23 ต.ค. 2550

วิธีการอ่านและวิเคราะห์จิตใจคน

วิธีการอ่านและวิเคราะห์จิตใจคน
ในสังคมปัจจุบันไม่ว่าเราจะอยู่ในสถานะภาพใดหรือประกอบอาชีพใด ต่างต้องมีการติดต่อสื่อสารพบปะพูดคุย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือเพิ่มความสัมพันธ์กับผู้อื่นให้ดียิ่งขึ้น และหัวใจที่ทำให้เราประสบความสำเร็จทั้งในหน้าที่การงาน ,ในด้านครอบครัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ก็คือ " การรู้เท่าทันความคิดของผู้อื่น " การรู้เท่าทันผู้อื่น เพื่อเราจะได้ปรับพฤติกรรมของเราให้เข้ากับ พ่อ แม่ หรือสมาชิกในครอบครัว , เพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้ง ตามที่เคยนำเสนอ ศาสตร์ในการอ่านใจคน ด้วยหลักจริต 6 ซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่จะทำให้เรารู้แนวโน้มพฤติกรรมของผู้อื่นอย่างกว้าง ๆ และเพื่อให้เราเข้าใจผู้อื่นอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น Dr.Dimitrius ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทในการคัดเลือกคณะลูกขุนเข้าร่วมพิจารณาคดีดัง ๆ มากมาย ในสหรัฐอเมริกา ได้เสนอหลักในการอ่านความคิด ,แรงจูงใจและพฤติกรรมของผู้อื่น ณ จุดเวลานั้น เช่น อ่านคนจากน้ำเสียง , จากวิธีการพูดจา เป็นต้น แต่การอ่านความคิดมนุษย์เป็นเรื่องที่ละเอียดสลับซับซ้อนเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีกรอบความคิดที่ชัดเจน เพื่อป้องกันความสับสน เพราะเบื้องหลังพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์แสดงออกมาย่อมเกิดจาก แรงกระตุ้น ที่ต่างกันไป ดังนั้น เพื่อง่ายต่อการปรับประยุกต์ใช้ Dr. Dimitrius จึงให้หลักเกณฑ์พื้นฐาน 4 ประการ ดังต่อไปนี้

1. มองหารูปแบบของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ
พฤติกรรมซ้ำ ๆ หมายถึง รูปแบบการกระทำที่ใช้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกหรือสถานการณ์เกิดขึ้นเป็นประจำจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของนิสัย เช่น เป็นคนกระตือรือร้น หรือเฉื่อยชา , เป็นคนชอบท่องเที่ยวหรือชอบอยู่เฉย ๆ เป็นต้น ดังนั้น เราไม่ควรสรุปผู้อื่นจาก
· พฤติกรรมในครั้งแรกที่รู้จักกัน ( First Impression )
· พฤติกรรมในทาง Negative ที่นาน ๆ เกิดครั้งหนึ่ง

2. หาพฤติกรรมที่เป็นนิสัยของเขาจริง ๆ ( เกิดขึ้นตามธรรมชาติ )
ตามหลักพื้นฐาน พฤติกรรมของมนุษย์สามารถ แยกได้ 2 ประเภท คือ
1. พฤติกรรมที่สร้างขึ้น อาจจะเพื่อบทบาทหน้าที่การงานในสังคม หรือ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ตัวเอง เป็นต้น
2. พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ คือ พฤติกรรมที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกลายเป็น " นิสัย " อาจมีสาเหตุจากการเลี้ยงดู หรือถูกหล่อหลอมจากสภาพสังคม เป็นต้น
คำถาม : เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพฤติกรรมที่คน ๆ นั้นแสดงเป็นของจริงหรือสร้างขึ้น ? สังเกตจาก " ระดับความเข้มข้นของพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน " ปกติคนเราอาจมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปบ้าง แต่จะไม่ต่างจากลักษณะนิสัยเดิม ๆ มากนัก แต่ถ้าเบี่ยงเบนแบบสุดกู่ แสดงว่าเป็นพฤติกรรมซ้ำ ๆ ที่ถูกสร้างขึ้น เมื่อแยกได้แล้ว ไม่ต้องสนใจพฤติกรรมที่สร้างขึ้น ให้คอยสังเกต " จุดเปลี่ยน " เพื่อที่เราจะได้เลือกพฤติกรรมที่จะแสดงออกได้อย่างเหมาะสม

3. ต้องสรุปให้ได้ว่าบุคคลผู้นั้น " คบได้ " หรือ " ไม่น่าคบ "
· ลักษณะของคนที่น่าคบ มีนิสัยที่จัดอยู่ในประเภท " คนเมตตาผู้อื่น " คือ ใจกว้าง, ยุติธรรม, ดูจริงใจ , พร้อมที่จะให้อภัยผู้อื่น เป็นต้น
· ลักษณะของคนที่ไม่น่าคบ หรือคบได้แต่ต้องระวัง คือ พวกที่ทำอะไรหวังผลประโยชน์เพื่อตัวเองฝ่ายเดียว , มีความอาฆาตต้องการลงโทษผู้อื่น เป็นต้น
ข้อสังเกต : คน ๆ หนึ่งจะเป็นได้เพียงหนึ่งลักษณะเท่านั้น คือ เมตตา หรือ ไม่เมตตา

4. มองหาจุดแตกต่าง
ต้องแยกให้ออกว่า การกระทำหรือบุคลิกลักษณะภายนอกอะไรบ้างที่ขัดแย้งกับภาพรวมทั้งหมดของคน ๆ นั้น เพราะภายใต้ความแตกต่างนั้น ย่อมมีเหตุสำคัญบางประการ และถ้าเราค้นพบที่มาของความแตกต่างนั้นได้ จะทำให้เรารู้จักคน ๆ นั้นได้อย่างลึกซึ้งและถูกต้องตามความจริง
สรุป : การที่เราจะอ่านความคิดผู้อื่นได้ถูกต้องตามสถานการณ์ หรือ ณ เวลานั้น ๆ เราจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า อะไรคือพฤติกรรมซ้ำซากแท้จริงที่ถูกหล่อหลอมจน กลายเป็น " นิสัย " ของเขา เมื่อนั้นเราจึงจะสามารถอ่านความคิดของผู้อื่นได้จากรายละเอียดดังต่อไปนี้ การอ่านคนจากน้ำเสียง และการพูดจา

1. ระดับความดังของเสียง
1.1 คนเสียงดังผิดปกติ แต่มีรูปร่างเล็ก
· ชอบใช้อิทธิพล หรืออำนาจไปควบคุมผู้อื่น
· ขาดความอดทน หรือ
· เป็นผู้ที่มีความมั่นใจสูง
1.2 เสียงเบา และมีโทนเสียงต่ำ
· เป็นผู้ที่มีความสงบภายใน
· มั่นใจในตัวเอง

ข้อสังเกต : จุดที่เกิดการเปลี่ยนแปลง
1. จากปกติพูดเสียงเบา >>> พูดเสียงดังผิดปกติ· มีแนวโน้มว่าช่วงนั้นอาจตื่นเต้น
2. จากปกติพูดเสียงดัง >>> พูดเสียงเบาผิดปกติ · มีแนวโน้มว่าอาจมีปัญหาในชีวิต มีความทุกข์ทางกายหรือทางใจ

2. จังหวะของเสียง
1.1 พูดเร็วมาก ๆ แบ่งได้ 2 ขั้ว
· เป็นคนใจร้อน , มุ่งมั่น หรือ
· Self-esteem ต่ำ จะพูดเร็วแต่ไม่ชัดถ้อยชัดคำ หรือพูดติดอ่างเพราะตั้งใจให้คนฟังไม่ทัน
1.2 พูดช้ามาก ๆ แบ่งตามรูปร่าง
· ถ้าเป็นผู้ที่มีรูปร่างไม่เล็ก : อาจป่วย หรือ เป็นคนที่ Negative มากจนเกิดอาการอ่อนเพลีย
· ถ้าเป็นผู้ที่มีรูปร่างสูงใหญ่ : ชอบดูถูกผู้อื่น คิดว่าตัวเองเก่งกว่า และมักมีสายตาเหยียดผู้ฟัง

ข้อสังเกต : จุดที่เกิดการเปลี่ยนแปลง
· จากปกติพูดช้า >>> พูดเร็ว : กำลังโกรธ หรือกำลังโกหก
· จากปกติพูดเร็ว >>> พูดช้า : กำลังคิดหาคำพูดที่จะสื่อความให้เราเข้าใจเร็วขึ้น

3. พูดจาติด ๆ ขัด ๆ แนวโน้มลักษณะนิสัย แบ่งได้ 2 ขั้ว
· ไม่จริงใจ พยายามหาเหตุผลต่าง ๆ เพื่อพูดเข้าข้างตัวเอง
· จริงใจ สรรหาคำพูดเพื่อให้คนฟังเข้าใจ
ข้อสังเกต : ให้สังเกตจากร่างกาย
· ท่าทาง ไม่นิ่ง ขาแกว่งไปมา ไม่สงบ ตัวสั่น >>> ไม่จริงใจ
· ท่าทางสงบ สายตานิ่งสงบ >>> จริงใจ

4. น้ำเสียงที่มีการดัด หรือไม่เป็นธรรมชาติแนวโน้มลักษณะนิสัย ต้องการแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าตัวเองเป็นคนสำคัญ มีปัญญา ความสามารถสูงกว่าคนอื่น ๆ ซึ่งความจริงไม่ใช่

5. น้ำเสียงออดอ้อน แนวโน้มลักษณะนิสัย มี 2 ขั้ว
· เป็นผู้ที่น่าคบ ชอบเป็นผู้ตาม
· คนที่ชอบใช้เล่ห์เหลี่ยมเพื่อให้ผู้อื่นทำตาม แต่ไม่อยากให้ผู้อื่นรู้ว่าถูกหลอกใช้ อ่านคนจากลักษณะการพูดจา
1. วิธีการตอบคำถาม
· นิ่ง : ผู้ที่ถูกกล่าวหาแล้วนิ่งให้สงสัยไว้ก่อนว่า มีส่วนในความผิดนั้นจริง
· พูดยืดยาว : แสดงว่าจริง ๆ แล้วเขาไม่รู้เรื่องนั้น
2. พูดจาหยาบคาย หรือชอบสาบานตลอดเวลา
· เป็นคนที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ หรือตื่นเต้นตกใจง่าย
· จิตใจโหดร้าย, ชอบข่มขู่ผู้อื่น
3. เปลี่ยนเรื่องพูด อาจมาจากสาเหตุ ดังนี้
· เบื่อเรื่องที่กำลังสนทนาอยู่
· ปกปิดความจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้นจึงไม่อยากพูด
ข้อสังเกต : ความเกี่ยวโยงของเรื่องที่เปลี่ยน ถ้าไม่มีความเชื่อมโยงของเรื่องที่เปลี่ยนแสดงว่ากำลังปกปิดความจริง
4. คนที่เปิดเผยตัวมาก
· เขาสนในเราจึงยอมเปิดข้อมูลเยอะ หรือ
· อาจต้องการสร้างภาพ
5. คนที่ชอบพูดคำว่า " ลุย
· เป็นคนค่อนข้างก้าวร้าว

ไม่มีความคิดเห็น: