3 ส.ค. 2553

IQ, EQ, MQ, AQ และ สารพัด Q

แม้ว่าเราจะได้ยินคำว่าไอคิวมาเป็นเวลาร่วมศตวรรษแล้ว ก็มีอีกหลายๆ
คิวที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เช่น อีคิว เอ็มคิว เอคิว และอีกหลายๆ คิว
สารพัดคิวเหล่านี้มีที่มาอย่างไร และมีความหมายอย่างไรกันแน่


IQ (Intelligence Quotient) หรือ ไอคิวที่เราคุ้นกัน
มีผู้ให้คำจำกัดความว่า
คือตัวเลขทางสถิติที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องและการเปรียบเทียบของความสามารถที่จ­ะได้รับความรู้หรือทักษะทางการศึกษา
ซึ่งน่าจะแปลง่ายๆว่า ไอคิวคือตัวเลขที่บอกความฉลาดในการเรียนรู้
ผู้รู้บางกลุ่ม กล่าวว่า ไอคิวเริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 19
โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อเซอร์ฟรานซิส กาลตัน หลังจากความโด่งดังของ
”The Origin of Species” สิ่งพิมพ์ของ ชราลส ดราวิน ดังขึ้นในปี คศ 1859
เซอร์ฟรานซิส กาลตัน
ได้ศึกษาอย่างหนักเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องของความสามารถของมนุษย์กับพันธุกรรม

การสอบวัดไอคิวได้เริ่มมีขึ้นอย่างล้นหลาม
เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาต้องแยกแยะทหารเกณฑ์ตามกลุ่มความฉลาดเพื่อประจำตำแหน่ง­ต่างๆ
ในการทำสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากนั้น บริษัท ห้างร้านก็เริ่มใช้การทำสอบนี้
เพื่อตัดสินการว่าจ้าง เลื่อนตำแหน่ง หรือย้ายตำแหน่ง
จากนั้นก็มีการนำไปใช้ในระบบการศึกษา

เดิมมีการหาค่า IQ จากอายุของเด็กที่ควรทำข้อสอบ
หารด้วยอายุของจริงของเด็กแลัวคูณด้วย 100 เช่น เด็กอายุ 8 ขวบ
สามารถทำข้อสอบเท่ากับเด็กอายุ 12 ขวบ ค่า IQ คือ 12¸ 8 X 100 = 150
ซึ่งการคำนวณนื้ใช้กับผู้ใหญ่ไม่ได้ เพราะ หากผู้ใหญ่อายุ 20 แต่
ทำข้อสอบสำหรับคนอายุ 30 ได้ การคำนวณก็จะเป็น 30 ¸ 20 X 100 = 150 จะตีความว่า
ผู้ใหญ่คนนี้มี IQ เท่ากับเด็ก 8 ขวบไม่ได้

การคำนวณค่า IQ
ในปัจจุบันจึงใช้วิธีเปรียบเทียบความสามารถกันในกลุ่มคนที่อายุเท่ากัน
โดยมีการยึดค่า 100 เป็น มาตรฐาน ผู้ที่ได้คะแนนต่างกัน ก็จะแปรค่าดังนี้


คะแนนระหว่าง หมายความว่า
40 - 54 มีปัญหาเรื่องสมองอย่างร้ายแรง เพราะคะแนนที่ได้ น้อยกว่า 1%
ของผู้ทดสอบทั้งหมด
55 - 69 มีปัญหาทางสมอง เพราะคะแนนที่ได้ ประมาณ 2.3 % ของผู้ทดสอบทั้งหมด
70 - 84 ต่ำกว่ามาตรฐาน
85 - 114 มาตรฐานคือได้ 68% ของผู้ทดสอบทั้งหมด
115 - 129 สูงกว่ามาตรฐาน
130 - 144 มีพรสวรรค์ 2.3 % ของผู้ทดสอบทั้งหมด
145 - 159 อัจฉริยะ น้อยกว่า 1 % ของผู้ทดสอบทั้งหมด
160 - 175 อัจฉริยะ อย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม Walter Lippmann โต้แย้งว่า เพื่อให้ได้รับคะแนนไอคิวสูงๆ
อาจทำได้จากการเตรียมตัว ซักซ้อมและทำข้อสอบนั้นๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก
โดยไม่จำเป็นต้องมีความฉลาด
ดังนั้นจึงไม่เป็นธรรมที่จะตีค่าความฉลาดของเด็กจากการทดสอบที่ไม่เป็นธรรมเช่น­นั้น
ดังนั้นในปี 1960-1970 การทดสอบไอคิวจึงไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนัก


EQ (Emotional Intelligence Quotient) หรืออีคิว ได้มีกำเนิดขึ้นในราวปี
คศ 1985 โดยนักจิตวิทยาชาวอิสราเอลชื่อ Reuven Bar-on
ที่ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ที่ทดสอบได้คะแนนไอคิวสูงหลายคนไม่ประสบความสำเร็จในชีว­ิต
และเริ่มให้ความสำคัญกับการควบคุมอารมณ์ ซึ่งบางคนเรียกว่า “ความฉลาดทางอารมณ์”
คือ ความเป็นผู้ใหญ่ทางอารมณ์ Emotional Maturity

คนมีไอคิวสูงจะประสบความสำเร็จในชีวิตจริงหรือ
สำหรับในสังคมไทยเราก็อาจเห็นตัวอย่างมากมายที่ผู้มีไอคิวสูง
เป็นคนเก่งแต่ไม่มีความสุข เช่น ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ที่แพทย์หญิงฆ่าตัวตาย
เพราะสามีได้รับอีเมล์จากแฟนเก่าในวันวาเลนไทน์
กว่าคนเราจะเป็นแพทย์ได้ก็ต้องมีความสามารถทางสมองสูงมาก
อะไรทำให้แพทย์หญิงคนนั้นรู้สึกทุกข์ใจ
ไร้ความมั่นคงทางอารมณ์ถึงขนาดกำจัดชีวิตตนเองได้
หรืออีกข่าวหนึ่งที่อาจารย์ระดับปริญญาเอกสอนอยู่มหาวิทยาลัยดังแห่งหนึ่งเกิดโ­ทสะ
หึงหวงภรรยาจนใช้กำลังทุบตีจนเสียชีวิต ก็เป็นเพราะอาจารย์ผู้นี้มีไอคิว
เรียนสูงถึงปริญญาเอกได้แต่ไม่มีความสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
เพราะคนที่มีอีคิวสูงคือคนที่ต้องรู้ว่าเมื่อไร
ที่ต้องควบคุมอารมณ์หรือแสดงอารมณ์ และต้องแสดงอารมณ์และควบคุมอารมณ์อย่างไร

อีคิว Emotional Intelligence Quotient หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ
“ความฉลาดทางอารมณ์” ได้รับความสนใจอย่างมากมายราวปี คศ 1995 เมื่อ Daniel
Goleman (1995) เขียนหนังสือเรื่อง Emotional Intelligence : Why It Can Matter
More than IQ. ออกมาเพื่อค้นหาว่าอะไรบ้างที่ทำให้คนประสบความสำเร็จในชีวิต
และได้ชี้ชัดว่า...


คนเราต้องมีองค์ประกอบอยู่ 5 อย่างเพื่อให้มีความฉลาดทางอารมณ์ คือ


1. Self-awareness การรู้จักตนเอง รู้จักความรู้สึกของตนเองอย่างแท้จริง
ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมของเราเอง และเข้าใจว่าผู้อื่นยอมรับเราแค่ไหน
และรู้ตัวเมื่อมีอารมณ์ในทางลบหรือมีการปรับเปลี่ยนอารมณ์


2. Personal accountability คือความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง
การจัดการหรือบริหารอารมณ์ รวมทั้งการป้องกันแรงกระตุ้นกระทันหัน impulses
คือรู้สติเกี่ยวกับสิ่งที่มากระทบกระเทือนอารมณ์
สามารถที่จะควบคุมความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้
สามารถควบคุมความฉุกละหุกที่เกิดขึ้นกับตนเองได้


3. Positively self-motivated Powerful impetus : Honesty and
integrity มีการขับเคลื่อนตนเองไปในทางที่ดี
เพื่อกำจัดการกระทบกระเทือนทางอารมณ์เราต้องมีคุณธรรมทางด้านดี อันได้แก่
ความซื่อสัตย์และความดี ความโหยหา ความรัก ความเอื้ออาทร ความเคารพ
ความพร้อมเพียง การให้อภัย อารมณ์ขัน และศรัทธา ซึ่งจะสามารถทำให้เรารับ
และยอมรับแรงกดดันต่างๆในชีวิตได้ เช่นเมื่อมีการแข่งขันและเราแพ้
ก็สามารถยอมแพ้ได้โดยไม่รู้สำว่าเป็นผู้ล้มเหลว


4. Empathy and sensitivity ความเห็นอกเห็นใจและไวต่อความรู้
เพื่อการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นเราต้องมีตรงนี้
และต้องมีความเข้าใจความรู้สึก ความต้องการและความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น
ซึ่งหากเราขาดตรงนี้ไป เราจะทำงานร่วมกับคนอื่นลำบาก
เพราะจะช่วยให้เราสามารถประนีประนอมกับผู้ร่วมงาน
และแก้ไขข้อขัดแย้งและสร้างความกลมเกลียวในหมู่ผู้ร่วมงาน


5. Capacity to develop and sustain relationships
ความสามารถในการสร้างและรักษาสัมพันธ์กับผู้อื่น
ในการสร้างความไว้วางใจ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ในครอบครัว กลุ่มคน
และสังคมเข้าด้วยกัน การสร้างความเชื่อใจจะลึกซื้งกว่าการเข้ากันได้
ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนความหงุดหงิดรำคาญใจเป็นแรงบันดาลใจ


มีผลงานวิจัยของ เด็ก 450 ใน Sommerville มลรัฐแมทซาซูเซ็ท
ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า ไอคิวมีความสัมพันธ์ต่อการประสบความสำเร็จของคนน้อยมาก
แต่เมื่อศึกษาคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตพบว่า หลายๆ คนมีสิ่งที่เหมือนกันคือ
ในวัยเด็กพวกเขามีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ การประนีประนอมความโกรธ
และการเข้ากับคนในสังคมได้

คดีหมอแฮมฆ่าแฟนสาวที่เป็นหมอเหมือนกันนั้น
หากทำไปด้วยอารมณ์โกรธหรือโมโหที่ยั้งการกระทำของตัวเองไม่อยู่ก็น่าจะเข้าข่าย­ไอคิวดีแต่อีคิวแย่
ส่วนคดีดังอีกคดีหนึ่งที่นายแพทย์เป็นผู้ฆ่าภรรยาซึ่งเป็นแพทย์เหมือนกัน
อันนี้ไม่ใช่เพราะหมอไม่มีอีคิว แต่ที่ท่านขาดไปคือเอ็มคิวต่างหาก
เพราะคุณหมอท่านนี้ไม่ได้ขาดการควบคุมอารมณ์ แต่ขาดคุณธรรม หรือ moral
แล้วเอ็มคิวคืออะไร คนที่มีไอคิวดีก็จะเป็นคนฉลาด
อีคิวดีก็เป็นคนอารมณ์ดีมีความสุข
ซึ่งคนที่มีทั้งไอคิวและเอ็มคิวนี้อาจเป็นคนที่สังคมไม่ต้องการก็ได้
หากเขาไม่มีเอ็มคิว หรือผู้เขียนอยากเรียกว่า “ความฉลาดทางศีลธรรม”


MQ (Moral Intelligence Quotient) เอ็มคิว
หากคนเราเก่งมีไอคิวสูงมีความฉลาด เรียนหนังสือเก่ง
และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข (อีคิวสูง) อาจเป็นภัยแก่สังคม
หากเขาไม่มีเอ็มคิวก็ได้
เอ็มคิวอาจเรียกว่าความฉลาดทางศีลธรรมที่เราต้องรู้ถูกรู้ผิด Cowan (1996)
ให้คำจำกัดความว่า เอ็มคิวรวมความรู้สึกถูกผิด self-principle จุดยืนของตนเอง
และความเคารพต่อความรับผิดชอบของคนต่อสังคมและมนุษยชาติ
ส่วนคำจำกัดความที่รองประธานบริษัทการจัดการธุรกิจ จำกัด ให้ไว้คือ
เอ็มคิวประกอบด้วย ethics, integrity, and spiritual civilization
คือการอยู่ในสังคม อยู่ด้วยความนับถือตนเองและผู้อื่น integrity
หมายถึงคุณสมบัติของมนุษย์ที่เกือบไม่มีที่ติ spiritual civilization
คือคุณสมบัติที่ดีทั้งหลาย เช่นความซื่อสัตย์
ความถูกต้องและความจริงใจที่ทำให้เกิดความรักและศรัทธาโดยคนรอบข้าง


คนที่มีเอ็มคิวสูงควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. สามารถควบคุมตนเองได้เพื่อไม่ให้ทำในสิ่งผิด เช่น
การรับสินบนหรือคอรัปชั่น
2. มีความดีที่เป็นรากฐานของการกระทำของคนดี
3. คำพูดของเขาคือเกียรติ


AQ (Adversity Quotient /Advancement Quotient) ผู้รู้บางท่านบอกว่า AQ
ย่อมาจาก Adversity Quotient คือ ความฉลาดทางร่างกาย จิตใจและทางกำลังใจ
ที่จะอยู่กับความเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนของชีวิต
บางท่านให้คำจำกัดความว่า AQ คือความฉลาดในการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส
Surekha (2001) ได้สรุปงานของ Paul Stoltz, ซึ่งเป็นผู้ออกแบบก่อตั้งทฤษฎี AQ
theory และเป็นประธานกรรมการบริหาร ของ Peak Learning
ผู้มีประสบการณ์ทำงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่มากกว่าร้อยบริษัท
ได้กล่าวว่าตัวชี้ความสำเร็จของชีวิตไม่ใช่ไอคิวหรืออีคิว แต่เป็นเอคิว
คือความสามารถในการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส เพราะจากผลงานวิจัยจากคน 100,000
คน ทุกวันนี้คนเราต้องเผชิญกับวิกฤตที่มีมากขึ้น วันละประมาณ 23 วิกฤตต่อวัน
(ซึ่งเมื่อ 15 ปีก่อนมีประมาณ 7 วิกฤตต่อวัน)
และเราควรจะรู้ว่าระดับเอคิวของแต่ละคน the AQ theory of Stoltz กล่าวว่า
คนที่ประสบความสำเร็จ คือ คนที่ไม่พ่ายแพ้ต่ออุปสรรค
แต่กลับทำประโยชน์ให้เกิดจากอุปสรรคนั้นๆ คนในแต่ละองค์กรถูกแบ่งออกเป็น สาม
กลุ่มคือ climbers, campers and quitters.


1. Climbers หรือพวกปืนป่าย หมายถึงกลุ่มที่แสวงหาเรื่องที่ท้าทายความสามารถ
คนที่ทำงานด้วยค่าคอมมิชชั่นจัดอยู่ในพวกนี้ด้วย องค์กรที่มุ่งมั่นในการผจญภัย
Microsoft จัดเป็นองค์กรประเภทนี้ หากเป็นปิรามิด ของความต้องการของ Abraham
Maslow (in his Hierarchy of Needs Theory)
พวกนี้จะพยายามฟันฝ่าอุปสรรคขึ้นไปจนถึงชั้นสูงสุด


2. Campers พวกนักแคมป์ คือพวกที่มีอยู่ประมาณ 80% ของคนในองค์กรทั่วไป
พวกนี้จะไม่ยอมละทิ้งความสะดวกสบายเพื่ออะไรที่ยิ่งใหญ่กว่าปัจจุบัน
พวกเขามักคิดว่า เท่าที่ทำนี้พอกับความสามารถของตนแล้ว


3. Quitters คือพวกที่ไม่ยอมเสี่ยง ไม่มีความพยายามที่จะทำอะไรทั้งสิ้น
พวกที่ละทิ้งความใฝ่ฝันของตนเองและเลือกที่จะทำแต่สิ่งง่ายๆ
แม้ว่าจะรู้ว่าหากพยายามต่อสู้ไปก็จะทำให้ชีวิตดีขึ้น
พวกเขาก็เลือกที่จะอยู่อย่างสบายๆ มากกว่าการต่อสู้ ซึ่งทั้ง Campers และ
Quitters นี้จะเป็นตัวถ่วงที่น่ารำคาญของพวก Climbers เป็นอย่างยิ่ง


บางท่านว่า AQ ย่อมาจาก Advancement Intelligence Quotient
ซึ่งผู้เขียนอยากแปลว่าความฉลาดทางการรักความก้าวหน้า
ซึ่งเป็นแรงสำคัญในการกระตุ้นให้ผู้นั้นทำงานอย่างจริงจังทุ่มเทเพื่อความก้าวห­น้า
AQ จึงเปรียบได้กับแบตเตอรี่รถยนต์
ในรถยนต์ราคาแพงถ้าแบตเตอรีดีก็มีประโยชน์สารพัดอย่าง แต่หากแบตเตอรี่อ่อนมาก
รถราคาแพงนั้นก็เกือบเป็นรถยนต์ที่ไร้ค่า


AQ จึงเปรียบได้กับพลังหรือกำลังใจในการต่อสู้อุปสรรคของตนนั่นเอง
มีผู้แบ่งคนออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้


กลุ่ม E (AQ=Zero) คือ กลุ่มที่ไม่รู้จักขวนขวายหรือทำอะไรด้วยตัวเอง
เป็นพวกที่ต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่นเป็นนิจ
กลุ่ม D (AQ=Very Low) พวกที่มีความรู้ เข้าใจชีวิต แต่ไม่อยากต่อสู้
กลุ่ม C (AQ=Low) พวกที่พอเริ่มต่อสู้ชีวิตก็ยอมแพ้เสียแล้ว
พวกนี้มีความกระตือรือร้นที่จะต่อสู้ มีการวางแผน แต่พอประสบปัญหาก็จะหยุดทันที
กลุ่ม B (AQ=Medium) พวกที่ยินดีต่อสู้ชีวิต
แต่พอถึงจุดหนึ่งที่ตนพึงพอใจก็จะหยุด คนกลุ่มนี้จะเป็นลูกจ้างที่ดี
กลุ่ม A (AQ=High) พวกที่ชอบต่อสู้กับอุปสรรค สามารถแก้ปัญหา ขจัดสิ่งกีดขวาง
เอาชนะอุปสรรค และสามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้


SQ (Spiritual Intelligence Quotient) เอสคิว เป็นมิติใหม่ของความฉลาด
ได้เริ่มมีผู้ใช้กันในปี 2000 โดย Dena Zohar และ Ian Marshall
ซึ่งหมายถึงความฉลาดในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับความหมายและค่านิยม
ส่วนผู้รู้ท่านอื่นว่าหมายถึงความฉลาดของมนุษย์
ในด้านการตั้งเป้าหมายในชีวิตและการปกป้องตัวเองจากความขุ่นเคืองทั้งหลาย
บางท่านว่า SQ จะช่วยให้คนเราจัดสมดุลย์ให้แก่อาชีพการงานและชีวิตครอบครัว
เช่นหากผู้บริหารท่านหนึ่งที่มี SQ สูงก็จะมองโลกไปไกลกว่าการทำกำไรในธุรกิจ
และทำงานการกุศลแก่สังคมของผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น


ผู้ที่มี SQ สูงจะมีลักษณะดังนี้
1. อลุ่มอล่วยได้ (Flexibility)
2. รู้จักตนเอง (Self-awareness)
3. ความสามารถในการผจญกับความทุกข์ (Ability to face and use suffering)
4. ความสามารถในการรับแรงบันดาลใจโดยวิสัยทัศน์ (Ability to be inspired by a
vision)
5. ความสามารถในการเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่ต่างๆ กัน ในภาพรวม
ความสามารถในการมองภาพรวม (Ability to see connections between diverse
things—thinking holistically)
6. ความปรารถนาและความสามารถที่จะให้เกิดผลเสียน้อยที่สุด (Desire and capacity
to cause as little harm as possible)
7. แนวโน้มที่จะก่อและวิพากษ์ปัญหาพื้นฐาน (Tendency to probe and ask
fundamental questions)
8. ความสามารถในการทำงานย้อนกระแส (Ability to work against convention)


Cherian Tekkeveettil (2001) ได้ยกตัวอย่างความฉลาดด้านอื่นๆ
โดยมิได้ให้คำย่อไว้ คือ
Logical-Mathematical Intelligence คือความสามารถในการนำข้อมูลต่างๆ
มาจัดระบบให้เข้าใจง่าย เช่นพวกที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์
พวกที่สามารถแก้ปริศนาอักษรไขว้ พวกที่เข้าใจการทำงานของของใช้ภายในบ้าน เช่น
ปั๊มน้ำ หลอดไฟ เป็นต้น
Linguistic Intelligence คือความสามารถในการรับรู้ภาษาและอารมณ์ที่ต่างกัน
Musical Intelligence คือความสามารถในการรับเสียง จังหวะ และระดับเสียง
สามารถจัดระบบเสียงให้คนฟังรื่นหูได้
Bodily-Kinesthetic Intelligence ความสามารถในการใช้ร่างกาย เช่นพวกนักกีฬา
นักเต้นรำ นักคาราเต้ รำไทเก็ก และศิลปะอื่นๆ หรือบางท่านเรียกว่า Practical
Intelligence Quotient
Interpersonal Intelligence ความสามารถในการเข้ากับคนอื่นๆได้
เข้าใจความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น
Intrapersonal Intelligence ความสามารถในการทำให้ตนเองผ่องแผ้ว
Spatial Intelligence ความสามารถในการสร้างภาพทางจิตใจ แบบที่พวกสถาปนิก ศิลปิน
นักออกแบบมี
นอกจากนี้ยังมี ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
คนบางคนปรับตัวกับอากาศ ความกดดันได้ดี เพราะมี Biological Intelligence
Quotient สูงนั่นเอง ส่วนคนบางคนทำอะไรก็ดูดีไปหมด ไม่ว่าจะเดิน จะรำไทย หรือ
เต้นแบบฝรั่ง เพราะเขามี Psychomotor Intelligence Quotient


VQ (Values Intelligence Quotient)
คือความสามารถในการเข้าใจองค์ประกอบที่จำเป็นของความฉลาด
เข้าใจและสามารถรับมือกับภูมิหลังของคน วัฒนธรรม ศาสนา สังคม เชื้อชาติ
และระบบค่านิยมสากล


ความสามารถทั้งหมดมีอยู่กี่ชนิด


ความสามารถก็เหมือนกับความดีและความสวย
ที่เราไม่มีเครื่องมือวัดอย่างชัดเจนและเที่ยงตรงได้
โดยธรรมชาติคนออกแบบเครื่องมือวัดก็ต้องเห็นว่าของตนเองดีที่สุด
เช่นหากเราให้มนุษย์ถ้ำเป็นผู้ตัดสินหรือวัดความฉลาด นักวิทยาศาสตร์หลายๆ
คนคงจะต้องสอบตกแน่ เพราะพวกเขาไม่มีความสามารถในการล่าสัตว์
ไม่สามารถบอกเวลาโดยดูดวงอาทิตย์
และใช้ชีวิตความเป็นอยู่โดยธรรมชาติอย่างพวกเขาได้

ไม่มีใครรู้ว่ามัน ความสามารถต่างๆ นี้มีทั้งหมดกี่คิว
ขึ้นอยู่กับว่าใครต้องการจะตั้งกฎเกณฑ์ในการเปรียบเทียบความสามารถในด้านใด
แล้วก็เรียกมันว่าความฉลาดทางนั้นๆ ซึ่ง อาจารย์นิต สมาพันธ์
ได้รวบรวมเหตุผลและทฤษฎีต่างๆ จนเกิดความฉลาดในการบริหารองค์กร OQ
(Organizational Intelligence Quotient) และ อื่นๆ เช่น CQ (Creativity
Intelligence Quotient) และ ความสามารถอื่นๆ ตามแต่โอกาส คือเรามี A Quotient
for all occasions

ไม่มีความคิดเห็น: