13 ก.ค. 2552

ภัยเงียบ…โรคหัวใจในผู้เป็นเบาหวาน

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเมื่อก่อนอาจจะเป็นเรื่องของผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ในทุกวันนี้เกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประชากรโลกรวมทั้งในประเทศไทยด้วย แต่ทราบหรือไม่ว่า โรคนี้มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยเบาหวานเป็นอย่างมากเป็นภาวะแทรกซ้อน ที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานาน และมีการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีพอ ทำให้เกิดความเสื่อมของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย เห็นได้จากสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ในผู้ป่วยเบาหวานเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นอัตราการตายที่สูงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานถึง 7 เท่าทำไมต้องป้องกันโรคแทรกซ้อนทางหัวใจจากเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีความผิดปกติของหลอดเลือดเร็วกว่าคนปกติทั่วไป รอยโรคเหล่านี้ (plaque) อาจจะมีการปริซึ่งจะเหนี่ยวนำทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดอย่างเฉียบพลันทำให้มีการตายของกล้ามเนื้อตามมา และนอกจากนั้นอัตราการเสียชีวิตก็เกิดขึ้นมากกว่า ถ้าเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานการรักษาได้ผลดีน้อยกว่าคนทั่วไป การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัวใจย่อมดีกว่า การปล่อยให้เกิดโรคแล้วค่อยทำการรักษา อาการโรคหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วยเบาหวานแตกต่างจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอื่นๆ หรือไม่ ?

… อาการเจ็บหน้าอกของโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่เป็นเบาหวานมักไม่ชัดเจนหรือไม่มี เนื่องจากมักมีปัญหาปลายประสาท รับความรู้สึกเสื่อมสภาพร่วมด้วย ทำให้วินิจฉัยโรคได้ยากกว่าปกติ อาการอื่นที่ทำให้สงสัยว่าอาจเป็นโรคหัวใจ ได้แก่ อาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ อาการแน่น อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก หน้าอกข้างซ้าย หรือลิ้นปี่ คล้ายอาการจุกเสียด อาหารไม่ย่อย อาการปวดร้าวที่ท้องแขนด้านใน หน้ามืด วิงเวียน เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น จะเป็นลม หรือหมดสติผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ?

… มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขณะที่มีอายุน้อยกว่าคนทั่วไป และ มีความรุนแรงมากกว่าคนทั่วไปจะมีอัตราการเสียชีวิต และภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าคนทั่วไป เมื่อเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ มากกว่าคนทั่วไป 2- 4 เท่า มีโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วยหญิงมากกว่าชาย มักจะมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความดัน ไขมันสูง ทำให้มีอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจสูงขึ้นทำไม..ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่า หรือรุนแรงกว่าคนทั่วไป หรือคนที่เป็นโรคอื่น ?

... ระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความเสื่อมของผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ภาวะเบาหวานทำให้มีสารบางชนิดเพิ่มสูงขึ้น ในสารต่างๆ ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงเสื่อมได้เพิ่มขึ้น

*** ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คือ อาจจะมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน และมักจะมีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคความดันโหิตสูง และมีโรคอ้วน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ระดับอินซูลินในเลือดสูง ส่งผลทำให้หลอดเลือดมีโครงสร้าง และหน้าที่ผิดปกติไปหลอดเลือดต่างๆ ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดอักเสบมีโอกาสปริแตกทำให้มีลิ่มเลือดอุดตันอย่างเฉียบพลันได้อาการอาจมีหลายอย่างเกิดขึ้นเวลาใดก็ได้ อาจมีภายหลังจากที่รับประทานอาหารในปริมาณมาก ตื่นนอนตอนเช้า อากาศเย็น หลังออกกำลังกาย ขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ (ในรายที่ท้องผูก) เป็นต้น

อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบพบแพทย์ควรป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดหัวใจจากเบาหวานอย่างไร ?ภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ป้องกันได้ในผู้ป่วยเบาหวาน ต้องพยายามควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติมากที่สุด ได้แก่ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ และการแก้ไขภาวะผิดปกติที่พบร่วมกับโรคเบาหวาน เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน และอื่นๆ หรือในรายที่โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเกิดขึ้นแล้ว การดูแลตนเอง การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ การไปพบแพทย์ตามนัดมีความสำคัญ….

การป้องกันไม่ให้เกิดโรคย่อมดีกว่าการปล่อยให้เกิดโรคแล้วค่อยทำการรักษา ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องพยายามดูแลตนเองด้วยการควบคุมเบาหวานให้ดี เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวานด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: