม

- ลดน้ำหนักตัวโดยเฉพาะในรายที่น้ำหนักเกินมาตรฐาน ความอ้วนถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคความดันโลหิต

- รับประทานยาและพบแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อตรวจวัดความดันโลหิตและปรับยาให้เหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น: