7 มี.ค. 2551

เกร็ดความรู้ : วาซาบิ

"วาซาบิ" กล่าวกันว่าวาซาบิเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่น
ถ้าบนโต๊ะอาหารบ้านเราก็คงะมีพริกน้ำปลาเพื่อเพิ่มรสชาติขออาหาร
เช่นเดียวกันคนญี่ป่นก็จะต้องเพิ่มรสชาติด้วยวาซาบิ
คนญี่ปุ่นนิยมกินวาซาบิกับปลาดิบ ข้าวปั้นญี่ปุ่นหรือโซบะบางชนิด
การบริโภควาซาบิที่ถูกวิธีก็คือควรทาวาซาบิลงบนเนื้อปลาดิบแล้วจุ่มเนื้อปลาดิบ­ด้านที่ไม่มีวาซาบิลงในซีอิ๊วญี่ปุ่น
ทั้งนี้วาซาบิจะได้ไม่ลงไปปนเปื้อนอยู่ในถ้วยซีอิ๊ว


วาซาบิที่ดีจะต้องไม่ให้แต่รสเผ็ดเท่านั้น
แต่จะต้องมีกลิ่นที่ช่วยทำให้ปลาดิบคำนั้นมีรสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้นด้วยอย่างไร­ก็ตามคนทั่วไปนิยมผสมวาซาบิลงในซีอิ๊วซึ่งเรียกว่า
'วาซาบิโซยุ'
แล้วใช้จิ้มปลาดิบ หรือบางคนนิยมใส่ลงไปในชามโซบะซึ่งก็อร่อยไปอีกแบบ


วาซาบิทำมาจากอะไร?
วาซาบิ เป็นเครื่องปรุงที่ทำมาจากต้น
canolaโดยจะนำส่วนโคนลำต้นที่มีความหนาออกมาใช้ และหลาย ๆ
คนมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นส่วนรากของมัน เมื่อนำมาเสิร์ฟบนโต๊ะอาหาร
จะมาในรูปของเครื่องปรุงรสที่มีกลิ่นฉุน รับประทานเข้าไปทำให้แสบจมูกในระยะสั้น
ๆ ก่อนที่รสชาดจะเปลี่ยนไปเป็นความกลมกล่อม ทั้งขมทั้งหวานผสมผสานกันไป
การปลูกวาซาบินั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องลงทุนค่อนข้างสูง
พืชชนิดนี้มักจะปลูกในที่โล่ง แต่จะต้องมีการจำกัดปริมาณแสงแดด
ไม่ให้ส่งลงมาถูกต้นพืชโดยตรงในช่วงฤดูร้อน
เมื่อไม่นานมานี้เกษตรกรชาวญี่ปุ่นถูกแย่งตลาดด้วยการสั่งนำเข้าต้นพืชที่มีกรร­มวิธีการปลูกสมัยใหม่และราคาถูกกว่าจากไต้หวันและฟิลิปปินส์
แม้ว่าผลิตผลจะมีรสเผ็ดเกินกว่าที่จะนำมารับประทานเดี่ยว ๆ
แต่ก็ได้รับการสั่งนำเขาจำนวนมากจากบริษัทใหญ่ ๆ ในญี่ปุ่น
เพื่อที่จะนำมาผสมผสานกับเครื่องปรุงอื่น ๆ เช่น หัวไชเท้าและเครื่องเทศ
ที่เรียกกันว่า เนริวาซาบิ และตลาดของเครื่องปรุงเนริวาซาบิ มีมูลค่าถึง 16
ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ในขณะที่วาซาบิแบบดังเดิมมีมูลค่าในตลาด 36
ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี


สรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ
ในการรับประทานอาหารญี่ปุ่นครั้งหน้า เมื่อจะแต้มเครื่องปรุงรสสีเขียว ๆ
ลงไปในปลาดิบที่คุณชอบ ลองนึกถึงประโยชน์ต่อร่างกายที่กำลังจะได้รับเข้าไปด้วย
เพราะจากการศึกษาวิจัย พบว่า วาซาบิ เครื่องปรุงรสเผ็ดสีเขียวของชาวญี่ปุ่นนั้น
มีคุณประโยชน์ทางยาอย่างหลากหลาย อาทิเช่น


(1) ฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค พบว่าวาซาบิมีผลในการฆ่าเชื้อโรค
และสามารถต่อต้านการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
(2) กำจัดพยาธิที่อาศัยอยู่ในปลาได้ เมื่อผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารของมนุษย์


(3) ฤทธิ์ต่อต้านสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งของกระเพาะอาหาร
(4) ป้องกันเส้นเลือดอุดตัน ฤทธิ์ต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด
(5) ป้องกันฟันผุ ในอนาคตอาจนำไปประยุกต์เป็นส่วนผสมในยาสีฟัน

ไม่มีความคิดเห็น: