2 พ.ค. 2553

โรคหัวบาตร

Hydrocephalus (โรคหัวบาตร) คือโรคเกี่ยวกับระบบประสาทคือมีของเหลวในสมอง (CSF) มากกว่าปกติ สัตว์ทั้งเพศผู้และเพศเมียสามารถเป็นได้


โรค หัวบาตรนี้สามารถสังเกตความผิดปกติได้ชัดในสัตว์ที่มีอายุน้อย คือต่ำกว่า 18 เดือน หรืออาจสังเกตเห็นได้ในสัตว์อายุมาก ประมาณ 16 ปีขึ้นไป

ของ เหลวในสมองนี้ตามปกติจะอยู่ภายในสมอง มันมีหน้าที่ห่อหุ้ม ป้องกันและไหลเวียนผ่านส่วนต่างๆของเนื้อสมอง แล้วมันจะถูกดูดเข้าสู่ระบบการไหลเวียนต่อไป ในสัตว์อายุน้อย ของเหลวในสมองสามารถสะสมอยู่ภายในเนื้อสมองทำให้บริเวณกระหม่อม (บริเวณกระโหลกศีรษะที่เนื้อเยื่อยังไม่ติดกันดี) ปูดโปน กระดูกของกระโหลกศีรษะนั้นอ่อนและสามารถขยายใหญ่ได้เนื่องจากปริมาตรและแรง ดันเพิ่มขึ้นจนทำให้หัวกะโหลกดูเหมือนเป็นรูปโดม บริเวณตำแหน่งตาในเบ้าตาก็จะหันเหผิดปกติ จนสามารถสังเกตเห็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสีขาวๆในลูกตาตรงบริเวณหัวตาใกล้ๆจมูก

สาเหตุ ของการเกิดโรคหัวบาตรนั้น ในสัตว์อายุน้อยๆนั้นเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด การติดเชื้อขณะอยู่ในมดลูกหรือขณะแรกเกิด แผลหรือการบาดเจ็บที่เกิดขณะแรกคลอด และเนื้องอกในระบบประสาทส่วนกลาง สาเหตุหลักของโรคนี้ที่เกิดในสัตว์อายุน้อยก็คือความผิดปกติแต่กำเนิด สัตว์พันธุ์เล็กๆมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคสูงที่สุด

เมื่อไรก็ตาม ที่สัตว์ที่อายุมากแล้วเกิดเป็นโรคหัวบาตร จะไม่มีสัญญาณภายนอกอะไรบ่งบอกได้ว่ามันเป็นโรค จนกว่ากระดูกกระโหลกศีรษะจะถูกเชื่อมติดกันแล้ว

อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคหัวบาตรนั้นผันแปรไปตามสาเหตุของโรค, อายุในขณะที่เป็นโรค, และระดับของเนื้อเยื่อสมองที่ถูกทำลาย

สังเกตอาการ

- อารมณ์แปรปรวน

- ร้องผิดปกติ

- ขี้ตื่นตกใจ

- ไม่ค่อยฉลาดเท่าไร ประมาณว่าพัฒนาการช้ามาก

- ไม่รู้สึกตัว

- เป็นลม

- การมองเห็น การได้ยินเสื่อมสภาพ

- กล้ามเนื้อหดเกร็ง เดินงุ่มง่าม

- เดินหมุนเป็นวงกลม

- หัวบวม เอียงๆ หรือเบี้ยว

- การเคลื่อนไหวของดวงตาผิดปกติ

การวินิจฉัยโรค

ต้องทำเทสเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นโรคหัวบาตรจริงและเพื่อให้แน่ใจว่ามันไม่ใช่โรคอื่นที่อาจจะมีอาการคล้ายกัน

การวินิจฉัยโรคทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

- ประเมิน ตรวจสอบเกี่ยวกับระบบประสาท

- ตรวจเช็คระบบตับและไต

- เอ็กซเรย์กะโหลกศีรษะ

- ทำ CT scan (การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์) หรือทำ MRI

- อัลตราซาวนด์สมอง ในกรณีที่บริเวณกระหม่อมเปิดออก

- เจาะไขสันหลังไปตรวจ (spinal tap)

- เช็คภาพคลื่นกระแสไฟฟ้าของสมอง (EEG)

วิธีการรักษา

เป้า หมายของการรักษาคือการลดหรือป้องกันไม่ให้เนื้อสมองถูกทำลายจากการไหลเวียน น้ำในสมอง การรักษาอาจจะทำได้ดังนี้ (ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคด้วย)

- ให้ยาเพื่อลดการเกิดขึ้นของน้ำในสมองและเพิ่มการระบายน้ำในสมองให้ถูกดูดเข้าสู่ระบบการไหลเวียนของร่างกาย

- รักษาโดยผ่าตัด ซึ่งอาจรวมไปถึงการผ่าเอาสิ่งที่ไปกีดขวางการระบายน้ำในสมองออก

- การป้องกันการบาดเจ็บจากการตกจากที่สูงหรือการที่ความดันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

- หลังจากรักษาแล้วก็ต้องพาสัตว์มาตรวจเป็นประจำตลอดอายุขัย เพื่อดูว่าสมองถูกทำลายมากกว่าเดิมหรือไม่ เพื่อทำการรักษาต่อไป

การทำนายอาการของโรค

โรค หัวบาตรถ้าเป็นในขั้นรุนแรงแล้วไม่ได้รับการรักษานั้นอาจทำให้ถึงตายได้ การรักษาที่ดีที่สุดจะไม่มีผลอะไรถ้าไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแล ระดับความรุนแรงของอาการก็มีผลต่อความสำเร็จในการรักษาเช่นกัน สัตว์ที่มีอาการที่ยากจะชี้ชัดไปได้ว่าเป็นโรคใด ก็เป็นอีกหนึ่งความลำบากในการเลือกว่าจะรักษาด้วยการใช้ยาหรือรักษาโดยการ ผ่าตัด เพราะฉะนั้น การวินิจฉัยโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ระวังอย่าให้ศรีษะได้รับการกระทบกระเทือน พยายามอย่าให้ตกจากที่สูงค่ะ

ลองมาดูข้อมูลลึกๆของโรคนี้กัน ว่าสาเหตุมันเกิดขึ้นได้ไง

- อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

- Aberrant parasitic migration มันเกี่ยวกับปรสิตอ่ะ ไม่แน่ใจตรงนี้นะ

- Panleukopenia virus น่าจะเกี่ยวกับโรคหวัด ช่องปากและลิ้นอักเสบนะ

- โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (FIP)

- สมองอักเสบเนื่องจากเชื้อรา

- เนื้องอกในสมอง

- เนื้องอกในโพรงสมอง

- เนื้องอกในระบบประสาทส่วนกลาง

- ฯลฯ

ส่วนมากจะเป็นเพราะความผิดปกติทางพันธุกรรม และสัตว์สายพันธุ์เล็กมักจะเป็นมากกว่า ส่วนสายพันธุ์ของแมวที่มักจะพบโรคนี้ก็ได้แก่

- แมวพันธุ์ไทย (Siamese Cat)

- แมวเปอร์เซีย

- แมวแม็งซ์ (Manx Cat) (พันธุ์นี้มันไม่มีหางอ่ะ เสิร์ชรูปในอากู๋ดูก็ได้นะ)

ที่มา : http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2009/02/J7561458/J7561458.html

ไม่มีความคิดเห็น: