15 พ.ค. 2553

ภาษาเหนือ...ที่แตกต่าง

ใครว่าคนเหนือพูดช้า บ่ใช่ละ คนเมียงอู้โวยจะตาย (คนเหนือพูดไวหรอก)


ที่เห็นว่า คนเหนือจะพูด เจ้า ช้าๆ เป็น จ้าวว นั้น เป็นเผื่อการ ทำให้สำเนียงดูเพราะขึ้น ต่างหากละ ลองจับคนเหนือมาคุยกันสิ ยิ่งตอนเถียงกัน คุณจะยิ่ง งง และบอกว่า มันคุยอะไรกันฟร่ะ

ภาษาเหนือบ่ใช่มีสำเนียงเดียว

จังหวัดที่ใช้ภาษาเหนือจริงๆ มีอยู่แค่ไม่กี่จังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ เป็นต้น และในแต่ละจังหวัด สำเนียงก็แตกต่างกันออกไป(บ่ใช่คนเมียง แยกบ่ใช่ออกหรอก) อาจมีบางจังหวัดที่เหมือนกัน ข้อแตกต่างนี้ ยกตัวอย่างได้จาก จังหวัด เชียงใหม่ กับ ลำปาง(บ้านผมเอง) คนเจียงใหม่ จะพูด สำเนียงอ่อนๆ หวานๆ ช้านิดหน่อย แต่ลำปาง จะพูด รวดเร็ว สำเนียงหนักแน่น จนมี ประโยคหนึ่งออกมา “เจียงใหม่บาง ลำปางหนา” **เสริมหน่อย ถ้าคุณเจอคนเหนือ ที่ชอบพูดลงท้ายด้วยหนา น่านแหละ คนลำปาง

คำไทย คำเมือง บางคำ เปลี่ยนแค่ ตัวอักษร

ถ้าคุณ ต้องการแปล ภาษาเหนือ เป็นภาษาไทย คำบางคำ นั้นแปลง่ายมาก แถมยังใช้เป็นหลักในการแปล ไปแปลคำอื่นได้อีกด้วย หลักการจากที่สังเกตมาครับ

จ ในภาษาเหนือ จะเทียบได้กับ ช หรือ ฉ ในภาษาไทย(แต่ไม่ทุกคำ) เช่น

จาด = ชาติ, จ่วย=ช่วย, แจะ=แฉะ, ใจ่=ใช่ เป็นต้น

ฮ ในภาษาเหนือ จะเทียบได้กับ ร ในภาษาไทย(ไม่ทุกคำ) เช่น

ฮัก=รัก, ฮู้=รู้, ฮ้อง=ร้อง, ฮับ=รับ แฮง=แรง, เฮา=เรา เป็นต้น

ต ในภาษาเหนือ จะเทียบได้กับ ท ในภาษาไทย(ไม่ทุกคำ) เช่น

ตี่=ที่, ต่า=ท่า, แต้=แท้ ตุก=ทุกข์ เตียน=เทียน เป็นต้น

คำเฉพาะ ของ เพศ ของภาษาเหนือ

ในภาษาเหนือ ผู้หญิง ผู้ชาย จะมีคำลงท้าย ที่บอกลักษณะเพศ อยู่ สองคำ

คือ “บะ” ผู้ชายใช้ “อิ” ผู้หญิงใช้ เช่น

ชาย “วันนี้คิงจะไปแอ่วไหนบะ”(วันนี้...จะไปเที่ยวไหน) หรือ “คิงไปไกลๆteenฮาเลยหนาบะ”(...ไปไกลๆteenกูเลยนะ)

หญิง “แห่นแต๊อิ”(ร่านจริงๆนะ) หรือ “ฮาก็ว่าจะอั้นเนอะอิ” (กรูก็ว่าอย่างนั้นแหละ)…ยกตัวอย่างแรงไปไหมตู

คำสรรพนาม ของภาษาเหนือ

ภาษาเหนือ ก็มีความสรรพนาม ที่เป็นทั้งคำแบบหยาบคาย แหละสุภาพ เหมือนกับ ภาษาไทย

สรรพนามแบบสุภาพ เปิ้น=ฉัน, ตัว=เธอ, เฮา=เรา, เปิ้น=เขา(บุคคลที่สาม คำเหมือนกับ เปิ้นที่แปลว่า เรา จะแยกแยะ ของคำนี้ ออก ต้องดูจากเหตุการณ์)

สรรพนามแบบหยาบคาย (ซึ่งคนไทยดูว่ามันไม่หยาบเลย) ฮา=กู, คิง=...

เพิ่มเติม สรรพนามแบบบ้านๆ

สู หรือ หมู่สู=พวกเธอ อะไรประมาณนี้

สุดท้ายละ เป็นคำที่ ประกอบประโยค (ขำๆนะ)

ประโยค คำถาม เช่นคำว่า ไหม=บ๋อ เช่น

“เฮามาเป็นแฟนกันบ๋อ” (เรามาเป็นแฟนกันไหม)

คำว่า ก๊ะ,อิ๊,แหล๊=หรอ เช่น

“บ่าวอกนั้นอู้จะอั้นแต๊ก๊ะ” (ไอ้ลิงนั้นมันพูดอย่างนั้นจริงๆหรอ)

A: “ตะวาฮาไปกินเค้กร้านนั้นมาเอ๊ะ จ้าดลำเลยบะเฮ้ย”

B: “อิ๊”

แปล

A:”เมื่อวานกรูไปกินเค้กร้านนั้นมา อร่อยโครตๆเลยว่ะ”

B: “หรอ” (ออกแนวไม่เชื่อ หรือประชด อ่ะนะ)

A: “หมู่สูๆ เจื่อก่อ แถวบ้านฮาหนา มีโต๊กโตหลวง แปงฮางอยู่บนเก๊าลำไยเอ๊ วันนั้นฮาไปป๊ะใส่ มันกำลังกินงูเขียวเอ๊ะสู”

B: “แหล๊.......”

แปล

A: “พวกเธอๆ เชื่อไหม แถวบ้านกูอ่ะ มีตุ๊กแกตัวใหญ่ ทำรังอยู่บนต้นลำใยอ่ะ วันนั้นกู ไปเจอเข้า มันกำลังกินงูเขียวแหละพวกเธอ”

B: “หรออออ” (ท่านหารู้ไม่ว่า การตอบแบบนี้ เป็นเชิง บอกว่า ตอแxล ด้วยแหละ เหอะๆ)

ไม่มีความคิดเห็น: