5 พ.ค. 2553

พจนานุกรม....รวมภาษาโคตรวิบัติ

ประวัติศาสตร์


ผู้ที่เริ่มใช้ภาษาวิบัติเป็นคนแรกนั้น ไม่มีหลักถานปรากดแน่ชัด(เจงๆน๊ะ) แต่อาจกล่าวได้ว่าเริ่มขึ้นมาในช่วงก่อนที่ทุจศิล กินชะมัดจะ ขึ้นมาเป็นนาย-งกรัดถะมนตี ด้วยการให้บริการค่าส่งแมสเซจที่แสนแพง ประชาชนในยุคนั้นจึงไม่มีทางเลือก ทำให้ต้องหาวิธีพิมพ์แมสเซจที่น้อยกว่าเพื่อค่าส่ง ที่ถูกกว่า ทำให้ภาษาวิบัติเริ่มฟักตัวขึ้นในยุคนั้น

และต่อมา ผู้ที่ทำให้ภาษาวิบัติแพร่หลายมากขึ้นอีกครั้ง คือเด็กโง่คนหนึ่ง ในโคดสะนาของบริษัททุย เนื่องจากในโคดสะนาดังกล่าว เด็กคนนั้นสะกดคำว่า "ปาฏิหาริย์" ไม่เป็น จึงต้องเขียนว่า "ปาติหาน" และแล้วอีกไม่นานต่อมา คำว่า "ปาติหาน" นี้ก็เป็นที่ยอมรับกันในเหล่าขาแชททั่วไป

การใช้ภาษาวิบัตินั้น ส่วนใหญ่จะใช้ในการแชทกัน (เช่น ออนเอ็ม ของ ฮอทแมว เป็นต้น) เนื่องจากต้องการพิมพ์ให้เร็วๆ นั่นเอง แต่ในบางครั้งอาจใช้เพื่อความคิกขุ หรือเพื่อการสื่ออารมณ์ก็ได้

จริงๆ แล้ว ภาษาวิบัติ เป็นภาษายอดนิยมของนักกวีสมัยก่อนเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าไม่วิบัติ มันก็จะไม่คล้องนี่หว่า เลยวิบัติมันซะเลย ซึ่งสมัยนี้บางครั้งก็วิบัติกันจนเกินไป

แต่หากจะเขียนภาษาเพื่อสื่ออารมณ์ หรือภาษาที่ไม่เป็นทางการ ก็สามารถทำการวิบัติได้ ยิ่งวิบัติก็ยิ่งสื่อถึงอารมณ์ได้ดี! เช่นคำว่า "นู๋" วิบัติได้เท่ห์มาก แต่ไม่มีในพจนานุกรม

ผู้ทำภาษาวิบัติ

บริษัททุย

ทุจศิล กินชะมัด

ผู้ใช้เว็บบอร์ดบางคน

ผู้ใช้แชทบางคน

รายการ แบไต๋ โลว์เทค ทางช่องเนช่างแชนแนล ในช่วงของรายการที่เป็นการตอบปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์มีชื่อเป็นภาษาวิบัติ ว่า ช่วง คอมนู๋ไม่รู้เป็นไร (วิบัติมาจาก คอมหนูไม่รู้เป็นอะไร)

กลุ่มแฟนคลับเอ๊ดจวยและดงบางชินเกรียน ^^

รูปแบบของภาษาวิบัติ

ภาษาวิบัติแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่มที่ใช้เวลาพูด กับกลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน

กลุ่มที่ใช้เวลาพูด

เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้ในเวลาพูดกัน ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วย แต่น้อยกว่าประเภทกลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน โดยมักพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย ประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง เช่น

ตะเอง (ตัวเอง)

เตง (ตัวเอง)

ขอบคุง (ขอบคุณ)

แม่ม (แม่...)

แสด (สัตว์)

พ่อง (พ่อเมิง)

สลัด(สัตว์)

สรัด,สรัส(สัตว์ :ออกเสียง ร เรือ ด้วย)

กลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน

รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ โดยทั้งหมดจะเป็นคำพ้องเสียงที่หลายๆคำมักจะผิดหลักของภาษาอยู่เสมอ โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น โดยยังแบ่งได้เป็นอีกสามประเภทย่อย

กลุ่มพ้องเสียง

รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ จะเป็นคำพ้องเสียง โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น และคำที่นำมาใช้แทนกันนี้มักจะเป็นคำที่ไม่มีในพจนานุกรม

เทอ(เธอ)

จัย(ใจ)

งัย(ไง)

นู๋(หนู)

มู๋(หมู)

ปันยา(ปัญญา)

กำ(กรรม)

กลุ่มขี้เกียจพิมพ์

พวกนี้จะคล้ายๆกับกลุ่มคำพ้องเสียง เพียงแต่ว่าบางครั้งการกด Shift มันน่ารำคาญ พวกนี้เลยขี้เกียจกด แล้วเปลี่ยนคำที่ต้องการเป็นอีกคำที่ออกเสียงคล้ายๆกันแทน

กุ(กู)

เหน(เห็น)

เปน(เป็น)

ซึ่งสองตัวอย่างหลังนี่ ถ้าเคยเปิดอ่านหนังสือเก่าๆ ดู จะพบว่าไปซ้ำกับอักขรวิธีในสมัยก่อน (ประมาณปี พ.ศ. 2480)

กลุ่มโชว์Inw

Inw!

Inw(เทพ)

uou(นอน)

เกรีeu(เกรียน)

IInJIISJIISJ (แทงแรงแรง)

แบบลูกผู้ดี

จะมี ร์ กำกับไว้ข้างท้ายเสมอ เช่น

เทอร์ = เธอ

แกร์ = แก

วิคิพีเดียร์ = วิกิพีเดีย

...ร์, เชี่ยร์ = ...(คำว่า เชี่ย มีรากศัพท์มาจาก ...)

คับร์ = คับ(ครับ)

โปรแกรมร์ = โปรแกรม

****************************

อะไรที่ไม่ใช่ภาษาวิบัติ

เนื่องจากในปัจจุบัน มีคำอื่นๆที่ใช้กันในสังคมปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้บรรจุอยู่ในพจนานุกรม จึงทำให้มีข้อถกเถียงกันอยู่เสมอว่าคำนั้นๆ เป็นภาษาวิบัติ (ภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง) หรือภาษาวิวัฒนาการ (ภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่แย่ลง) กันแน่ เช่น

ภาษาพูด

คือคำที่มีอยู่จริงแต่เมื่อใช้พูดกันแล้ว มีเสียงที่ออกมาเปลี่ยนไป บางครั้งก็ใช้ในการเขียนด้วย เพื่อให้เข้าถึงอารมณ์ในวรรณกรรมนั้นๆมากกว่า

ชั้น(ฉัน)

เค้า(เขา)

แบบคำย่อ

หมาลัย(มหาวิทยาลัย)

วิดวะ(วิศวะ)

จาน (อาจารย์)

สินสาด (ศิลปศาสตร์)

สินกำ (ศิลปกรรมศาสตร์)

เสารีย์ (อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)

โรงบาน (โรงพยาบาล)

ซอย (สีลมซอย 2)

อาร์ (อาร์ซีเอ)

ตรอก (ตรอกข้าวสาร)

โปร,โปรโกง (โปรแกรมโกงเกมส์)

คำอุทาน

เว้ย

เฮ้ย

เจ๊ดเข้

อุ๊ยแม่เมิงตก

เสม็ตดุ๋ย

ชะมดเช็ดสะเด็ดยาด

ตะแบ๊บ ตะแบ๊บ เป๊าะแป๊ะ เป๊าะแป๊ะ แอ๊ว แอ๊ว

แบบคำเติมท้าย

ในที่นี้คือคำเติมท้ายที่ไม่มีความหมายในพจนานุกรมไทย แต่ก็จะใส่ มีไรมะ (เพราะเป็นคำที่ใช้แสดงอารมณ์หรือใช้แสดงความคิกขุของผู้เขียน/พิมพ์)

งิ

งุงิ

เงอะ

ง่า

งับ, ก๊าบบ

แง่ว

แบบลากเสียง

อาราย (อะไร)

คร้าบ(ครับ)

แบบพิมพ์ผิด

คนที่มีปัญญาแล้ว คงรู้ว่ามันพิมพ์ผิด ไม่ใช่ภาษาวิบัติ

เป้น(เป็น)

เห้น(เห็น)

แบบจำมาผิด

ลำใย (ลำไย)

อันนี้ขอร้องทางภาครัฐช่วยแก้ไขหน่อย เจออยู่ในรถเมล์ทุกคันเลย

ศรีษะ(ศีรษะ)

แบบพิมพ์ไม่ถูก

ปาติหาน

อัศจรร

สมมุต

แบบคำแสลง ภาษาวัยรุ่น

แอ๊บแบ๊ว

เสี่ยว

สตอ

โบว

จิ้น

เห็ดสด

กาก

แบบคำทับศัพท์

เกรท

กู๊ด

คาวาอี้

อิคึ

คิโมชิ~

คิกขุ

สุโกอี๊~

แบบอิโมติค่อน

^__^

@__@

:)

:(

-*-

แบบจำเป็นต้องเปลี่ยนเพราะไม่อย่างนั้นจะถูกเซ็นเซอร์

... / กวย / กรวย / จวย / ... / Kuay / 8;p / ... / ฆวญ / KVY / kvy / Buffalo No R (...)

หิม / หมิม / หมี

กรู / กุ / ตู / GOO / GU (กู)

มรึง / มืง / มึNG (...)

แม่ม / แม่NG (แม่ง)

เฮี่ย / เหรี้ย (...)

สาด / แสด / เวน

เย็ต / เย็ศ / ... / เย็ก / เยด / yed / YED (...)

จังไร / จังไล / จันไล / จันไร / จางไร / จานราย / จางราย / จัญไล / จันทร์ไร (จัญไร)

ฟาย / ฟราย / ฟลาย / Kwai (ควาย)

****************************************

แบบภาษาโบราณ

อัน นี้ เอามาแบบเป็นข้อความเลย (สำหรับพวกที่ว่าคนอื่นใช้ภาษาวิบัติ โดยไม่ได้ดูตัวเองเลย....มันวิบัติมาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นย่า แล้ว)

“หากเป็นเยี่ยง นี้ เหตุใดมิกลับไปใช้ภาษาเมื่อกาลสมัยอโยธยาเสียเลยเล่า ภาษาที่พวกท่านจักใช้ในเพลานี้ มันเกิดวิบัติมามากมายเสียเหลือเกิน มันวิบัติมานับแต่เมื่อคราท่านที่เดือดเนื้อร้อนใจในเหตุนี้จะเกิดเสียอีก

ข้าพเจ้า อยากย้อนถามท่านอีกครา ว่าตั้งแต่ท่านเกิดออกมาจากครรภ์แล้วไซร์ ได้ใช้ภาษาแลสำเนียงเดียวกับที่ข้าพเจ้ากำลังพรรณานี้แล้วหรือไม่เล่า ณ. ครานี้ท่านได้ใช้ภาษาสำเนียงเดียวกับข้าพเจ้าหรือไม่เล่า หากมิใช่ ท่านนั่นแล ที่เป็นเหตุทำให้ภาษาวิบัติมาจนถึงบัตินี้

กาลสมัยเปลี่ยน ภาษาเปลี่ยน หาใช่เหตุพิลึกพิลั่นอันใดไม่''” ลองอ่านดูดีๆ มันน่าจะภาษาเมื่อสมัยอยุธยานะนี่

ไม่มีความคิดเห็น: