28 ก.ค. 2553

กินกบตัวนั้นซะ สรุป Eat that Frog!


21 วิธีอันยอดเยี่ยม เพื่อหยุดการผัดวันประกันพรุ่งและทำงานได้มากขึ้นในเวลาที่น้อยลง

เป็นเรื่องที่พูดกันมานานว่าสิ่งแรกที่คุณทำในแต่ละเช้าคือการกินกกบเป็น ๆ แล้วละก็ คุณจะสามารถผ่านพ้นวันนั้นไปได้พร้อมกับความพึงพอใจที่ได้รู้ว่าการกินกบอาจจะเป็นสิ่งเลวร้ายที่สุดจะเกิดขึ้นกับคุณตลอดทั้งวั้นนั้นก็ได้ “ กบ ” ของคุณเป็นงานที่สำคัญที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดที่คุณมีทีท่าว่าจะผัดวันประกันพรุ่งแน่ ๆ ถ้าคุณไม่รีบลงมือทำซะก่อน มันยังเป็นงานที่มีผลกระทบอย่างแรงในแง่บวกต่อชีวิตและผลงานของคุณในตอนนั้น

วิธีที่ 1 จัดโต๊ะ

ก่อนที่คุณจะตัดสินใจว่ากบตัวไหนเป็น “กบ” ของคุณ คุณต้องมีความชัดเจนต่อเป้าหมายและจุดมุ่งหมายยิ่งคุณมีความชัดเจนเท่าไร คุณก็ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน

ขั้นที่หนึ่ง : คุณต้องตัดสินใจว่าคุณต้องการอะไรและต้องการเป็นอะไรหรือเจ้านายคุณ เพื่อนร่วมงานคุณต้องการอะไรตากคุณ

ขั้นที่สอง : จดหรือเขียนไว้บนกระดาษ

ขั้นที่สาม : กำหนดขีดเส้นตายให้กับเป้าหมาย

ขั้นที่สี่ : ทำรายการทุกอย่างที่คุณคิดว่าคุณต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ขั้นที่ห้า : เรียบเรียงรายการให้เป็นแผนการ เรียบเรียงรายการตามความสำคัญและลำดับเหตุการณ์

ขั้นที่หก : ลงมือทำตามแผนโดยทันที

ขั้นที่เจ็ด : ตั้งปณิธานว่าทุก ๆ วันจะต้องทำอะไร

วิธีที่ 2วางแผนทุกวันไว้ล่วงหน้า

นำแผนการมาย่อยลงเป็นกิจกรรมย่อย ๆ โดยเริ่มที่กิจกรรมที่สำคัญก่อน

อันดับที่หนึ่ง คุณต้องทำรายการหลักขึ้นมาก่อน เขียนทุกอย่างที่คุณต้องการทำในอนาคตขึ้นมา

อันดับที่สอง คุณควรมีรายการประจำเดือน

อันดับที่สาม คุณควรมีรายการประจำสัปดาห์

อันดับที่สาม คุณต้องมีรายการประจำวันของคุณ

วิธีที่ 3 ใช้กฏ 80/20 กับทุกอย่าง

คุณควรลำดับความสำคัญของงาน โดยเริ่มต้นจากงานที่สำคัญ20% แต่ให้ผลลัพธ์80% แม้งานนั้นจะยากคุณก็ไม่ควรเลื่อนออกไป คุณควรเริ่มทำงานนั้นในตอนเช้าตรู่เพื่อเป็นการเริ่มต้นที่ดีของวันนั้น

วิธีที่ 4 พิจารณาถึงผลที่จะตามมา

งานที่สำคัญจะมีผลในระยะยาว แต่งานที่ไม่สำคัญจะมีผลในระยะยาวน้อยมากหรือไม่มีเลย ก่อนที่จะเริ่มลงมือทำอะไรก็ตาม คุณควรถามตัวเองเสมอว่า “ อะไรคือผลที่จะตามมาจากการทำหรือไม่ทำงานนี้ ”

วิธีที่ 5 ฝึกวิธี ABCDE อย่างต่อเนื่อง

วิธี ABCDE เป็นเทคนิคในการจัดลำดับความสำคัญ

งานA คืองานที่สำคัญ เปรียบเสมือนกบตัวใหญ่ที่สุดและขี้เหร่ที่สุดของคุณ

งานB คืองานที่คุณควรจะทำ ผลที่ตามมาถ้าไม่ทำงานB จะไม่รุนแรงอะไรนัก แต่คุณไม่ควรทำงาน “B” ก่อนถ้าคุณมีงาน “A” รออยู่

งานC คืออะไรบางอย่างที่น่าทำ แค่ไม่ว่าคุณจะทำหรือไม่ทำมันก็ไม่มีผลอะไรทั้งนั้น กิจกรรมประเภทนี้ไม่มีผลกระทบต่อชีวิตการงานของคุณ เช่น ดื่มกาแฟ ทานอาหารกับเพื่อน

งานD คืองานที่คุณสามารถมอบหมายให้คนอื่นทำแทนได้

งานE คืองานที่คุณสามารถตัดทิ้งไปได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณ

วิธีที่ 6 เน้นที่หัวใจของงาน

“ ทำไมบริษัทถึงจ้างฉัน ” ในงานแต่ละงานจะมีหัวใจสำคัญของงานประมาณ 5-7 อย่าง งานเหลานี้คือสิ่งที่คุณต้องทำให้ได้จึงจะถือว่าคุณทำหน้าที่ของคุณครบ เช่น หัวใจที่สำคัญของการบริหารือการวางแผน การจัดการ การประเมินผล และการรายงานผล เหล่านี้คือขอบข่ายที่ผู้จัดการต้องทำให้ได้จึงจะประสบความสำเร็จในหน้าที่ความรับผิดชอบของตน เพราะฉะนั้นการเริ่มต้นของงานควรเริ่มจากหัวใจของงานและศึกษาหาจุดแข็ง จุดอ่อนของงานที่เราทำ

วิธีที่ 7 เชื่อฟังกฏแห่งประสิทธิภาพโดยความจำเป็น

กฏแห่งประสิทธิภาพโดยความจำเป็นกล่าวไว้ว่า “ เราไม่เคยมีเวลาพอที่จะทำทุกอย่าง แต่มีเวลาพอเสมอที่จะทำในสิ่งที่สำคัญที่สุด ”

วิธีที่ 8 เตรียมพร้อมอย่างรอบคอบก่อนเริ่มลงมือ

วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการเอาชนะนิสัยขอบผัดวันประกันพรุ่งและทำงานได้เร็วขึ้นก็คือ เตรียมทุกอย่างที่คุณต้องการไว้ให้พร้อมก่อนที่จะเริ่มลงมือ

วิธีที่ 9 ทำการบ้านของคุณ

เรียนรู้ในสิ่งที่คุณต้องการเรียนรู้เพื่อที่ผลงานของคุณจะได้ออกมาดี จงปฏิเสธอย่ายอมให้ความอ่อนแอหรือการขาดความสามารถในงานเป็นตัวถ่วงคุณไว้ ทุกอย่างในธุรกิจล้วนเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้และสิ่งที่ผู้อื่นเรียนรู้ได้ คุณก็ต้องเรียนรู้ได้เช่นกัน

วิธีที่ 10 ใช้พรสวรรค์ของคุณเป็นอำนาจสู่ความสำเร็จ

คุณควรเขียนรายการพรสวรรค์และความสามารถของคุณไว้เป็นประจำ อะไรคือสิ่งที่คุณทำได้ดีเป็นพิเศษ? คุณถนัดอะไร? อะไรคืองานกล้วยๆ ของคุณแต่เป็นงานหินของผู้อื่น? อะไรคือสิ่งที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จในชีวิตส่วนตัวและในอาชีพการงานมากที่สุด? การที่คุณมีความสุขกับอะไรบางอย่างย่อมหมายความว่า คุณอาจจะมีความสามารถในการทำเรื่องนั้นได้ดีเยี่ยมแอบซ่อนในตัวคุณเอง หน้าที่ความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งในชีวิตคุณก็คือการตัดสินว่าอะไรที่คุณชอบทำจริงๆ จากนั้นก็เทใจให้กับการทำงานที่ว่านั้นอย่างเต็มที่

วิธีที่ 11 มองหาตัวหน่วงเหนี่ยวมิให้ทำงานที่สำคัญของคุณ

อะไรคือตัวถ่วงของคุณ? อะไรคือตัวกำหนดความเร็วในการบรรลุเป้าหมายของคุณ? อะไรคือตัวกำหนดว่าคุณจะเคลื่อนจากจุดนี้ไปยังจุดที่คุณต้องการได้เร็วแค่ไหน? อะไรคือตัวที่ห้ามคุณหรือหน่วงรั้งคุณ หลังจากนั้นหน้าที่คุณก็มีเพียงอย่างเดียว คือ บรรเทายับยั้งตัวหน่วงเหนี่ยงคุณแต่ให้ดีที่สุดจัดการมันซะ

วิธีที่ 12 เดินตามถังน้ำมันที่ละใบ

วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการเอาชนะนิสัยผัดวันประกันพรุ่งก็คือดึวความคิดออกจากงานใหญ่ตรงหน้าแล้วตั้งใจจจ่อกับการกระทำเดียวที่คุณทำได้ วิธีที่ดีที่สุดในการกินกบตัวใหญ่ก็คือ กินมันที่ละคำ จะทำงานใหญ่ให้สำเร็จนั้นคุณคุณต้องมั่นใวจเต็มร้อยว่าคุณจะเห็นก้าวต่อไปของคุณได้อย่างชัดเจนในไม่ช้า จงจำคำแนะนำที่วิเศษมากว่า “ กระโดด………แล้วจะเห็นตาข่าย ”

วิธีที่ 13 สร้างแรงกดดันให้กับตัวเอง

กำหนดขีดเส้นตายหรือกำหนดขีดเส้นตายให้กับทุกงานและทุกกิจกรรม สร้าง “ ระบบบีบบังคับ ” ของตัวคุณเองขึ้นมา สร้างกรงขังตัวเองและอย่าปล่อยให้ตัวเองออกมา

วิธีที่ 14 เพิ่มอำนาจส่วนตัวของคุณให้สูงสุด

วัตถุดิบขิงสมรรถภาพและความสำเร็จส่วนบุคคลมีอยู่ในพลังกาย พลังความคิด และพลังอารมณ์ของ คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่งในการมีความสุขและประสบความสำเร็จก็คือคุรต้องปกป้องและหล่อเลี้ยงระดับพลังงานของคุณอยู่ตลอดเวลา

กฎของคุณ จงหยุดงานหนึ่งวันเต็ม ๆ ทุกวันอาทิตย์ อาจจะเป็นวันเสาร์หรืออาทิตย์ก็ได้ คุณจะต้องไม่ย่อมอ่านหนังสือ ไม่ตอบจดหมาย ไม่เอางานจากที่ทำงานมาทำ และไม่ทำอะไรที่ต้องใช้สมองทั้งสิ้น แต่ควรไปดูหนัง ออกกำลังกาย ให้เวลากับครอบครัว ไปเดินเล่นหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมใดก็ตามที่จะเปิดโอกาสให้สมองคุณได้ชาร์จไฟใหม่อีกครั้ง

วิธีที่ 15 กระตุ้นตัวเองให้ลงมือทำ

การจะทำงานให้ดีที่สุดนั้นคุณต้องให้กำลังใจตัวเอง คุณต้องตั้งปณิธานแน่วแน่ว่าจะเป็นคนมองโลกในแง่ดี คุณต้องตอบสนองในแง่บวกต่อคำพูด การกระทำ และปฏิกิริยาตอบสนองของผู้คนและสถานการณ์รอบข้าง คุณต้องไม่ยอมให้อุปสรรคที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในชีวิตประจำวันมีผลกระทบต่ออารมณ์และความรู้สึกของคุณ

ไม่ว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรในตอนนั้นหรือเกิดปัญหาอะไรขึ้นกับคุณ จวตั้วใจแน่วแน่ว่าจะต้องรักษาอารมณ์ให้แจ่มใส ว่ากันว่าคุณไม่ควรเล่าปัญหาของคุณให้ผู้อื่นฟัง เพราะผู้คน 80% ที่ไม่สนใจปัญหาของคุณและอีก 20%ที่แอบดีใจกับปัญหาของคุณ

วิธีที่ 16 ฝึกนิสัยผัดวันประกันพรุ่งในทางสร้างสรรค์

ความจริงก็คือคุณไม่สามารถทำทุอย่างที่คุณต้องทำได้ คุรต้องผัดผ่อนงานบางอย่างออกไปก่อน เลื่อนเวลากินกบตัวที่เล็กกว่าหรืออัปลักษณ์น้อยกว่าออกไป จงกินกบตัวที่ใหญ่ที่สุดและอัปลักษณ์ที่สุดก่อนอย่างอื่น คุณต้องจัดลำดับความสำคัญ คุณควรทำงานที่สำคัญก่อนงานที่สำคัญน้อยกว่า

วิธีที่ 17 ทำงานที่ยากที่สุดก่อน

เริ่มต้นตอนเช้าด้วยงานที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด คือ สิ่งตรงข้ามกับที่คนส่วนใหญ่ทำ ในวันที่คุณเริ่มลงมือทำงานสำคัญโดยทันทีทันควัน คุณจะรู้สึกดีกับตัวเองและกับงานของคุณมากกว่าวันอื่นๆ

วิธีที่ 18 แล่และหั่นงานเป็นชิ้นเล็ก

สาเหตุส่วนใหญ่ในการผัดวันประกันพรุ่งในงานที่ใหญ่สำคัญ คือ งานนั้นดูใหญ่และดูยาก คุณควรที่จะแบ่งย่อยงานนั้นให้เล็กลงและค่อย ๆ ทำ ๆจนกว่านั้นจะเสร็จ

วิธีที่ 19 สร้างเวลาชิ้นโต

งานสำคัญส่วนใหญ่จะต้องใช้เวลาที่ต่อเนื่องในการทำงานนั้นให้เสร็จ คุณควรจัดเวลาเฉพาะในการทำงานก็คือการวางแผนเวลาในวันนั้นของคุณไว้ล่วงหน้า แล้วกำหนดเวลาเฉพาะกับงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ

ใช้เวลาทุกนาทีให้มีค่า ทำงานอย่างสม่ำเสมอและอย่างต่อเนื่องโดยไม่วอกแวกการวางแผนและเตรียมงานของคุณไว้ล่วงหน้า เหนืออื่นใด จงเน้นย้ำตรงผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุดซึ่งคุณเป็นคนรับผิดชอบ

วิธีที่ 20 สร้างสำนึกแห่งความเร่งรีบ

ตั้งปณิธานเสียตั้งวันนี้ว่าจะสร้างสำนึกแห่งความเร่งรีบในทุกอย่างที่คุณทำ เลือกงานใดงานหนึ่งแห่งความเร่งรีบในทุกอย่างที่คุรเคยทำ เลือกงานใดงานหนึ่งที่คุณชอบผัดวันประกันพรุ่ง แล้วตัดสินใจสร้างนิสัยลงมือทำทันทีในงานนั้น

เมื่อคุณเห็นโอกาสหรือปัญหา จงลงมือทำทันทีเมื่อคุณได้รับมอบหมายงานหรือความรับผิดชอบ จงรีบทำและรายงานกลับโดยเร็ว ทำทุกอย่างในทุกแง่มุมสำคัญของชีวิตคุณอย่างรวดเร็ว แล้วคุณจะต้องทึ่งมันทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นและทำงานได้สำเร็จมากขึ้น

วิธีที่ 21 ทำงานทุกอย่างทีละอย่าง

ความสามารถในการเลือดเฟ้นงานที่สำคัญที่สุดของคุณ ความสามารถในการเริ่มลงมือทำ แล้วจดจ่ออยู่กับมันจนกระทั่งแล้วเสร็จคือกุญแจไขสู่ประสิทธิภาพและความสามารถในการสร้างผลงาน

ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ทุกอย่างของมนุษยชาติล้วนนำหน้าด้วยการทำงานอย่างหนักและตั้งใจจดจ่อเป็นเวลานานจนกระทั่งงานนั้นแล้วเสร็จ

จากการวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายพบว่าความสำเร็จในงานทุกแขนงล้วนต้องการระเบียบวินัยจำนวนมาก การฝึกวินัยตนเองและการควบคุมตัวเอง คือ การสร้างบุคลิกและฝีมือการทำงานในระดับสูงขั้นพื้นฐาน

การเริ่มต้นทำงานที่มีความสำคัญมากที่สุดก่อนและพากเพียรอยู่กับมันจนกระทั่งเสร็จ100% มันคือการทดสอบบุคลิก กำลังใจ และปณิธานของคุณที่แท้จริง

แหล่งที่มา หนังสือ Eat That Frog ! (กินกบตัวนั้นซะ)

27 ก.ค. 2553

นวดจัดกระดูกแบบไคโรแพรกติก


การรักษาโรคทางกระดูกในปัจจุบันนอกจากการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อแล้ว ยังมีศาตร์ในแพทย์ทางเลือกอีกวิธีหนึ่งก็คือการรักษาแบบไคโรแพรกติก ที่อาจจะพอเป็นตัวช่วยสำหรับผู้ป่วยกระดูกและข้อ ให้อาการพอทุเลาลงได้บ้าง


ไคโรแพรกติกมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่าการรักษาด้วยมือซึ่งเป็นการแพทย์ของกรีกที่มีประวัติยาวนานร่วมสองพันปี อย่างไรก็ตามศาสตร์นี้ถูกค้นพบมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 โดย ดร.แดเนียล เดวิด ปาล์มเมอร์ ชาวแคนาดาซึ่งให้ความสนใจเรื่องกระดูก การทำงานของร่างกายและสามารถรักษาผู้ที่เป็นโรคหูหนวกมานานสำเร็จด้วยการใช้มือนวดและจัดกระดูกสันหลัง

สำหรับไคโรแพรกติกก็ไม่เชิงเป็นการรักษาโรคกระดูกอย่างที่หลายคนเข้าใจเสียทีเดียว หากแต่เป็นการรักษาเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายในกระดูก ระหว่างข้อกระดูก ซึ่งการรักษาเส้นประสาทเหล่านี้จำเป็นจะต้องรักษาด้วยการจัดกระดูก จึงเป็นที่มาของคำว่า นวดจัดกระดูก ในความเข้าใจของคนไทยนั่นเอง

การรักษาแบบไคโรแพรกติกจะไม่มีการใช้ยา ใช้เข็ม หรือการผ่าตัดแต่อย่างใด แต่ใช้วิธีการรักษาด้วยมือแทน ซึ่งโดยปกติไคโรแพรกติกทำการรักษาความผิดปกติของโครงสร้างและการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือการคลาดเคลื่อนจากตำแหน่งปกติของข้อกระดูกสันหลัง ด้วยการใช้มือจัดข้อกระดูกสันหลังและกระดูกเชิงกรานจากตำแหน่งที่ผิดปกติให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติเพื่อทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นปกติ รวมไปถึงการทำงานของระบบประสาท โดยมุ่งเน้นความสำคัญไปที่ 4 ส่วนใหญ่ๆของร่างกายได้แก่กระดูกสันหลัง ระบบประสาท โครงสร้างของร่างกาย โภชนาการด้านอาหารและวิตามิน

โรคที่ผู้ป่วยมักเข้ารับรักษาอาการแบบไคโรแพรกติกส่วนใหญ่จะเป็นอาการเกี่ยวกับการปวดหลัง ปวดศรีษะ ไมเกรน ปวดแขน ชาตามแขนขา หมอนรองกระดูกเคลื่อน ตลอดจนอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุต่างๆ อีกทั้งในผู้ป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ยังพบว่าศาสาตร์แห่งการนวดจัดกระดูกก็สามารถรักษาได้ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตามหมอนวดกระดูกหรือไคโรแพรกเตอร์ในเมืองไทยยังมีอยู่น้อยมาก อาศัยการบอกเล่าแบบปากต่อปากเสียมากกว่า และไม่ถือเป็นสาขาหนึ่งของการแพทย์แผนปัจจุบันด้วย ดังนั้นจึงไม่มีใบประกอบโรคศิลป์ในการรักษาคนไข้ หากผู้ป่วยต้องการรักษาด้วยการนวดจัดกระดูกนี้จริงๆก็คงได้ใช้ดุลพินิจใคร่ครวญอย่างละเอียดและต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแพทย์ทางเลือกแขนงนี้เสียก่อน เพราะถึงแม้ในต่างประเทศเช่นในสหรัฐอเมริกาจะให้การยอมรับแต่ก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะได้ผลกับผู้ป่วยทุกราย


ที่มา : รัชนก อมรรักษากุล

7 ปัญหา หัวใจ


หัวใจ อวัยวะสำคัญที่ทำงานตลอดช่วงชีวิตของเรา มีหลายคำถามเกี่ยวกับหัวใจที่ยังไม่รู้และคิดไม่ถึง จึงรวบรวม 7 คำถามน่ารู้เกี่ยวกับหัวใจมาฝากคุณ

1. โรคหัวใจแบ่งได้อีกหลายโรค ?

โรคหัวใจเป็นการเรียกรวมๆ ของ "กลุ่มอาการโรคหัวใจ" ซึ่งสมาคมแพทย์โรคหัวใจ ได้แยกเป็น 8 ประเภท ได้แก่
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือหัวใจไม่สมบูรณ์ตั้งแต่เกิดโดยไม่รู้สาเหตุที่แน่นอน แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากมารดาติดเชื้อไวรัส ได้รับสารเคมี หรือยาบางชนิดขณะตั้งครรภ์ เกิดได้กับทุกส่วนทั้งหลอดเลือดหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจ ห้องหัวใจ และอาจแสดงอาการตั้งแต่เด็กๆ หรือแสดงอาการเมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็ได้
โรคลิ้นหัวใจ ส่วนใหญ่เกิดจากติดเชื้อคออักเสบแล้วไม่ได้รักษาอย่างถูกวิธีทำให้ลิ้นหัวใจอักเสบจนหัวใจตีบหรือรั่วตามมา นอกจากนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อที่หัวใจโดยตรง หรือจากความเสื่อมของลิ้นหัวใจเอง
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดจากหลายสาเหตุเช่นหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน การติดเชื้อไวรัส หรือความดันโลหิตสูง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการบีบ คลายตัว ขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย
โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหัวใจขาดเลือด จากการสะสมของไขมันทำให้ผนังหลอดเลือดตีบและตัน จนเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนได้
โรคเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นโรคที่พบไม่บ่อย เกิดจากการอักเสบเพราะติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อวัณโรค
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติ ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกัน บางคนอาจไม่มีอาการอะไรเลย หรือมีอาการใจสั่น หัวใจบีบตัวแรงในบางจังหวะ เหนื่อยทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำอะไร เพลีย หมดแรง อยากนอนตลอดเวลา หน้ามืด และอาจหมดสติหากหัวใจหยุดเต้นเกิน 3 วินาที
ติดเชื้อที่หัวใจ มักเกิดกับผู้ที่ภูมิต้านทานอ่อนแอหรือติดยาเสพติด หรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV
มะเร็งที่หัวใจ มะเร็งจากอวัยวะใกล้เคียงทั้งมะเร็งปอด และมะเร็งเต้านมลุกลามมาสู่หัวใจ

2. อาหารอะไรบ้างเป็นศัตรูของหัวใจ ?

อาหารหลายชนิดหากกินมากไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

อาหารไขมันสูงหรือเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น เนื้อหมู เนื้อวัวติดมัน เครื่องในสัตว์ ไข่ปลา หอยนางรม ไข่แดง และกะทิ
ขนมหวาน โดยเฉพาะที่อุดมด้วย น้ำตาล กะทิ คอเลสเทอรอล ไข่แดง เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ตลอดจนขนมหวานอย่างข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวทุเรียน ข้าวเหนียวสังขยา ลอดช่อง ปลากริมไข่เต่า เป็นต้น
อาหารฟาสต์ฟู้ด แม้มีผักบ้างแต่ก็ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แต่มากไปด้วยแป้ง ไขมัน และรสเค็ม
อาหารรสเค็ม ไม่เหมาะกับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว เพราะทำให้เหนื่อยหอบ ตัวบวม หลีกเลี่ยงอาหารปรุงรสเค็มจัด ลดการใช้เครื่องปรุงรสลง เช่น กะปิ น้ำปลา เกลือ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว ซอส น้ำมันหอย ซุปก้อนลง และงดอาหารหมักดองอาหารกระป๋อง อาหารกึ่งสำเร็จรูป กุ้งแห้ง ปลาเค็มด้วย
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจโตจนอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ส่วนเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ โกโก้ เครื่องดื่มชูกำลัง ก็กระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักเพิ่มขึ้น

3. เบาหวานตัวการความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจตีบจริงหรือ ?

หลอดเลือดหัวใจตีบอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการสูบบุหรี่ เพศชาย พฤติกรรมการบริโภค พันธุกรรม แต่สาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ โรคเบาหวาน เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงตลอดเวลาทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมเร็วขึ้น

มีผลการวิจัยเพิ่มเติมอีกว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสหัวใจล้มเหลวสูงถึง 2 เท่า ซึ่งอาจเกี่ยวกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น คอเลสเทอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และการไหลเวียนโลหิตไม่ปกติ

4. แปรงฟันไม่สะอาดทำให้หัวใจติดเชื้อ ?

ช่องปากเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียและเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิดทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ หากทำความสะอาดฟันไม่ดีอาจทำให้เชื้อบางชนิดหลุดเข้าสู่กระแสเลือด เข้าไปเกาะติดในบริเวณหัวใจและหลอดเลือดทำให้เกิดการติดเชื้อและทำให้มีไข้เรื้อรัง อ่อนเพลีย เบื่ออาหารได้ จึงควรแปรงฟันตอนเช้า ก่อนเข้านอน และใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันเป็นประจำทุกวัน และควรระวังไม่ให้ฟันผุ ไปพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อเช็คสภาพฟันและขูดหินปูน

5. แน่นหน้าอกไม่จำเป็นต้องเกิดจากโรคหัวใจเสมอไป ?

บางครั้งอาการแน่นหน้าอก ปวดร้าวไปที่คอ หลัง ไหล่หรือแขน หายใจไม่เต็มปอด อาจเกิดจากความเครียด โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ถุงน้ำดี แผลในกระเพาะอาหาร ก็เป็นได้ ลองสังเกตว่าเวลาปวดแน่นหน้าอกมีลักษณะอย่างไร เช่น ปวดทุกครั้งเวลาทำงานหนัก เดินเร็วๆ อ่อนเพลีย เหงื่อออก คลื่นไส้ อ่อนเพลีย หากได้พัก 10 -15 นาทีจะหายไปหรือไม่ ถ้ามีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดหัวใจ ปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ค่ะ

6. ใครว่าเป็นโรคหัวใจออกกำลังกายไม่ได้ ?

เมื่อรู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคหัวใจ ช่วง 2 เดือนแรกควรให้หัวใจได้พักฟื้น ไม่ออกกำลังหักโหมเกินไป เน้นการออกกำลังที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่อง ไม่มีแรงต้าน เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ รำไทเก็ก ว่ายน้ำช้าๆ ช่วงที่รู้สึกร่างกายแข็งแรงขึ้นแล้วจึงออกกำลังมากขึ้น เร็วขึ้นได้

การออกกำลังที่พอเหมาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจนั้นให้เทียบกับการเดินขึ้นบันไดจากชั้นล่างถึงชั้น 2 หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องเบ่ง ยก หรือเกิดแรงต้านเพราะทำให้เกิดแรงอัดในเส้นเลือดย้อนกลับเข้าหัวใจ เกิดการตึงที่ผนังหัวใจ ทำให้หัวใจจ่ายเลือดยากขึ้น กระตุ้นให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือด

7. เป็นโรคหัวใจห้ามมีเซ็กซ์

แม้การใช้แรงอย่างหักโหมหรือความตื่นเต้นขณะมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้ปวดเค้นหัวใจ แต่การมีเพศสัมพันธ์ก็ช่วยคลายเครียดและเป็นวิธีออกกำลังกายที่ดีวิธีหนึ่ง ดังนั้นคนที่เดินขึ้นลงบันไดได้ 13 ขั้นได้โดยไม่มีอาการเจ็บหน้าอกก็ไม่น่ามีอันตรายขณะมีเพศสัมพันธ์ หรืออาจปรึกษาแพทย์ถึงความเหมาะสมก่อนมีเพศสัมพันธ์

แม้เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่อย่าลืมใส่ใจหัวใจคุณด้วยนะคะ

ปฏิบัติการเติมแคลเซียม100% ให้ร่างกาย


คุณทราบหรือไม่ว่า..."องค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ" หรือ "The Food and Agriculture Organization" หรือ "FAO" ได้กำหนดให้วันที่ 1 มิถุนายนของทุกปี เป็น "วันดื่มนมโลก" (World Milk Day) เพื่อเกิดการกระตุ้นให้ผู้คนเห็นความสำคัญของการดื่มนม

มองมาที่บ้านเราจะพบว่าในปี 2551 มีการผลิตนมพร้อมดื่มได้ประมาณ 876,000 ตัน เป็นนมเพื่อการพาณิชย์ 360,000 ตัน หรือร้อยละ 41 นมโรงเรียน 276,000 ตัน หรือร้อยละ 32 และนมเปรี้ยว 240,000 ตัน หรือร้อยละ 27 ซึ่งผลิตภัณฑ์นมเหล่านี้ ผลิตมาจากน้ำนมดิบภายในประเทศ และจากนมคืนรูป โดยผลผลิตที่ได้จะออกมาในรูปนมสด มีทั้งรสจืดและรสหวาน และในรูปนมปรุงแต่ง ซึ่งมีการเติมกลิ่นและรสต่างๆ ตามความนิยมของผู้บริโภค เช่น รสช็อกโกแลต รสกาแฟ และรสสตรอเบอร์รี่ เป็นต้น

ที่น่าทึ่งคือจากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่าประเทศไทย คือฐานการผลิตน้ำนมดิบมากที่สุดใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ที่สวนทางกันอย่างแรงคือคนไทยเองกลับดื่มนมเพียงน้อยนิด ตกประมาณ 14.19 ลิตรต่อคนต่อปีเท่านั้น ขณะที่อัตราบริโภคนมโดยเฉลี่ยของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ที่ 60 ลิตรต่อคนต่อปี และทั่วโลกอยู่ที่ 103.9 ลิตร ต่อคนต่อปี!!!

จากตัวเลขอันน่าตกใจข้างต้นสะท้อนอย่างชัดเจนว่าคนไทยยังให้ความสำคัญกับการดื่มนมที่น้อยมาก ทั้งๆ ที่นมเป็นแหล่งรวมของโภชนาการ และสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างมากมาย...

ในประโยชน์ของการดื่มนมที่เป็นแหล่งรวมของสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไม่ว่าะเป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ที่สำคัญเช่น ฟอสฟอรัส นอกจากนี้ยังได้รับแร่ธาตุ “แคลเซียม” ที่ถือเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกระดูก ซึ่งจากข้อมูลของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (International Osteoporosis Foundation หรือ IOF) ระบุ ว่า นมและผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ จัดอยู่ในกลุ่มอาหารที่มีแร่ธาตุ “แคลเซียม” สูงที่สุด ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากความสำคัญอย่างมากในการเสริมสร้างกระดูก โดยเป็นแคลเซียมที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดีที่สุด และการดื่มนมตั้งแต่อายุยังน้อยยังจะช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกแตกหักง่ายเมื่ออายุมากขึ้น เพราะเมื่อล่วงเลยถึงวัย 35 ปีขึ้นไป ร่างกายจะค่อยๆ เริ่มสูญเสียกระดูกมากกว่าการสร้าง ดังนั้นวิธีการง่ายๆ และดีที่สุดที่จะช่วยรักษากระดูกคือการดื่มนมเป็นประจำ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันความดันโรหิตสูงอีกด้วย

ในเรื่องนี้ “ศ.กิตติคุณ นพ.เสก อักษรานุเคราะห์” อดีตประธานมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย อธิบายว่า

“นมสดคือนมที่ดีที่สุด มีสารอาหารและโปรตีนจำนวนมาก ซึ่งโปรตีนเคซิน เป็นโปรตีนเด่นที่สุด จับแคลเซียมเก่ง ช่วยสร้างความสูงให้ร่างกาย จึงควรดื่มวันละ 500 ซีซี หรือ 2 กล่อง หากเกินจากอาจก่อให้เกิดผลเสีย เนื่องจากไปกระตุ้นต่อมพาราไทรอยด์ (ต่อมข้างไทรอยด์) ซึ่งไปสลายกระดูก สำหรับเด็กสามารถดื่มนมได้วันละ 500 - 800 ซีซี โดยเฉพาะเด็กที่ใช้พลังงานสูง ออกกำลังกายและมีเหงื่อออกมาก เพราะฟอสฟอรัสที่เกินจะถูกใช้เป็นพลังงาน ไม่สามารถกระตุ้นต่อมพาราไทรอยด์ได้ ส่วนเด็กที่อยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำกิจกรรมอะไร ควรดื่มนมเท่าผู้ใหญ่” ศ.กิตติคุณ นพ.เสก แนะนำ

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นจากการศึกษาธาตุอาหารในนม 1 กล่อง พบว่ามีทั้งแคลเซียม สร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน "วิตามินบี 12” ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง "คาร์โบไฮเดรต" ให้พลังงานกับร่างกาย "แมกนีเซียม" สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ "ฟอสฟอรัส" สร้างพลังงานให้กับเซลล์ในร่างกาย และทำให้กระดูกแข็งแรง

และสำหรับผู้ที่กำลังมองหาแหล่งแคลเซียมง่ายๆ ที่ซื้อหาได้สะดวก สามารถรับประทานได้ทุกวันแถมรสชาติดี นมโฟร์โมสต์ แคลซีแมกซ์ แคลเซียมสูง น่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดี เพราะ จากรายงานสำรวจสภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 พศ. 2546 พบว่าคนไทยได้รับแคลเซียมจากอาหารเพียงแค่ 30 % ของความต้องการต่อวัน โฟร์โมสต์ แคลซีเม็กซ์ จึงคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แคลเซียมสูงขึ้น 70%ของความต้องการในต่อวัน ดังนั้นการดื่มโฟร์โมสต์ แคลซีเม็กซ์ ร่วมกับการทานอาหารตามปกติทุกวันจะทำให้คุณได้รับ แคลเซียมเต็ม 100% ที่ร่างกายต้องการ

...วันนี้ คุณให้รางวัลตัวเอง ด้วยการเติมแคลเซียม 100% ให้แก่ร่างกายของคุณหรือยัง...

hepatitis B virus


ไวรัสตับอักเสบชนิดบี (hepatitis B virus) ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ และการอักเสบจะทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ ในประเทศไทย พบผู้ป่วยที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ 8-10 ล้านคน โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี จึงนับว่ามีความสำคัญมาก แต่ในปัจจุบันหลังจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีในเด็กแรก เกิดทุกคน ทำให้อุบัติการณ์ในคนไทยลดลง ประมาณร้อยละ 3-5

เมื่อเป็นโรคตับอักเสบบีระยะ เฉียบพลันแล้วมีโอกาสจะหายขาดประมาณร้อยละ 90 ซึ่งจะกลับเป็นปกติทุกอย่าง ส่วนอีกร้อยละ10 จะไม่หายขาด โดยบางคนอาจจะเป็นพาหะของโรคโดยไม่มีอาการ หรือบางคนอาจจะเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้บางคนอาจจะเป็นโรคตับแข็งตามมา ถ้ายังมีการอักเสบของตับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมักต้องเป็นนานประมาณ 10-20 ปี บางคนอาจจะเป็นโรคมะเร็งตับได้โดยเฉพาะถ้ามีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรค มะเร็งตับ โอกาสที่จะเป็นโรคตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับ ในแต่ละคนไม่เท่ากัน

ความร้ายแรงของโรคไวรัส ตับอักเสบบี

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรค และมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น แต่ร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยจะมีเชื้อไวรัสในเลือด และตับ โดยอาจมีอาการของตับอักเสบเรื้อรัง หรืออาจไม่มีอาการ บุคคลทั้งสองกลุ่มนี้สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นต่อไปได้ เราเรียกบุคคลทั้งสองกลุ่มนี้ว่าเป็น “พาหะ” หรือตับอักเสบเรื้อรัง ในประเทศไทย พบผู้ป่วยที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ 8-10 ล้านคน ประมาณร้อยละ 10 ของผู้เป็นพาหะจะกลับเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังได้อีก และบางรายอาจตายด้วยโรคตับแข็ง ตับวาย ท้องมาน และอาจเสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้ ผู้เป็นพาหะมีโอกาสเกิดโรคเป็นมะเร็งตับสูงกว่าคนปกติถึง 100 เท่า โดยเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับถึงร้อยละ 80 ของผู้ป่วยทั้งหมด โอกาสการเกิดโรคมะเร็งจะมีมากหากผู้ป่วยติดเชื้อชนิดนี้ตั้งแต่วัยเด็ก เช่น ติดมาจากมารดาขณะแรกเกิด เป็นต้น

สาเหตุ

1. เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความคงทนสูง และทำลายได้ยาก การทำลายเชื้อต้องใช้วิธีต้มเดือดนานอย่างน้อย 30 นาที หรือนึ่งภายใต้ความดันสูงนาน 30 นาที หรืออบในตู้อบแห้งที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือโดยการแช่ในสารเคมี เช่น แช่ในโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 0.5% อย่างน้อย 30 นาที แช่ในฟอร์มาลิน 40% อย่างน้อย 12 ชั่วโมง หรือแช่ในแอลกอฮอล์ 70% อย่างน้อย 18 ชั่วโมง

ไวรัส สามารถถ่ายทอดจากมารดาสู่บุตร ซึ่งเป็นสาเหตุการติดเชื้อที่สำคัญประการหนึ่งในประเทศไทย แต่ในปัจจุบันการถ่ายทอดจากมารดาที่ติดเชื้อสู่บุตรลดลงมาก เพราะบุตรที่คลอดออกมาจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ การฉีดวัคซีนให้ทารกที่คลอดมาจะช่วยป้องกันได้เกือบร้อยละ 100

2. การติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ยังถือ เป็นวิธีการติดต่อที่สำคัญในปัจจุบัน ทั้งนี้เกิดจากการมีเพศสัมพันธุ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ได้ป้องกัน ซึ่งไวรัสตับอักเสบชนิดบี จะสามารถติดต่อได้ง่ายกว่าเชื้อไวรัสเอดส์

3. การได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์ของ เลือดที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ การสัมผัสน้ำคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น เลือด น้ำเหลือง การติดเชื้อจากการไดรับเลือดพบได้น้อยมากในปัจจุบัน เนื่องจากระบบการตรวจกรองของธนาคารเลือดดีขึ้นมาก

4. อาจติดต่อได้จากการสัก เจาะหู หรือการฝังเข็ม โดยอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อไม่ถูกต้อง

อาการ

หลังจากที่ได้รับเชื้อไวรัสตับ อักเสบชนิดบี เชื้อจะเข้าไปฟักตัวในร่างกายประมาณ 2-3 เดือน บางรายอาจจะไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด ส่วนในรายที่มีอาการอาจจะอ่อนเพลียเล็กน้อย แต่บางรายจะมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับ มีไข้ ตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลือง อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ จากนั้นร่างกายจะค่อยๆ กำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีออกไปพร้อมๆ กับการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีซ้ำอีก

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 จะหายขาดได้ ส่วนอีกร้อยละ 10 จะเป็นชนิดเรื้อรัง ซึ่งสามารถเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับได้ เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ โดยเฉพาะหากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีตั้งแต่เด็กๆ ส่วนการเกิดตับแข็งเนื่องจากมีการตายของเซลล์ตับ เกิดมีพังผืดเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นตับแข็งในที่สุด

โรคไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้อย่างไร

โรคนี้สามารถติดต่อกันได้โดยการ สัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่งของผู้ป่วยตับอักเสบหรือผู้เป็นพาหะซึ่งเกิดขึ้นได้ในลักษณะ ต่างๆ เช่น

1. การรับถ่ายเลือด หรือผลิตภัณฑ์จากเลือดที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่

2. การใช้เข็มฉีดยาที่มีเชื้อปน เปื้อน การเจาะหู การสัก การทำฟันที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสอยู่โดยไม่ได้ผ่านการฆ่า เชื้ออย่างถูกต้อง

3. การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกันกับ ผู้ที่มีเชื้อ เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็ก เพราะอาจปนเปื้อนเลือดของผู้ที่มีเชื้ออยู่

4. การร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้อ ไวรัสอยู่

5. การสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ที่มีเชื้อไวรัสอยู่โดยผ่านเข้าทางบาดแผลโดยไม่รู้ตัว เช่นการกัดกันเล่นๆ ของเด็ก

6. การถ่ายทอดเชื้อมาจากมารดาที่ เป็นพาหะ หรือเป็นโรคอยู่ไปยังลูกระหว่างอยู่ในครรภ์ หรือระหว่างคลอด

การรักษา

1. คนที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรังบางคนอาจจะหายเองได้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่หายเอง เหตุผลที่ต้องรักษาภาวะตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบี เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสกลายเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้สูงกว่าคน ทั่วไป โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับสูง คือผู้ป่วยชายอายุมากกว่า 40 ปี มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ และมีตับแข็งร่วมด้วย การรักษาโดยการใช้ยานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกำจัดเชื้อไวรัส ลดการอักเสบของตับ ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับ และลดการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น

2. ยาชนิดฉีดที่ได้ผลดีในปัจจุบัน คือ อินเตอร์เฟอรอน (interferon) มีใช้มานานกว่า 20 ปีแล้ว อาศัยหลักการที่สารอินเตอร์เฟอรอนสร้างจากเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ ซึ่งสามารถกำจัดไวรัสได้ แต่ในผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังมีสารนี้ไม่เพียงพอที่จะกำจัดไวรัส ให้หมดไป จึงต้องให้อินเตอร์เฟอรอนจากภายนอกเข้าไปเสริม ต้องฉีดติดต่อกันนาน 4-6 เดือน โอกาสที่จะกำจัดเชื้อได้หมด พบน้อยกว่าร้อยละ 5 แต่ช่วยลดความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้ร้อยละ 40-60 (HBeAg จากบวกเป็นลบ, anti HBe จากลบเป็นบวก) และลดการเกิดตับแข็ง และมะเร็งตับได้ แต่อินเตอร์เฟอรอน มีข้อเสียคือ ผลข้างเคียงค่อนข้างมาก เช่น อาการไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ ไทรอยด์เป็นพิษกำเริบ และอาการทางจิตประสาท เป็นต้น แต่อาการข้างเคียงเหล่านี้ ไม่ได้พบในผู้ป่วยทุกราย การฉีดอินเตอร์เฟอรอนจะไม่ได้ผลในรายที่เป็นพาหะ

3. ยาชนิดรับประทานที่ได้ผลดีคือ ลามิวูดีน (lamivudine) ออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส และอาจมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยกระตุ้นทางอ้อมให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ตอบสนอง และกำจัดเชื้อไวรัสได้ดีขึ้น ในระยะแรกจำนวนไวรัสลดลงอย่างมาก เช่นเดียวกันยานี้ใช้ได้เฉพาะในรายที่มีภาวะตับอักเสบมาก่อนเท่านั้น และต้องกินยาทุกวันเป็นเวลานานเป็นปีๆ ผู้ป่วยที่ได้รับยานาน 1 ปี จะทำให้ไวรัสหยุดแบ่งตัวร่วมกับเอนไซม์ตับกลับมาปกติได้ผลประมาณร้อยละ 20 แต่การรักษาจะได้ผลเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 40 ถ้าผู้ป่วยมีภาวะตับอักเสบปานกลาง ก่อนเริ่มการรักษา ยาลามิวูดีนสามารถก่อให้เกิดไวรัสผ่าเหล่า และดื้อต่อยาได้ โดยถ้ายิ่งกินนานก็ยิ่งมีโอกาสในการเกิดเชื้อผ่าเหล่าและดื้อยามากยิ่งขึ้น ปัจจุบันแนะนำให้ทานยาวันละ 1 เม็ด ติดต่อกันประมาณ 1-1.5 ปี ผลข้างเคียงน้อย ผลการรักษาใกล้เคียงกับอินเดอร์เฟอรอน แต่ข้อเสียคือมักจะหยุดยาไม่ได้ ถ้าหยุดแล้วมักจะมีการอักเสบของตับเกิดขึ้นใหม่

4. นอกจากนี้ยังมีการใช้ยาต้าน ไวรัสชนิดอื่นๆ อีก เช่น อะดีโฟเวีย (adefovir), แอนติคาเวีย (entecavir) ซึ่งในปัจจุบันมีข้อมูลใหม่ๆจากการศึกษาวิจัยพบว่าใช้ได้ผลมากขึ้น

การป้องกัน

1. การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี วิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพคือ การฉีดวัคซีนป้องกัน แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเลือดก่อน เมื่อตรวจพบว่ายังไม่เคยได้รับเชื้อ และไม่มีภูมิคุ้มกัน จึงควรรับการฉีดวัคซีน

2. วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี ที่ใช้ในปัจจุบันเป็นวัคซีนที่มีการใช้มานาน มีความปลอดภัยสูง และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ดี ควรฉีดให้ครบ 3 เข็มในช่วงเวลา 6 เดือน เพื่อให้ได้ผลคุ้มกันอย่างแน่นอน

3. การฉีดวัคซีนทำได้โดยปรึกษา แพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการฉีดวัคซีน แพทย์อาจแนะนำว่าให้ตรวจเลือดก่อน เมื่อตรวจพบว่ายังไม่เคยได้รับเชื้อ และไม่มีภูมิคุ้มกัน ควรรับการฉีดวัคซีนปกติจะต้องฉีด 3 เข็ม เข็มแรกทันที เข็มสองห่างไป 1 เดือน และเข็มสามหางจากเข็มแรก 6 เดือน เพื่อให้ได้ผลการป้องกันที่เพียงพอ

4. ผลข้างเคียงของวัคซีนป้องกันโรค ตับอักเสบบีค่อนข้างต่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นผลข้างเคียงบริเวณที่ฉีด เช่น บวมแดง ตึง บริเวณนั้น

5. เช่นเดียวกันกับวัคซีนป้องกัน โรคอื่นๆ ควรป้องกันที่จะติดเชื้อนั้นๆ เสียก่อน ดังนั้นจึงควรฉีดในทารก หรือในเด็กวันรุ่น และผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน หรือไม่เคยติดเชื้อมาก่อน ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ฉีดวัคซีนนี้แก่ทารกแรกเกิดทุกราย

6. คนหนุ่มสาวควรฉีดวัคซีน เนื่องด้วยวัยรุ่นเป็นคนกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคสูง อีกทั้งการหลีกเลี่ยงก็ทำได้ยาก ดังนั้นการป้องกันด้วยวัคซีน จึงเป็นการป้องกันที่คุ้มค่า และให้ผลดีที่สุด ปรึกษาแพทย์ของท่านวันนี้ เพื่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตับอักเสบบี


ที่มา : ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

เวียนหัว...ทรงตัวไม่อยู่หนึ่งสัญญาณอันตราย!


เคยไหมที่อยู่ดี ๆ ก็เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ คล้าย ๆ บ้านหมุนโดยไม่รู้สาเหตุ กระเพาะอาหารปั่นป่วน อยากจะอาเจียนออกมา พอลุกขึ้นยืนก็ทรงตัวไม่อยู่จะล้มเสียให้ได้!??

ลักษณะอาการเช่นนี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า คุณกำลังเข้าข่ายเป็น “โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน”

นพ.วัชชิระ ตีระพิพัฒน กุล เวชศาสตร์ครอบครัว ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยา บาลปิยะเวท อธิบายถึงลักษณะ ของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันให้ฟังว่า คำว่า โรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นเป็นภาษาที่เรียกกันทั่วไป แต่ทางการแพทย์จะเรียกว่า “โรคแรงดันน้ำในช่องหูชั้นในผิดปกติ”

ปกติหูชั้นในจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่มีลักษณะคล้ายก้นหอย ทำหน้าที่รับเสียง อีกส่วนหนึ่งเป็น อวัยวะรูปร่างคล้ายเกือกม้า ซึ่งมีอยู่ 3 ชิ้นด้วยกัน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว

หูชั้นในนอกจากจะแบ่ง ตามหน้าที่แล้ว ยังแบ่งตาม โครงสร้างได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกระดูก กับ ส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายใน ส่วนที่เป็นกระดูกจะห่อหุ้มส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายใน โดยในส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายในจะมีของเหลวอยู่ เมื่อเกิดโรคแรงดันน้ำในช่องหูชั้นในผิดปกติ ของเหลวที่อยู่ในส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายในจะคั่งมาก ทำให้การไหลเวียนไม่สะดวก แรงดันที่เพิ่มขึ้นในหูชั้นในจะขัดขวางการทำงานของกระแสประสาทที่เกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว ทำให้สูญเสียการได้ยินและความสมดุล เกิดอาการเวียนศีรษะขึ้น

โรค ๆ นี้ไม่ได้พบบ่อยนัก ในจำนวนของคนไข้ที่เข้ามาพบแพทย์ ด้วยอาการเวียนศีรษะ อาเจียน จะมีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่เป็นโรคนี้

ฉะนั้น ในการวินิจฉัยโรคจะต้องใช้อาการเฉพาะ เพื่อแยกโรคอื่นที่เกี่ยวกับหูออกไปเสียก่อน โดยใช้วิธีการตรวจเพิ่มเติมในส่วนของหูชั้นใน ซึ่งบางครั้งอาจไม่พบความผิดปกติ แต่อาจตรวจโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เช่น หูน้ำหนวก ซึ่ง เกิดในหูชั้นกลาง แต่ก็อาจจะกระ ทบไปถึงหูชั้นในด้วย

ต่อมา คือภาวะหูชั้นในอัก เสบเฉียบพลัน ซึ่งภาวะนี้จะประกอบไปด้วย 2 โรคด้วยกัน เรียกว่า ภาวะของการทรงตัวผิดปกติอย่างเดียว กับ โรคที่หูชั้นในผิดปกติแบบเฉียบพลัน ซึ่งจะมีทั้งที่ระบบการทรงตัวเสียและการได้ยินเสียไปด้วย และอีกโรคหนึ่งที่พบบ่อย ๆ คือ บางทีคนไข้ไปตรวจกับหมอแล้วหมอพบว่า หินปูนที่เกาะอยู่ในหูชั้นในหลุด ตรงนี้จะเป็นเรื่องของโรคเกี่ยวกับหูที่หมอจะแยกออกไปจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เมื่อแยกโรคออกแล้วคนไข้มาด้วยอาการเฉพาะจึงจะบอกได้ว่าคน ๆ นั้น เป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

ลักษณะเฉพาะที่ว่านั้น คือ เวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน ร่วมด้วย หูอื้อ หรือมีเสียงในหู อื้อ ๆ ๆ อยู่ในหูตลอดเวลา อาจจะได้ยินข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง ก็แล้วแต่พยาธิสภาพว่าจะเป็นข้างเดียวหรือเป็นทั้ง 2 ข้าง โดยหูอื้อ อาจจะเป็นชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ถ้าเป็นระยะแรก จะสูญเสียการได้ยินโดยจะเป็นแค่ชั่วคราว หลังจากหายเวียนศีรษะแล้วการได้ยินจะกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้าที่มีอาการวิงเวียนบ่อย ๆ หรือเป็นมานานอาการหูอื้อมักจะถาวร

ที่สำคัญ คือ อาการมึนงง เวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุนเหล่านี้จะเป็นอยู่ไม่นานมากนัก โดยจะมึนเวียนหัวอยู่ประมาณ 20 นาที ถึง 2 ชั่วโมงก็จะหาย แล้วไม่นานก็จะกลับมาปวดหัวหรือมีอาการ ดังกล่าวอีก โดยจะมีลักษณะเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นลักษณะเฉพาะของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

โรคนี้มีโอกาสเป็นได้ทุกเพศ และทุกวัย เพราะเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด พบมากในวัยทำงานที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่มีปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการดำเนินโรคได้ โดยพบว่าอาหารที่มีปริมาณเกลือโซเดียมสูง หรืออาหารที่มีรสเค็ม สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการได้ เช่นเดียวกับ การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ความเครียด และสภาวะแวดล้อมที่มีเสียงดังอึกทึก

การรักษา เนื่องจากโรคนี้ไม่มีความจำเพาะของพยาธิสภาพ หมอจะรู้แต่เพียงว่าความดันในหูไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการที่ตรวจพบ โดยจะให้ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดสภาวะอาการ บวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน รวมทั้งยาขยายหลอดเลือด ยาลดอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้อาเจียน ตลอดจนยากล่อมประสาท และยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและนอนหลับได้เป็นปกติ

การป้องกัน ทำได้โดย เมื่อทราบภาวะที่จะกระตุ้นให้เกิดโรคแล้ว อะไรที่เป็นภาวะเสี่ยงก็ ควรลดภาวะนั้น ๆ อาทิ หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา ชา กาแฟ การสูบบุหรี่ ลดการบริโภคอาหารที่มีรสชาติเค็ม นอกจากนี้ การปฏิบัติตัวเพื่อให้ลดภาวะและอาการของโรคเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ลดภาวะเครียด ควบคุมอารมณ์ให้เบิกบานแจ่มใส และลดงานบางอย่างที่มากจนเกินไป

รวมทั้ง หาเวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น อยู่ในที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน ตลอดจน แสงแดดจ้าหรืออากาศที่ร้อนอบอ้าว

นพ.วัชชิระ กล่าวทิ้งท้ายว่า “เมื่อมีอาการของโรค อย่าตระหนกกับอาการ เพราะไม่ได้เป็นโรคที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยมากนัก ไม่ได้ทำให้ ล้มหมอนนอนเสื่อ แต่ถ้าเป็นมากจนกระทั่งรบกวนการทำงาน ควรดูแลตนเองด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

อย่าเครียด เมื่อรู้ว่าเครียดควรหาวิธีผ่อนคลายหยุดการทำงานสักพัก เมื่อดีขึ้นจึงค่อยกลับไปทำงานต่อ รวมทั้ง ลดการบริโภคอาหารรสเค็มจัด หลีกเลี่ยงอาหารที่ ใส่เกลือมาก ๆ ลดการดื่มสุรา หากมีอาการเวียนหัวบ้านหมุนเมื่อไรควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัยแยกโรค ให้ชัดเจน จะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้องและทันท่วงทีต่อไป.

สวย ไม่แพ้ด้วย Extra virgin Oil


เรามีเคล็ดลับความสวยด้วย Extra Virgin Oil ซึ่งเป็นน้ำมันสกัดบริสุทธิ์ไม่ผ่านความร้อน มาให้คุณ ๆ ลองทำเล่นกันในวันว่างค่ะ

1. น้ำมันมะกอก มีวิตามินอี บี โปรตีนและสารต้านอนุมูลอิสระ ใช้หมักผมทำให้ผมนุ่มลื่น เป็นเงางาม ไม่แตกปลาย หากจุ่มเล็บในน้ำมันมะกอกอุ่น ๆ ประมาณ 5 นาที แล้วนวดเบา ๆ วันละ 2 ครั้ง จะทำให้เล็บแข็งแรง และถ้านำน้ำมันมะกอกมาผสมกับน้ำและน้ำมะนาวเล็กน้อยนวดตัว ผิวจะเนียนนุ่ม ลดการเกิดสิว และให้ช่วยรู้สึกผ่อนคลาย

2. น้ำมันมะพร้าว มีวิตามินอีสูง นิยมใช้ทาตัวเพื่อให้ผิวพรรณนุ่มนวล เต่งตึง ลดรอยเหี่ยวย่น และรอยตีนกา ป้องกันผิวไม่ให้กร้านแดด หรือนำจะมาเช็ดเครื่องสำอางก็ได้ หากใช้ชโลมผมจะทำให้ดกดำเป็นเงางาม และนุ่มสลวย ช่วยขจัดรังแค แถมยับยั้งการเกิดผมขาวได้อีกด้วย

3. น้ำมันงา ใช้ทาผิวให้นุ่มนวล ไม่แห้งกร้าน ลดอาการคันตามผิวหนัง และรอยแผลเป็น

4. น้ำมันเมล็ดทานตะวัน ใช้หมักผมให้ดกดำเป็นเงางาม และทาผิวลดริ้วรอยเหี่ยวย่น น้ำมันชนิดนี้อุดมด้วยวิตามินอีแต่ดูดซึมได้ไม่ดีจึงต้องผสมกับน้ำมันตัว อื่น เช่น น้ำมันมะพร้าวก่อนใช้

5. น้ำมันจมูกข้าว บำรุงผิวพรรณไม่ให้แห้งหรือหยาบกร้าน ลดรอยหมองคล้ำ ลดรอยเหี่ยวย่น ใช้ทาเป็นไนท์ออยล์ช่วยให้ผิวเนียนนุ่ม ไม่เหนอะหนะ

เมื่อความดันโลหิตสูง


ความดันโลหิต (blood pressure) หมายถึง ความดันภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ เพื่อปั๊มเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ความดันภายในหลอดเลือดนี้จะมีอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ขณะที่หัวใจกำลังคลายตัวก็ตาม เพราะการไหลเวียนของเลือดต้องมีอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นความดันในหลอดเลือดจึงมีอยู่ตลอดเวลา

การทำงานของหัวใจคล้ายก๊อก หรือปั๊มน้ำ คอยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เมื่อเลือดไหลแรงดี ความดันก็จะดีด้วย แต่หากหัวใจบีบตัวไม่ดี เลือดไหลอ่อน ความดันก็จะลดลง นอกจากนั้นแล้วความดันในหลอดเลือดยังขึ้นกับสภาพของหลอดเลือดด้วย หากหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดี จะปรับความดันได้ดีไม่ให้สูงเกินไป แต่หากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น หรือแข็งตัว ก็จะทำให้ความดันเปลี่ยนแปลงไปด้วย

สาเหตุ
1. ปัจจัยของความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่มาจากขบวนการที่เกิดจากความเครียดที่ต้องผจญอยู่เป็นประจำ ส่วนน้อยที่เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกายที่สามารถที่จะแก้ไขได้ และหายเป็นปกติ
2. หากท่านมีความดันโลหิตสูง ควรที่จะปรึกษาแพทย์ทันที เพราะอาจหาสาเหตุ และรักษาให้หายขาดได้
3. ส่วนใหญ่ของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะไม่ทราบสาเหตุที่เป็นรูปธรรม ต้องมาสนใจกับนามธรรม คือความเครียด

โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่มี ความสำคัญมากชนิดหนึ่ง ปัจจุบันมีคนจำนวนมากที่เป็นโรคนี้ ส่วนใหญ่จะสามารถควบคุมความดันโลหิตที่สูงให้กลับมาสู่ระดับปกติได้ แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาในการรักษา และเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เส้นเลือดในสมองแตกทำให้เกิดอัมพาต เป็นต้น

ความดันโลหิตสูงปลอม
ภาวะความดันโลหิตสูงปลอม หมายความว่าจริงๆ แล้วผู้ป่วยไม่ได้มีความดันโลหิตสูง แต่ด้วยเหตุผลใดไม่ทราบ เมื่อมาวัดความดันโลหิต ที่คลินิกแพทย์หรือโรงพยาบาล จะวัดได้สูงกว่าปกติทุกครั้ง แต่เมื่อวัดโดยเครื่องวัดความดันโลหิต 24 ชั่วโมง หรือวัดด้วยเครื่องอิเลคโทรนิคเองที่บ้าน กลับพบว่าความดันปกติ เรียกภาวะเช่นนี้ว่า white coat hypertension หรือ isolated clinic hypertension กลุ่มนี้มีอันตรายน้อยกว่าความดันโลหิตสูงจริงๆ

การรักษา
1. การลดความดันโลหิตโดยธรรมชาติก่อนที่จะต้องใช้ยาลดความดัน ได้แก่ การควบคุมน้ำหนัก การควบคุมอาหารโดยเฉพาะการลดอาหารเค็ม และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่อนคลายความเครียดจากปัญหาต่างๆ
2. กิจกรรมที่ทำให้เกิดการผ่อนคลายความเครียดจากปัญหาต่างๆ ได้ดี คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง ซึ่งนอกจากความเครียดจะหายไปแล้ว การออกกำลังกายจะมีผลต่อความแข็งแรงของหัวใจ และระบบการไหลเวียนของโลหิตอีกด้วย ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ แม้ขณะพักอยู่หัวใจก็จะเต้นเร็ว ซึ่งเราจะพูดกันติดปากว่าไม่ฟิต ตรงกันข้ามกับผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ชีพจรจะเต้นช้ากว่า และเมื่อออกกำลังกายหัวใจเต้นเร็วขึ้น แต่ก็จะกลับลงสู่ปกติได้โดยเร็ว
3. การออกกำลังกายที่เหมาะสมในวัยต่างๆ การออกกำลังกายที่เหมาะสมจะช่วยดับความเครียดของท่านลงได้ ความดันโลหิตสูงก็จะลดลงไปด้วย โรคหัวใจก็จะได้ไม่ย่างกรายมาสู่ท่าน
4. ในผู้สูงอายุ มักจะตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงชนิดซิสโตลิก (isolated systolic hypertension, ISH) หมายถึง ความดันตัวบนสูงเพียงค่าเดียว ในขณะที่ความดันตัวล่างไม่สูง จากการสำรวจพบได้บ่อยกว่าร้อยละ 20 ของผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุสำคัญของโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา รวมทั้งโรคหัวใจโต ซึ่งเป็นปัจจัยบ่งชี้ที่สำคัญในการทำนายว่าผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน ทางระบบหัวใจ และการไหลเวียนโลหิตมากกว่าบุคคลทั่วไป
5. การรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต สามารถลดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา และหัวใจโตได้ และยังช่วยลดอัตราการเกิดอัมพาต และภาวะหัวใจล้มเหลว

เครื่องวัดความดันโลหิต
1. เครื่องมือที่ใช้วัดความดัน โลหิตที่เป็นมาตราฐาน ประกอบด้วยผ้าที่มีถุงลมพันที่แขน และใช้ปรอทแสดงค่าความดันที่วัดได้ ในขณะวัดความดันโลหิต ผู้ถูกวัดความดันโลหิตควรจะอยู่ในท่านั่งสบายๆ วัดหลังจากนั่งพักแล้ว 5 นาที และไม่วัดหลังจากดื่มกาแฟ หรือสูบบุหรี่
2. ขนาดของผ้าพันแขนต้องมีขนาดเหมาะสมกับแขนผู้ถูกวัดด้วย หากอ้วนมากแล้วใช้ผ้าพันแขนขนาดปกติ ค่าที่ได้จะสูงกว่าความเป็นจริง
3. การปล่อยลมออกจากที่พันแขนมีความสำคัญอย่างมาก ต้องปล่อยลมออกช้าๆ มิฉะนั้นจะทำให้ได้ค่าที่ผิดไปจากความเป็นจริงมาก
4. เครื่องวัดความดันก็ต้องได้มาตราฐาน ไม่ใช่เครื่องเก่ามากหรือมีลมรั่ว เป็นต้น
5. ตำแหน่งของเครื่องวัดก็ควรอยู่ระดับเดียวกับหัวใจ และต้องวัดซ้ำๆ เพื่อหาค่าเฉลี่ย
6. ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ออกแบบ มาให้วัดความดันโลหิตได้ง่าย และสะดวกขึ้น โดยผู้วัดไม่จำเป็นต้องมีความรู้เลย เพียงแค่ใส่ถ่าน พันแขน และกดปุ่ม เครื่องจะวัดให้เสร็จ อ่านค่าเป็นตัวเลข เครื่องแบบนี้มีขายตามศูนย์การค้าทั่วไป โดยทั่วไปแล้วใช้งานได้ดี แต่ก็ต้องนำเครื่องมาตรวจสอบความถูกต้องเป็นครั้งคราว ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรมีเครื่องชนิดนี้ไว้วัดที่บ้านด้วย
7. ในอนาคตอาจจะเลิกใช้เครื่องวัด ความดันโลหิตแบบปรอท ส่วนหนึ่งเนื่องจากผลทางสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปรอทเป็นสารที่อันตราย และอีกเหตุผลหนึ่ง คือใช้เทคนิคมากในการวัดให้ถูกต้อง

การวัดความดันโลหิตตลอด 24 ชั่วโมง
ปัจจุบันพบว่าการวัดความดันโลหิตที่ดีที่สุดคือ การวัดความดันโลหิตตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งขณะหลับ และตื่น เพื่อดูแบบแผนว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และหาค่าเฉลี่ยความดันโลหิตของช่วงกลางวัน และกลางคืน ค่าที่ถือว่าปกติโดยการวัดความดันโลหิต 24 ชั่วโมงนี้ คือ ขณะตื่นความดันโลหิตเฉลี่ยควรน้อยกว่า 135/85 มิลลิเมตรปรอท และเมื่อหลับความดันโลหิตเฉลี่ยควรน้อยกว่า 120/75 มิลลิเมตรปรอท

เตรียมพร้อมก่อนวัดความดันโลหิต
1. ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ
2. นั่งพักผ่อนอย่างน้อย 5 นาที
3. ถ้าใส่เสื้อแขนยาวห้ามม้วนจนรัดต้นแขน เพราะจะทำให้วัดได้ค่าต่ำกว่าปกติ
4. ผ้าที่พันต้องใช้ขนาดที่เหมาะสมกับแขนผู้ป่วย
5. ไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟ ก่อนวัดความดันโลหิต 30 นาที
6. ไม่รับประทานยากระตุ้นระบบประสาท เช่น ยาลดน้ำมูก ยาขยายรูม่านตาเป็นต้น
7. ถ้าปวดปัสสาวะ ให้ไปเข้าห้องน้ำเพื่อถ่ายปัสสาวะเสียก่อน

เทคนิกการวัดความดันโลหิตที่ผิดพลาด
1. ตำแหน่งของเส้นเลือดที่ทำวัดความดันโลหิตไม่อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ
2. ปล่อยลมออกจากผ้าพันแขนเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป อัตราที่เหมาะสม คือ 2 มิลมิเมตรปรอทต่อจังหวะหัวใจเต้นหนึ่งครั้ง
3. ความดันโลหิตที่วัดครั้งแรกมัก จะสูงกว่าความเป็นจริง จากการศึกษาวิจัยพบว่าค่าความดันโลหิตที่ได้จากการวัดครั้งที่ 3 มีความแม่นยำถูกต้องมากที่สุด
4. รัดผ้าพันแขนแน่นหรือหลวมเกินไป ทำให้ค่าที่ได้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ความผิดพลาดที่เกิดจากเครื่องมือ
1. ลิ้นควบคุมการปล่อยลมขัดข้อง
2. ท่อเชื่อมหน้ากากแสดงค่าสกปรก
3. การใช้เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอะนีรอยด์ ต้องตรวจเช็คกับเครื่องที่ตั้งเป็นมาตราฐานด้วย
4. เข็มชี้ไม่อยู่ที่ค่าศูนย์

หน่วยวัดความดันโลหิต
ค่าความดันโลหิตเราวัด เป็นหน่วยมิลลิเมตรปรอท และจะบอกค่าเป็น 2 ตัวเลขเสมอ ตัวเลขสูงกว่าหรือบางทีเรียกว่าความดันตัวบน (systolic pressure) จะเป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว และตัวเลขที่ต่ำกว่าหรือบางทีเรียกว่าความดันตัวล่าง (diastolic pressure) จะเป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว
การวัดความดันโลหิตจะต้องบันทึก ค่าที่ได้ทั้งสองค่าเสมอ ทั้งค่าความดันตัวบน และค่าความดันตัวล่างมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน บางครั้งพบว่าผู้วัดความดันโลหิตให้ความสำคัญกับค่าความดันตัวบนเพียงอย่าง เดียว
ค่าความดันปกติ
1. ค่าความดันโลหิตปกติของผู้ใหญ่ โดยทั่วไป ถือว่าค่าความดันตัวบนไม่เกิน 140 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท
2. ความดันโลหิตที่ “อยู่ในเกณฑ์ปกติ” คือ ต่ำกว่า 130/85 มม.ปรอท ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 130-139/85-89 มม.ปรอท และจะเรียกได้ว่ามีความดันโลหิตสูงเมื่อ ความดันโลหิตตัวบนมากกว่า (หรือเท่ากับ) 140 และตัวล่างมากกว่า (หรือเท่ากับ) 90 มม.ปรอท
3. ก่อนที่จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมี ความดันโลหิตสูง แพทย์จะต้องวัดซ้ำหลายๆ ครั้ง หลังจากให้ผู้ป่วยพักแล้ว วัดซ้ำจนกว่าจะแน่ใจว่าสูงจริง และเทคนิคการวัดความดันโลหิตต้องกระทำให้ถูกต้องครบถ้วน
4. ความดันโลหิตเป็นค่าไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทุกวินาที การวัดซ้ำในเวลาที่ใกล้เคียงกันอาจได้คนละค่า แต่ก็จะไม่ควรจะแตกต่างกันนัก
5. ความดันโลหิตขึ้นกับท่าของผู้ถูกวัดด้วย ท่านอนความดันโลหิตมักจะสูงกว่าท่ายืน
6. นอกจากนั้นยังขึ้นกับสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น อาหาร บุหรี่ อากาศ กิจกรรมที่กระทำอยู่ในขณะนั้น รวมทั้งสภาพจิตใจด้วย

ที่มา : ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

เตือน! เบาหวานเล่นงานไต


จากข้อมูลของศูนย์เบาหวานศิริราช ทำให้รู้ว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไตวายในประชากรไทย เกิดจากโรคเบาหวาน ประมาณร้อยละ 20 – 40 พบในเด็กที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 1 และร้อยละ 5 – 16 พบในผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งหากผู้ป่วยเบาหวานได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม จะสามารถลดหรือชะลออัตราการเกิดไตวายได้

อาการของผู้ป่วยไตวาย
1. บวม ปัสสาวะออกน้อย เนื่องจากขับเกลือและน้ำได้ไม่ดี
2. ของเสียคั่ง ทำให้เบื่ออาหาร
3. ซีด เหนื่อยเพลีย
4. กระดูกพรุน

ใครที่มีโอกาสเป็นโรคไตสูง
1. ทางกรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นเบาหวานและไตวาย อย่างไรก์ตามกรรมพันธุ์ไม่ได้มีผลสำคัญมากเท่าพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกาย
2. การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี อันเนื่องมาจากการกินเกินสมดุล โดยเฉพาะอาหารจั๊งค์ฟู้ด แป้งขัดขาว ไข่แดง น้ำมัน เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล ขนมขบเคี้ยวที่มีรสหวาน หรือรสเค็มจัด ควรหันมากินผักให้มากขึ้นและไม่ควรกินจุบกินจิบ
3. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง จะเกิดภาวะเส้นเลือดตีบตัน และเป็นเบาหวาน ไตวายในที่สุด
4. การสูบบุหรี่

ระยะของโรค
ระยะที่ 1 ภายใน 1 – 3 ปีแรก
การทำงานของไตยังปกติ ขนาดของไตโตขึ้น
ระยะที่ 2 หลังจากเป็นเบาหวาน 2 -10 ปี
เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของไต แต่หน้าที่ไตและปริมาณโปรตีนในปัสสาวะยังปกติ
ระยะที่ 3 หลังจากเป็นเบาหวาน 10 -15 ปี
มีโปรตีนอัลบูมินรั่วออกมาในปัสสาวะมากกว่าปกติ แต่ปริมาณยังไม่มากพอจะตรวจพบด้วยแผ่นตรวจปัสสาวะธรรมดา ระยะนี้การทำงานของไตยังอาจปกติ หรือเริ่มทำงานลดลงก็ได้
ระยะที่ 4 หลังจากเป็นเบาหวาน 15 - 25 ปี
เป็นระยะที่โปรตีนอัลบูมินรั่วออกมาในปัสสาวะมากพอจะตรวจพบด้วยแผ่นตรวจปัสสาวะธรรมดา ระยะนี้โปรตีนในปัสสาวะของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนการทำงานของไตจะเสื่อมลงช้า ๆ ตามลำดับ
ระยะที่ 5 ไตวาย
หลังจากเป็นเบาหวาน 20 - 35 ปี
ตรวจเบื้องต้นอย่างไรถึงรู้ว่ามีภาวะแทรกซ้อนทางไต การตรวจที่วินิจฉัยเร็วที่สุดว่าผู้ป่วยมีปัญหาทางไตแล้ว คือ การตรวจอัลบูมินขนาดน้อย ๆ ที่ เรียกว่า microalbuminuria โดยตรวจโปรตีนด้วยแถบปัสสาวะธรรมดา แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 ควรตรวจครั้งแรกหลังจากทราบว่าเป็นเบาหวานอย่างน้อย 5 ปี
2. ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ควรตรวจโปรตีนในปัสสาวะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ไตกำลังมีปัญหา ซึ่งถ้าทราบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
การแก้ไขโดยการควบคุมระดับน้ำตาลและการให้ยาบางชนิด (ยากลุ่ม ACE inhibitors) จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้

ป้องกันและรักษาโรคไตอย่างไร
1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ ติดตามการรักษาสม่ำเสมอ
2. ตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะเป็นระยะ และให้การรักษาเมื่อพบความผิดปกติ
3. ควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 130/80 มม.ปรอท
4. หยุดสูบบุหรี่
5. จำกัดโปรตีนในอาหารสำหรับผู้ที่มีการทำงานของไตผิดปกติ
6. ระวังรักษาภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ

การปฏิบัติตัวเพื่อชะลอการเกิดไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
1. จำกัดอาหารเค็ม
2. ควบคุมความดันโลหิต
3. กินอาหารที่มีโปรตีนต่ำ เพื่อไม่ให้ระดับของเสียในเลือดเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มผักผลไม้ต่าง ๆ
4. ลดกินอาหารที่มีฟอสเฟตสูง เพื่อลดการเกิดตะกอนหินปูนที่ไต เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง นม และเมล็ดธัญพืชต่างๆ ได้แก่ เต้าหู้ นมถั่วเหลือง

เตรียมตัวเมื่อต้องเดินทาง
1. พกบัตรประจำตัวที่แสดงว่าตนเป็นเบาหวาน เนื่องจากถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น น้ำตาลต่ำ ผู้พบเห็นจะได้สามารถช่วยเหลือได้ถูกต้อง
2. เตรียมยากิน หรือ ยาฉีดอินซูลินและอุปกรณ์การฉีดยา หรืออุปกรณ์การตรวจเลือด ปัสสาวะ ให้พร้อมและเก็บไว้ในที่ที่หยิบได้ง่าย
3. พกอาหารติดตัวเสมอ เช่น ผลไม้ แครกเกอร์ น้ำผลไม้ นม
4. หลีกเลี่ยงการเก็บอินซูลินไว้ในที่อากาศร้อน เช่น ท้ายรถ เพราะอาจทำให้อินซูลินเสื่อมได้
5. ถ้าควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีพอ ไม่ควรเดินทาง หรือถ้าจำเป็นควรปรึกษาแพทย์
คนเรามีสิทธิ์เลือกที่จะทำอะไรในชีวิต ว่าแต่คุณเลือกที่จะใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าหรือไม่

เพื่อหญิงไทยห่างไกลโรคมะเร็ง
ภาควิชาสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงาน “เพื่อเธอ หญิงไทย ห่างไกลมะเร็งปากมดลูก” เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ซึ่งงานนี้จะได้รับความรู้เรื่องภัยร้าย... ที่ไม่ไกลตัวของผู้หญิงและการป้องกันตนเองจากมะเร็งปากมดลูก โดยมีผู้ร่วมเสวนา เช่น การ์ตูน-อินทิรา เกตุวรสุนทร เจี๊ยบ-เยาวลักษณ์ ไตรสุรัตน์ มิสไทยแลนด์เวิล์ด ปี 2546 พร้อมนิทรรศการ และกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย อาทิ การประกวดภาพถ่าย ประกวดร้องเพลงคาราโอเกะ กิจกรรมเกมส์ Walk Rally และการจำหน่ายสินค้าราคาประหยัดในวันที่ 24 -26 ตุลาคม 2550 เวลา 10.00 – 14.00 น. ณ อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ 0 2419 7000 ต่อ 4636

ที่มา : ศูนย์เบาหวานศิริราช

วิธีแก้เมื่อลืมกินยาตามเวลา


ใครเคยลืมกินยาตามเวลาบ้าง วันนี้มีวิธีแก้มาบอกเพราะยาบางตัวอาจออกฤทธิ์ไม่เหมือนกัน....

ถ้าลืมกิน...ยาก่อนอาหาร

วิธีแก้ : ยาจำพวกนี้จะดูดซึมได้ดีขณะที่ท้องว่าง ดังนั้นหากลืมกินก่อนอาหาร ให้กินหลังอาหารอีกทีเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 2 ชั่วโมง กระเพาะจะใช้เวลาในการย่อยอาหารประมาณ 2 ชั่วโมง

หลักการที่ถูก : ควรกินก่อนอาหาร ประมาณ 30-60 นาที

ถ้าลืมกิน...ยาหลังอาหาร

วิธีแก้ : รีบกินทันทีที่นึกได้ แต่หากเลยหลังอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง ให้หาของว่างรองท้อง แล้วกินยามื้อที่ลืม แต่ถ้าใกล้เวลากินมื้อต่อไปแล้ว ให้ข้ามมื้อที่ลืมไปเลย ไม่ควรกินยาเป็น 2 เท่า เด็ดขาด!

หลักการที่ถูก : ควรรับประทานหลังอาหาร ประมาณ 15-20 นาที

ถ้าลืมกิน...ยาหลังอาหารทันที/ยากินพร้อมอาหาร

วิธีแก้ : ยาประเภทนี้มีฤทธิ์กัดกระเพาะ อาจทำให้ท้องอืดแน่น หรือคลื่นไส้อาเจียนถ้ากินตอนท้องว่าง ดังนั้นควรทำเหมือนกรณีลืมกินยาหลังอาหารทุกประการ

หลักการที่ถูก : ควรกินทันทีหลังอาหารคำสุดท้าย

ถ้าลืมกิน...ยาก่อนนอน

วิธีแก้ : ลืมแล้วก็ปล่อยให้ลืมไป ไม่ต้องกินซ้ำอีกครั้งในตอนเช้า หรือตามไปกินซ้ำ 2 เท่า ในช่วงก่อนเข้านอนของอีกวัน

หลักการที่ถูก : กินแล้วควรเข้านอนทันที (ยาประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นยาคลายประสาท ทำให้ง่วงนอน จึงอาจเกิดอุบัติเหตุได้ถ้าไม่อยู่เป็นที่เป็นทาง)

ครั้งหน้าถ้าลืมกินยาเมื่อไหร่ อย่าลืมนำวิธีแก้ที่แนะนำไปปฏิบัติตามกันได้

ที่มา : เดลินิวส์

รู้หรือไม่?...อะไรคือสารก่อภูมิแพ้ในตัวคุณ


สารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้มีหลายชนิด โดยแต่ละคนมีปฏิกิริยาไวต่อสารแตกต่างกัน มาดูกันว่า สารก่อภูมิแพ้มีอะไรบ้าง ซึ่งสามารถพบได้ทั้งในและนอกบ้าน...

สารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้มีมากมายหลายชนิด ซึ่งแต่ละคนก็จะมีปฏิกิริยาไวเกินต่อสารแต่ละชนิดแตกต่างกัน และยังมีอีกหลายคนที่ไม่รู้ตัวว่าในร่างกายตนเองมีปฏิกิริยาไวเกินต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดใด บางรายมีสารก่อภูมิแพ้ในตัวแต่ไม่เคยรู้มาก่อน อาจเพราะยังไม่เคยได้สัมผัสกับสารนั้นๆ หรืออาจมีอาการแต่ไม่เด่นชัด บางรายที่มีอาการรุนแรงก็เกือบทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน

ภูมิแพ้เกิดได้อย่างไร?

ปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคภูมิแพ้มาจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม โดยผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จะมีปฏิกิริยาตอบสนองไวเกินต่อสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งธรรมชาติสารเหล่านี้อาจไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้กับคนปกติทั่วไป เมื่อไหร่ก็ตามที่มีสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย สารภูมิคุ้มกันชนิดอี หรือ Immunoglobulin E; IgE ที่ถูกสร้างขึ้นจะเข้าทำปฏิกิริยากับสารก่อภูมิแพ้ที่เข้าสู่ร่างกาย เป็นผลให้เซลล์บางชนิดมีการแตกตัวและหลั่งสารเคมีออกมาทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ของโรคตามมา

สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สารก่อภูมิแพ้ที่พบในบ้าน เช่น ไรฝุ่น สปอร์ของเชื้อรา ซากแมลงสาบ สัตว์เลี้ยงในบ้าน และสารก่อภูมิแพ้ที่พบนอกบ้าน ได้แก่ ละอองเกสรหญ้า เชื้อรา วัชพืช ต้นไม้ เป็นต้น โดยผู้ป่วยที่มีปฏิกิริยาการแพ้หรือภูมิไวเกิน เมื่อได้รับสารเหล่านี้เข้าไปในปริมาณที่มากพอ จะกระตุ้นทำให้อาการของโรคภูมิแพ้กำเริบได้ เช่น น้ำมูกไหล ไอ จาม คันตา คันจมูก เป็นต้น ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดในการรักษาโรคนี้ก็คือ การรู้จักหลีกเลี่ยงและกำจัดสิ่งที่ตนเองแพ้

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของสารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อย

แพ้ไรฝุ่น

ตัวไรฝุ่น คือ สัตว์จำพวกแมลงที่มีขนาดเล็กมากประมาณ 10-30 ไมครอนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า มี 8 ขาลักษณะคล้ายกับแมงมุม เห็บ หมัด ชอบอยู่ในที่อุ่นชื้น โดยเฉพาะอุปกรณ์เครื่องนอน เช่น หมอนหนุน ที่นอน พรม เฟอร์นิเจอร์และตุ๊กตาของเล่นที่ทำจากผ้า ซึ่งสารก่อภูมิแพ้สำคัญก็คือ โปรตีนจากตัวไรฝุ่นเองและมูลของไรฝุ่น

วิธีการรับมือ

1. คลุมที่นอน หมอน ด้วยผ้าที่มีช่องระหว่างเส้นใยเล็กมากจนตัวไรฝุ่นและมูลของมันไม่สามารถผ่านเข้าไปได้
2.ซักผ้าปูที่นอนและผ้าห่มทุกๆ 1-2 สัปดาห์ในน้ำร้อนที่อุณหภูมิมากกว่า 55 องศาเซลเซียสเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที
3.เช็ดทำความสะอาดบานเกล็ด ม่าน เครื่องเรือน และถูพื้นด้วยผ้าเปียกทุกๆ สัปดาห์เพื่อขจัดฝุ่นละออง
4.ควรนำของเล่น สมุดหนังสือ พรมและตุ๊กตา ออกไปไว้นอกห้องนอน หรือหาตู้เก็บอย่างมิดชิด
5.การใช้สารกำจัดไรฝุ่นจำพวก Tannic acid หรือ Acaricide พบว่าได้ผลดีในห้องทดลองปฏิบัติการ แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในเรื่องของความปลอดภัยและประสิทธิภาพ
6.สำหรับเครื่องกรองอากาศหรือฟอกอากาศ อาจมีผลช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ไรฝุ่นได้บ้าง แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันแน่ชัดว่าอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถช่วยให้อาการของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ทุเลาลง

แพ้ซากของแมลงสาบ

วิธีการรับมือ

การดูแลรักษาบ้านเรือนให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงสาบ ภาชนะเก็บเศษอาหารควรมีฝาปิดให้มิดชิด ควรกำจัดขยะและเศษอาหารภายในบ้านทุกวัน อาจพิจารณาใช้ยาฆ่าแมลง หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเข้ามาฉีดยาขจัดแมลงในบ้านเป็นระยะ

แพ้สัตว์เลี้ยง

สารก่อภูมิแพ้จากแมวพบได้จากรังแค ขน น้ำลาย ซีรั่ม และปัสสาวะ ส่วนสารก่อภูมิแพ้จากสุนัขพบได้จากรังแค ขน และน้ำลาย ซึ่งอนุภาคของสารก่อภูมิแพ้ชนิดนี้มีขนาดเล็ก ล่องลอยในอากาศ มักมีการเคลื่อนที่ไปอยู่ในบริเวณต่างๆ ทั้งภายในบ้าน โรงเรียน หรือสถานที่ทำงาน และยังสามารถคงอยู่ได้นานถึง 6 เดือนแม้ว่าจะมีการนำสัตว์เลี้ยงออกไปแล้ว

วิธีการรับมือ

วิธีที่ดีที่สุด คืองดเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ หรืออย่างน้อยควรมีการแยกออกไปจากห้องนอน หรือบริเวณที่พักผ่อนเป็นประจำ ในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ป่วยไม่ควรเล่นอย่างคลุกคลีใกล้ชิด และควรอาบน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงเป็นประจำทุกสัปดาห์ ส่วนการติดตั้งเครื่องกรองอากาศประเภทที่มีประสิทธิภาพการกรองสูง มีประโยชน์ในแง่ของการลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ

แพ้สปอร์ของเชื้อรา

เชื้อราในธรรมชาติสามารถพบได้ทั้งในและนอกบ้าน มักเกิดตามที่อับชื้น เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว หรือบริเวณที่มีใบไม้แห้งร่วงทับถมกัน

วิธีการรับมือ

1. หลีกเลี่ยงการปลูกต้นไม้ใส่กระถางไว้ในตัวบ้าน
2. หมั่นดูแลและกำจัดใบไม้ที่ร่วงทับถมอยู่บนพื้นหรือเศษหญ้าที่ชื้นแฉะ
3. ทำความสะอาดห้องน้ำบ่อยๆ โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้นและผนัง ม่านพลาสติก ใต้อ่างล้างมือ โถส้วม และตามซอกมุมซึ่งมักพบมีราดำเกิดขึ้น
5.ทำความสะอาดห้องครัว ตู้เก็บอาหาร ตู้เย็นอย่างสม่ำเสมอ มิให้เกิดแหล่งน้ำท่วมขัง
6.เปิดห้องให้มีอากาศถ่ายเท ลดความอับชื้นและแสงแดดส่องถึง

แพ้ละอองเกสรหญ้าและวัชพืช

ละอองเกสรหญ้า มักมีขนาดเล็กและเบาสามารถปลิวตามลมและแพร่กระจายไปได้ไกล แม้ว่าจะไม่มีพืชชนิดนั้นในบริเวณบ้าน จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก

วิธีการรับมือ

ถ้าในบ้านมีสนามหญ้า ควรทำการตัดหญ้าและวัชพืชในสนามบ่อยๆ ในฤดูที่มีการกระจายตัวของเกสรมาก เช่น ช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี การปิดประตูหน้าต่างเพื่อป้องกันละอองเกสรจากภายนอก อาจช่วยลดอัตราการสัมผัสละอองเกสรในประเทศไทยได้ หรืออาจติดตั้งเครื่องกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพการกรองสูง

นอกจากวิธีหลีกเลี่ยงในสิ่งที่แพ้แล้ว การออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนอย่างเต็มที่ หลีกเลี่ยงสารก่อความระคายเคือง ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีและยังสามารถควบคุมอาการของโรคภูมิแพ้ได้อย่างดีอีกด้วย


ที่มา : คลินิก หู คอ จมูก โรงพยาบาลเวช

บาดทะยัก กล้ามเนื้อเกร็ง อ้าปากไม่ได้


แม้โรคบาดทะยักจะมีวัคซีนป้องกัน แต่ปัจจุบันประเทศไทยยังพบผู้ป่วยอยู่เรื่อยๆ และมีแนวโน้มว่าจะพบในผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่า ในผู้ป่วยบางราย เพียงแค่โดนเข่งบาดมือ ก็เป็นโรคบาดทะยักได้

ผศ.น.พ.สุพจน์ ตุลยาเดชานนท์ หน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ร.พ.รามาธิบดี อธิบายว่า บาดทะยักเป็นโรคติดเชื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในดิน ในสิ่งแวดล้อม ชื่อ คลอสทริเดียม เตตตาไน (Clostridium tetani) เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล โดยเฉพาะบาดแผลที่เจาะลึกเข้าไปในผิวหนัง เช่น ตะปูตำ เสี้ยนไม้ตำ นอกจากนี้อาจพบการติดเชื้อในคนไข้ทำแท้งเถื่อนที่ใช้เครื่องมือไม่สะอาด รวมถึงคนที่ฉีดยาเสพติด โดยการใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด

เมื่อเชื้อบาดทะยักเข้าไปในบาดแผลแล้วจะสร้างสารพิษท็อกซิน ซึ่งสารพิษดังกล่าวจะไปจับกับเส้นประสาท เชื้อจะลามไปตามเส้นประสาท สู่ไขสันหลัง และอาจไปถึงก้านสมองบางส่วน ประมาณ 3 วันถึง 3 สัปดาห์คนไข้จะแสดงอาการ โดยเฉลี่ยประมาณ 1 สัปดาห์

โรคบาดทะยักยิ่งเกิดอาการเร็วก็ยิ่งน่ากลัว เริ่มแรกคนไข้จะมีอาการปวด คล้ายปวดกล้ามเนื้อ จากนั้นจะเริ่มมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเป็นระยะๆ อ้าปากไม่ได้ คอเกร็ง หลังเกร็ง หรือบางคนอาจมีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น เหงื่อแตก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ บางคนเกร็งรุนแรงจนกล้ามเนื้อสลายตัว หรือจนถึงขั้นกระดูกหักก็มี

การเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ช่วยหายใจ ทำให้หายใจไม่ได้ และอาจทำให้คนไข้เสียชีวิตได้ โดยคนไข้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเพราะติดเชื้อแทรกซ้อน หรือบางคนมีระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ แต่ถ้าคนไข้ได้รับการดูแลรักษาอย่างดี มาพบแพทย์ทันเวลา 70-80% ก็สามารถหายเป็นปกติได้ แต่มีส่วนหนึ่งที่เสียชีวิตทั้งที่แพทย์รักษาจนสุดความสามารถแล้ว

การรักษาจะให้ยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการเกร็ง ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อที่แผล รวมทั้งให้วัคซีนให้ภูมิคุ้มกัน เพราะเมื่อเชื้อบาดทะยักเข้าไปในเส้นประสาทแล้ว คนไข้คงสร้างภูมิคุ้มกันเองไม่ทัน ต้องเอาภูมิคุ้มกันที่สร้างแล้ว มาฉีดให้คนไข้ ขณะเดียวกันก็นำวัคซีนบาดทะยักที่ฉีดให้กับคนไข้ทั่วไปมาฉีดพร้อมกันด้วย เพื่อกระตุ้นให้เขาสร้างภูมิคุ้มกันเอง จะเป็นวิธีช่วยผ่อนหนักเป็นเบา ซึ่งในคนไข้บางรายอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย โดยคนไข้บาดทะยักต้องใช้เวลาในการดูแลรักษาประมาณ 1 เดือนอาการจะดีขึ้น และหายเป็นปกติได้

การป้องกันไม่ให้เป็นแผลคงยาก ดังนั้น ถ้าเข้าไปในสิ่งแวดล้อมที่สกปรก ก็ควรระมัดระวังไม่ให้มีบาดแผล หรือไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในแผล หรือในกรณีที่เป็นแผลขึ้นมา ควรล้างแผลให้สะอาด พบแพทย์เพื่อรับการดูแลบาดแผล รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม และถ้าแพทย์ดูแผลแล้ว เห็นว่ามีโอกาสที่จะเกิดโรคบาดทะยัก จะให้วัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน หรือถ้าดูแล้วแผลน่ากลัวอาจจะเป็นโรคบาดทะยักอาจให้ทั้งวัคซีนและภูมิคุ้มกันทั้ง 2 อย่าง


ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

ถ่ายเป็นเลือด…อย่านิ่งนอนใจ


ถ่ายเป็นเลือด…อย่านิ่งนอนใจ รีบหาสาเหตุก่อนจะรักษายากขึ้น

เคยไหมที่อยู่ดีๆก็ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด?

หลายคนอาจยังคงนิ่งนอนใจอยู่เพราะคิดว่าบางครั้งที่ถ่ายอุจจาระออกมาเป็นเลือดนั้น เป็นเรื่องเล็กน้อย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักนึกว่าตนเองเป็นโรคริดสีดวงทวาร แต่โดยแท้จริงแล้วมีสาเหตุได้หลายประการ ทั้งแผลขอบทวารหนัก ฝีบริเวณทวารหนัก หรือโรคของเส้นเลือดในเยื่อบุผนังลำไส้แตก แต่ที่น่ากลัวที่สุดคือ...มะเร็ง!!!...อุจจาระเป็นเลือดหรือมีเลือดผสมอยู่ในอุจจาระ จะเป็นแบบไหนก็ล้วนแต่น่าตกใจทั้งนั้น เพราะนั่นย่อมแสดงให้เห็นว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกายของเราแล้ว

สาเหตุของการถ่ายอุจจาระออกมาเป็นเลือด…มีด้วยกันหลายสาเหตุแล้วแต่พฤติกรรมในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นเวลาหรือไม่ ซึ่งคนส่วนมากที่มีสุขภาพดีมักจะได้รับการฝึกหัดให้ถ่ายอุจจาระเป็นประจำทุกเช้าจนเป็นนิสัย สำหรับหลายๆคนที่เคยมีอาการถ่ายเป็นเลือดเคยสังเกตตัวเองบ้างไหมว่า เวลาเข้าไปถ่ายอุจจาระในห้องน้ำมักจะมีพฤติกรรมในเรื่องนั่งแช่นานๆ หรือชอบนั่งอ่านหนังสือไปด้วย ท้องผูกเป็นประจำหรือเปล่า ดื่มน้ำน้อยและไม่ค่อยกินผักสด ชอบกินแต่เนื้อสัตว์ เครียดเป็นประจำและนอนดึก ทำให้พักผ่อนได้ไม่เพียงพอ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุให้มีอาการดังกล่าวได้ทั้งนั้น

แล้วอย่างนี้จะมีวิธีสังเกตได้อย่างไรบ้างน๊ะ...

ลองสังเกตดูว่าถ้าหากมีอาการคล้ายๆ อย่างนี้ส่วนใหญ่จะเป็นแผลที่ทวารหนักมากกว่า ลักษณะของเลือดที่ออก อาจพอบอกได้ว่าเลือดออกจากสาเหตุอะไร ถ้าเป็นเลือดสดๆ ออกตามหลังการถ่ายอุจจาระ หรือมีเลือดออกแต่ไม่ปนกับอุจจาระ มักมีสาเหตุที่บริเวณทวารหนักหรือลำไส้ใหญ่ส่วนปลายมากกว่าลำไส้ด้านใน เช่น ริดสีดวงทวารหนัก ถ้าเลือดปนอยู่ในก้อนอุจจาระน่าจะเกิดจากตำแหน่งที่อยู่สูงขึ้นไป เนื่องมาจากทำให้ลำไส้มีเวลามากพอที่จะผสมเลือดกับอุจจาระเข้าด้วยกัน เลือดที่ออกจากแผลกระเพาะอาหาร มักมีสีดำและเหนียว แต่ถ้ามีมูกปนด้วย แสดงว่ามีปัญหาที่เยื่อบุลำไส้ใหญ่ เช่น ลำไส้อักเสบ หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

สำหรับวิธีป้องกันอาการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดนั้น...ง่ายนิดเดียว...

กินอาหารที่มีกากใยมากๆ...หนึ่งในวิธีป้องกันการท้องผูกที่ดีวิธีหนึ่ง โดยการกินผัก ผลไม้ต่างๆ เช่น กล้วย มะละกอ ส้ม และที่สำคัญดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว หลีกเลี่ยงอาหารที่ระคายเคืองทางเดินอาหารเช่น อาหารรสจัด ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อีกทั้งหากทำไม่ได้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม จำเป็นต้องกินยาถ่ายอย่างอ่อนๆหรือกินสารเสริมที่ทำให้ถ่ายอุจจาระง่ายขึ้น เช่น เม็ดแมงลัก เมล็ดซีเลียม (psyllium)

เวลาปวดอุจจาระควรจะถ่ายทันที...ไม่ควรจะอั้นไว้นานๆ เพราะจะทำให้ลำไส้ใหญ่มีเวลาดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เหลืออุจจาระที่ขาดน้ำ จนเกิดอาการแข็งตัว ถ่ายยาก และที่สำคัญควรฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา ไม่เบ่งมากขณะขับถ่าย เนื่องจากการเบ่งมากจะทำให้เลือดคั่งบริเวณบริเวณทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อปากทวารหนักบวมและเป็นแผลได้

ควรออกกำลังกายเป็นประจำ...ทำโน่นทำนี่ไปเรื่อยๆไม่อยู่นิ่ง ไม่ควรนั่งหรือยืนนานๆ เพราะจะทำให้เกิดความดันในหลอดเลือดดำที่ช่องทวารหนักเพิ่มสูงขึ้น เอื้อต่อการเกิดริดสีดวงทวาร การออกกำลังกายยังสามารถช่วยป้องกันภาวะท้องผูกได้ด้วย เพราะจะทำให้มีกล้ามเนื้อแข็งแรง มีแรงเบ่งที่ดี

หลังถ่ายอุจจาระแล้วควรล้างก้นด้วยน้ำ...แล้วใช้กระดาษหรือผ้าซับให้แห้ง ไม่ควรเช็ดก้น เพราะการเช็ดจะทำให้เกิดการถลอกของเนื้อเยื่อทวารหนักไม่มากก็น้อย รอยถลอกเป็นทางเข้าของเชื้อโรคที่มีอยู่มากมายมหาศาลในอุจจาระ ทำให้เกิดติดเชื้ออักเสบได้

เพื่อให้รู้แน่ว่าอาการถ่ายเป็นเลือด เป็นเรื่องเล็กใหญ่แค่ไหน จำเป็นต้องหาสาเหตุให้แน่ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสดๆ เป็นๆ หายๆ บ่อยครั้ง หรือพบว่าถ่ายเป็นเลือดสดเพียงครั้งเดียวในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี อย่างไรก็ตาม การหาสาเหตุของเลือดออกทางทวารหนักหรือการถ่ายอุจจาระเป็นเลือด สิ่งที่ดีที่สุดคือการตรวจให้แน่ใจว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่

อย่างไรก็ตาม การหาสาเหตุของเลือดออกทางทวารหนักหรือการถ่ายเป็นเลือด ดีที่สุดคือ ไปให้แพทย์ตรวจ วิธีการตรวจอันดับแรกคือ ใช้นิ้วตรวจทางทวารหนักเพื่อดูลักษณะของอุจจาระ ตรวจหาก้อนหรือตรวจหาความผิดปกติอย่างอื่นภายในทวารหนัก อาจมีการตรวจพิเศษอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การส่องกล้องทางทวารหนัก ซึ่งกล้องก็จะมีขนาดต่างๆ กัน ถ้าเป็นกล้องขนาดเล็ก ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรสามารถเข้ารับการตรวจได้เลย

แต่ถ้าหากแพทย์สงสัยว่าต้นตอของสาเหตุจะอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้นไปในลำไส้ใหญ่ อาจจำเป็นต้องตรวจด้วยกล้องที่ยาวขึ้นที่เรียกว่า “ซิกมอยด์โดสโคป” (Sigmoidoscope) หรือ “โคโลโนสโคป” (Colonoscope) ซึ่งวิธีนี้ต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจล่วงหน้าโดยการทำให้ลำไส้ใหญ่สะอาดเสียก่อน นอกจากนี้ยังมีการตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น การเอกซเรย์สวนแป้งทางทวารหนัก (bariumenema) หรือเอกซเรย์ลำไส้ใหญ่ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT-Colonography) ซึ่งทำให้ได้รูปลำไส้ใหญ่ โดยไม่ต้องส่องกล้องและไม่ต้องดมยาหรือฉีดสีใดๆ

ดังนั้นเมื่อมีอาการถ่ายเป็นเลือดก็ไม่ควรนิ่งนอนใจอีกต่อไป เพราะการปล่อยไว้จะทรมานมากกว่าและอาจรักษายากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของตัวเรามากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามการปฏิบัติตนให้มีสุขภาวะที่ดี อย่างที่ สสส. ได้แนะนำไว้เสมอนั้น นอกจากจะทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้ว สุขภาพใจก็ยังแข็งแรงตามไปด้วย



ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ระยะอันตรายตรวจเจอไขมันพอกตับ


ภาวะไขมันพอกตับ ความผิดปกติของร่างกายที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ดื่มเหล้า หรือดื่มเพียงเล็กน้อย ในส่วนของการตรวจเพื่อให้ทราบปัญหาตับว่ากำลังถูกไขมันพอกอยู่หรือไม่

พญ.วิภากร ชูแสง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินอาหารและตับ เปิดเผยไว้ในนิตยสารสุขภาพ Better Health ว่า สามารถทราบได้จากการตรวจเลือด ซึ่งจะแสดงค่าเอนไซม์ตับที่ผิดปกติ รวมทั้งระดับน้ำตาล และไขมัน แต่ผลการตรวจที่ออกมาในลักษณะดังกล่าว จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ และเจ็บตึงบริเวณชายโครงขวา

นอกจากนี้ยังสามารถตรวจได้จากการอัลตร้าซาวด์ ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการเจาะชิ้นเนื้อตับไปตรวจ เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค

โดยภาวะไขมันพอกตับมีการดำเนินโรคค่อนข้างช้า แบ่งได้เป็น 4 ระยะ เริ่มจากระยะแรก คือ ระยะที่ไขมันเริ่มก่อตัวอยู่ในเนื้อตับ ไม่ทำให้เกิดผลกระทบใด ๆ เช่น การอักเสบของตับ หรือพังผืดในตับ

ระยะที่สอง เริ่มเกิดการอักเสบที่ตับ ถ้าไม่ควบคุมดูแลให้ดีปล่อยให้ตับอักเสบเกินกว่า 6 เดือน จะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง

ขณะที่ระยะที่สาม การอักเสบของตับเริ่มรุนแรงขึ้น เกิดพังผืดในตับ เซลล์ตับจะค่อย ๆ ถูกทำลายลง ทั้งนี้ในระยะที่สองและสามของโรค ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการบ่งชี้ให้เห็นคือ ตัวเหลือง ตาเหลือง และมีน้ำในท้องมาก

หากโรคดำเนินไปถึงระยะที่สี่หรือระยะสุดท้าย เซลล์ตับจะเสียหายไปมาก อาจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ และความรู้สึกตัวลดลง เสี่ยงต่อการเกิดตับแข็ง และมะเร็งตับ

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายในการรักษามุ่งลดไขมันสะสมและลดการอักเสบ(เฉพาะในรายที่มีอาการอักเสบร่วมด้วย) เพื่อหยุดยั้งการดำเนินโรคต่อไป ส่วนวิธีที่อาจช่วยให้รู้ทันโรคก่อนสาย คือ การตรวจสุขภาพประจำปีที่ไม่ควรละเลย


ที่มา : เดลินิวส์

"โฮโมซีสทีน" อีกตัวการก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดและอัมพาต


25 - 30 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดพบมาจากปัจจัยแฝงที่เรียกว่า "โฮโมซีสทีน" อีกตัวการก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดและอัมพาต...

ปัจจุบันอัตราการเสียชีวิตของประชากรโลก เกิดจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น แต่น่าแปลกที่พบว่า ประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่รับตัวไว้ในโรงพยาบาล มีไขมันในเลือดปกติ ความดันปกติ ไม่สูบบุหรี่ แสดงว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องมีปัจจัยเสี่ยงชนิดอื่น ที่ยังไม่ได้รับการตรวจหา

เมื่อเร็วๆ นี้ วงการแพทย์ทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับปัจจัยเสี่ยงชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า “สารโฮโมซีสทีน” ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยแฝงที่สำคัญที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดและอัมพาต

สารโฮโมซิสทีน คืออะไร
 สารโฮโมซิสทีน (Homocysteine) หรือบางท่านอาจเรียกว่า โฮโมซีสเตอีน เป็นสารที่เกิดจากการย่อยสลายของอาหารประเภทโปรตีน ปกติร่างกายจะพยายามขจัด “สารโฮโมซีสทีน” ให้เป็น “สารซีสทีน” แทน ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อหลอดเลือดและร่างกายส่วนอื่นๆ เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่รับประทานอาหารประเภทโปรตีนมากจนเกินไป ระดับของโฮโมซีสทีนในเลือดก็จะไม่สูง หรือถ้าเราไม่มีปัญหาเนื่องมาจากพันธุกรรมของครอบครัว ไม่มีความผิดปกติในเรื่องของการขาดวิตามินต่างๆ เช่น วิตามิน บี6 บี12 และกรดโฟลิก รวมถึงการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟมากไป ก็จะไม่ทำให้เกิดสารโฮโมซิสทีนในเลือดสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปเราจะไม่สามารถรู้ระดับของโฮโมซีสทีนในเลือดได้ จนกว่าจะเจาะตรวจเลือดออกมาวิเคราะห์ดูว่ามีค่าสูงหรือไม่

อันตรายอย่างไร ถ้ามีสารโฮโมซีสทีนในเลือดสูง

นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าสาเหตุที่ Homocysteine เพิ่มอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคเหล่านี้ อาจเกิดจาก Homocysteine จะทำให้ความหนืดของเกร็ดเลือดเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังพบว่า Homocysteine ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่นอีกด้วย

ดังนั้น สารโฮโมซีสทีน ถ้ามีสูงขึ้นเกินกว่าระดับที่ควรจะเป็นก็จะทำลายหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดที่อยู่ในสมอง โดยจะมีผลทำให้หลอดเลือดที่กล่าวถึงมีโอกาสตีบและอุดตันได้ง่ายกว่าที่ระดับของโฮโมซีสทีนในเลือดปกติ เช่น กรณีที่หลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน โอกาสที่หลอดเลือดที่ผ่านคอไปเลี้ยงสมองจะอุดตันหรือตีบก็เกิดขึ้นได้ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง อาจสร้างปัญหาให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นส่วนๆ หากหลอดเลือดสมองตีบ เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง ประสาทในสมองก็ลีบฝ่อไปได้เช่นกัน ก่อให้เกิดปัญหาสมองฝ่อหรือโรคอัลไซเมอร์ และปลายประสาทเสื่อม รวมถึงอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอัมพฤกษ์ – อัมพาตได้

ลักษณะอาการผิดปกติเมื่อค่าของสารโฮโมซีสทีนสูงจะมีลักษณะอย่างไร

อาการจะมีลักษณะคล้ายกับอาการของภาวะไขมันในเลือดสูงเหมือนกัน อาจมาพบแพทย์ด้วยเรื่องของอาการเจ็บแน่นหน้าอก ในกรณีของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือมีอาการอัมพฤกษ์ - อัมพาตเกิดขึ้น ในกรณีของผู้ป่วยที่มีปัญหาของหลอดเลือดโดยทั่วไปในสมองอุดตัน

วิธีการป้องกันไม่ให้สารโฮโมซีสทีนมีค่าสูงขึ้น

เนื่องจากสารโฮโมซีสทีนในเลือดเกิดจากการรับประทานอาหารโปรตีนมากเกินไป เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่ต้องการให้เลือดมีระดับของสารโฮโมซีสทีนที่สูงกว่าความเป็นจริง เราก็ควรลดอาหารโปรตีนลงมา แล้วเพิ่มกลุ่มอาหารประเภทผักและผลไม้มากขึ้น พฤติกรรมการรับประทานแบบไทยๆ ดีอยู่แล้ว เพราะจะทำให้ระดับโฮโมซีสทีนในเลือดไม่สูงเกินไป และไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย และถ้าเราไม่แน่ใจว่ารับประทานอาหารกลุ่มต่างๆ ได้เพียงพอ แพทย์สามารถสั่งวิตามินที่มีความสำคัญในการลดระดับของโฮโมซีสทีนในเลือดลงมาได้ ก็จะทำให้ระดับโฮโมซีสทีนในเลือดไม่สูงเกินความเป็นจริงที่ควรจะเป็น อันตรายก็จะไม่เกิดขึ้นกับผนังหลอดเลือด

สารโฮโมซีสทีนจะขับออกมาทางปัสสาวะ คือ ทางไต เพราะฉะนั้น การออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยทำให้ระบบเลือดหมุนเวียนดีขึ้น ระบบสูบฉีดโลหิตดี สารโฮโมซีสทีนก็จะถูกขับถ่ายออกทางไตได้ดีมาก และจะเผาผลาญไขมันส่วนอื่นออกไปด้วย นอกจากนี้ การตรวจวัดระดับโฮโมซิสทีนอยู่เสมอ จะทำให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายดังกล่าวได้ดี อีกทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมต่อภาวะสุขภาพร่างกายของตนได้อีกด้วย เพื่อลดความเสี่ยงจากการเผชิญกับโรคภัยต่างๆ





ที่มา : ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลเวช

“ภาวะเพลียเรื้อรัง”หรือ CFS ( Chronic Fatigue Syndrome )


คุณรู้สึกว่าคุณเหนื่อยเกินไป

พอสิ้นสุดวันอันแสนเหนื่อย หลังการทำงานอันเคร่งเครียดแล้ว ไหนจะภาระดูแลครอบครัวเมื่อกลับถึงบ้านอีก แม่บ้านทุกคนจึงแทบอยากรีบเอนหลังไว ๆ แล้วหลับพักยาวตลอดคืน

ถ้าเพียงได้พักแล้วหายเหนื่อย หายเพลีย ก็คงดีนะ แต่นี่แม้จะนอนมากเท่าไรก็ไม่รู้จักพอ ยังคงเพลียไม่หาย แบบนี้อาจเป็นไปได้ว่าคุณกำลังเผชิญกับ “ภาวะเพลียเรื้อรัง” เข้าแล้ว

Chronic Fatigue Syndrome หรือ CFS ไม่ใช่อาการเจ็บไข้ได้ป่วยทั่วไปอย่างไข้หวัดหรือกล้ามเนื้ออักเสบ เพราะหากเป็นการเจ็บป่วยตามธรรมดา อาการป่วยต่าง ๆ เหล่านี้จะอธิบายได้และค้นหาสาเหตุได้ แต่อาการป่วยจาก CFS หาสาเหตุไม่พบและอธิบายไม่ได้ เป็นทีพร้อม ๆ กันหลายอาการ จนเกือบจะไม่รู้ว่าเป็นอะไรกันแน่ นี่จึงเป็นเหตุผลที่เรียกรวม ๆ กันว่า Syndrome

มิหนำซ้ำยังเป็นอาการที่ค่อนข้างวินิจฉัยยากเพราะคล้ายกับหลายโรค โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ และบางทีก็เกิดจากสร่างไข้ใหม่ ๆ เลยทำให้ตัวคุณเองอาจไม่แน่ใจว่าเพราะยังไม่ฟื้นไข้ดีหรือเปล่า

ข้อมูลจาก Mayo Clinic เผยว่า พบภาวะเหนื่อยเรื้อรังนี้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2-4 เท่า แต่ตัวเลขนี้เอาแน่ยังไม่ได้ อาจเป็นไปได้ว่าเพราะผู้หญิงใส่ใจสุขภาพมากกว่า พอรู้สึกไม่สบายก็มักไปหาหมอมากกว่าผู้ชายเลยมีสถิติมากกว่าก็เป็นได้

ยังไม่มีใครทราบว่าภาวะเหนื่อยเรื้อรังเกิดจากอะไรกันแน่ ชื่อนี้ได้มาจากอาการที่แสดงให้เห็น ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกอ่อนเพลียมาก ๆ แม้จะพักผ่อนมากเท่าไรแล้วก็ตาม ทั้งเหนื่อยล้าเกินกว่าอยากจะหยิบจับทำอะไร ๆ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก

สัญญาณบ่งบอกถึงภาวะเหนื่อยเรื้อรัง

บ่อยครั้งที่ภาวะเหนื่อยเรื้อรังเกิดหลังจากป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นว่าเป็นไข้หวัดหรือท้องเสีย บางครั้งก็เกิดในช่วงที่เครียดจัด แต่ก็มีเหมือนกันที่อยู่ดี ๆ ก็เป็นขึ้นมาโดยไม่มีอาการเตือนหรือไม่สบายมาก่อน

ปกติแล้วจะเกิดแบบต่อเนื่องหรือเป็น ๆ หาย ๆ ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน อาการจะคลุมเครือชี้ชัดได้ยากกว่าเป็นอะไรกันแน่ และแพทย์น้อยคนนักที่จะนึกถึง ซึ่งถ้าแพทย์ให้การรักษาตามอาการแล้วยังไม่ดีขึ้น หรือมีหลายอาการประกอบกัน ก็เข้าข่ายว่าน่าจะเป็นภาวะเหนื่อยเรื้อรัง

แล้วจะรักษาอย่างไรดี

เพราะไม่มียาเฉพาะที่จะรักษาโรคนี้ให้หายขาด การรักษาตามอาการและการดูแลสุขภาพกายและใจจึงเป็นหนทางเดียวในขณะนี้ที่จะช่วยบรรเทาได้ พร้อม ๆ ไปกับการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่นว่าทานอาหารให้สมดุล พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบา ๆ เป็นประจำ หลีกเลี่ยงความเครียด ที่สำคัญพอรู้ตัวว่าเป็นหรือเพียงแค่สงสัยก็ควรรีบกำจัดสิ่งที่จะไปกระตุ้นให้เป็นหนักขึ้นนั้นซะ

เพราะการเรียนรู้และรู้ทันเพื่อจัดการกับภาวะเหนื่อยเรื้อรังนี้ คือ
ที่พึ่งและหนทางเดียวที่จะช่วยให้คุณดีขึ้นได้







ที่มา : นิตยสาร ezyhealth ฉบับประจำเดือนกรกฎาคม 2548

ไตรโคลซาน ภัยมืดที่ต้องเฝ้าระวัง



ไตรโคลซาน (Triclosan) คือสารสังเคราะห์ ที่มีประสิทธิภาพต้านเชื้อจุลินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อแบคทีเรีย และยังสามารถต้านเชื้อราและไวรัสบางชนิดได้ดี ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกาว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัย มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลก

ไตรโคลซาน เป็นส่วนผสมสำคัญเพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์เกือบทุกชนิด ตั้งแต่ในโรงพยาบาล เช่น ผ้ากรอซทำความสะอาดคนไข้ก่อนการผ่าตัด ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดห้องคนป่วย สินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย สบู่อาบน้ำ สระผม ล้างหน้า ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ยาแก้เหงือกอักเสบ ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อ ของเล่นเด็ก ผ้า และผ้าพลาสติก เป็นสารกันบูดในอาหาร
นอกจากนี้ยังเป็นตัวยาสำคัญในผลิตภัณฑ์แก้สิวหลายยี่ห้อ (ความเข้มข้น 0.2-1.0%) อีกด้วยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ปริมาณที่นิยมใส่ในผลิตภัณฑ์เพื่อทำหน้าที่เป็นสารกันเสียในการต้านเชื้อ จุลินทรีย์คือ สูงสุดไม่เกิน 0.3% สำหรับเครื่องสำอาง และในประเภทอาหารคือ 5 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

ไตรโคลซาน : การปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม และปัญหาทางการแพทย์

ไตรโคลซาน ได้ถูกนำมาใช้เป็นเวลากว่า 35 ปี จำนวนสินค้าที่ใส่สารไตรโครซานทั้งของกินของใช้รวมถึงอุปกรณ์ที่ เกี่ยวข้องกับการแพทย์ในโรงพยาบาลมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากกระแสความกลัวการแพร่กระจายของเชื้อโรคในสิ่งแวดล้อมเป็นเหตุ ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้สังคมของโลกมนุษย์มีการผสมสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ ดังกล่าวลงในผลิตภัณฑ์เกือบทุกชนิดก็ว่าได้

ความนิยมสารไตรโคลซานมากกว่าสารต้านจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ เนื่องมาจากประสิทธิภาพการต้านเชื้อจุลินทรีย์อย่างได้ผล และสารชนิดนี้ยังมีคุณสมบัติที่ดีคือมีความคงตัวในอุณหภูมิที่สูงถึง 200 °C (ชนิดอื่นๆ ประสิทธิภาพการต้านเชื้อมักจะถูกทำลายหรือด้อยลงในอุณหภูมิสูงมากกว่า 50°C) ทำให้สะดวกต่อการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมทุกชนิด ปริมาณไตรโคลซานที่ใช้เพิ่มขึ้นมากมายในโลก ทำให้นักวิชาการสิ่งแวดล้อมเป็นห่วงว่าทั้งในอากาศ น้ำเสีย อาจมีการปนเปื้อนสารดังกล่าวตกค้างสะสมได้

ส่วนนักวิชาการทางการแพทย์เป็นห่วงว่า การที่เราใช้สารต้านเชื้อจุลินทรีย์ชนิดนี้มากเกินไป จะก่อให้เกิดปัญหาทางการแพทย์ กล่าวคือ เชื้อโรคมีการพัฒนาสายพันธุ์และดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้สำหรับรักษาโรคติด เชื้อรุนแรง และในอนาคตหากเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ มนุษย์คงต้องหายาปฏิชีวนะที่เข้มข้นและแรงขึ้นในการต่อสู้กับเชื้อโรคที่นับวันจะดุและดื้อยามากขึ้น

จากงานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ปี ค.ศ.2007 พบว่าไตรโครซานสามารถสลายตัวด้วยรังสีดวงอาทิตย์ทั้งในน้ำจืดและน้ำทะเล มีอายุสั้นเพียง 4-8 วันเท่านั้น ทำให้ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องการสะสมของสารดังกล่าวในสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ส่วนปัญหาทางการแพทย์ที่พบว่าหากยังมีการใช้สินค้าที่ผสมสารต้านเชื้อจุลินทรีย์มากมายเช่นในปัจจุบัน จะทำให้การรักษาโรคติดเชื้อยากขึ้น นักวิชาการจึงแนะนำว่าเราไม่จำเป็นต้องล้างมือล้างหน้าอาบน้ำด้วยผลิตภัณฑ์ ต้านเชื้อจุลินทรีย์โดยไม่มีเหตุจำเป็น รวมถึงสินค้าอุปโภค เช่น น้ำยาซักผ้า เครื่องใช้ในครัวเรือนทั้งหลาย หากช่วยกันรณรงค์การงดเว้นสารต้านเชื้อจุลชีพได้ น่าจะดีกว่า แต่หันมาให้ความสำคัญกับการรักษาสุขลักษณะที่ดีมากกว่า

ไตรโคลซาน : ผลทางคลินิกของการสะสมในร่างกายของผู้บริโภค

ผลจากการวิจัยทางคลินิกล่าสุด (2006, มกราคม 2007)ในหญิงที่ให้นมบุตรและเป็นผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ผสมไตรโคลซาน พบปริมาณสารดังกล่าวในกระแสเลือดและในน้ำนมแม่ที่ให้นมบุตร

ไม่ต้องสงสัยว่าไตรโคลซานสามารถถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางกระเพาะอาหาร และทางผิวหนังได้และต่อเนื่องไปยังกระแสเลือดและน้ำนมที่ให้บุตรได้ แต่ปริมาณที่พบในกระแสเลือดของผู้เป็นแม่จะสูงกว่าในน้ำนม นักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ได้ทำการวิจัยต่อเนื่องในสัตว์ทดลอง (หนู) เพื่อดูการสะสมและผลเสียที่อาจจะส่งต่อจากแม่สู่ลูกผ่านทางน้ำนมแม่ว่า จะส่งผลเสียสะสมถึง 2 ช่วงอายุคนหรือไม่ เนื่องจากปริมาณที่พบในน้ำนมมีน้อยมาก จึงไม่พบข้อบ่งชี้อย่างมีนัยสำคัญว่าจะทำให้ทารกที่ดื่มนมแม่มีความเสี่ยง ต่ออันตรายจากไตรโครซานถึง 2 ช่วงอายุคนได้ ซึ่งความหมายคือ ปลอดภัยต่อเด็กทารก อย่างไรก็ตามการวิจัยในเรื่องนี้จะยังเข้มข้นมากขึ้นเพื่อหาขอสรุปที่ชัดเจน ถึงความเสี่ยงที่จะใช้สารไตรโคลซานอย่างกว้างขวางเช่นในปัจจุบัน

ไตรโคลซาน : เป็นสารก่อมะเร็งหรือไม่

นักวิชาการที่ออกมารณรงค์ให้คณะกรรมการอาหารและยา สหรัฐอเมริกา พิจารณาถอดถอนหรือควบคุมการใช้ไตรโคลซานอย่างเร่งด่วน ให้เหตุผลว่า ไตรโคลซานจะถูกย่อยสลายกลายเป็นสารไดออกซิน (Dioxin) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง โรคตับอักเสบ เมื่อได้รับการสัมผัสบ่อยๆ ทำให้เด็กทารกคลอดผิดปกติ (ไม่สมประกอบ) อาจมีผลทำให้ฮอร์โมนเพศผิดปกติ รวมทั้งอาจทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอและบกพร่องได้

นอกจากนี้สารไตรโคลซานที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ยาสีฟัน หรือ ครีมอาบน้ำ ล้างมือ เมื่อไตรโคลซานผสมกับคลอรีนในน้ำประปา จะให้ก๊าซคลอโรฟอร์ม ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่รู้จักกันดีอีกด้วย นักวิจัยที่ทำการวิจัยเรื่องดังกล่าวมีมากมาย แต่ยังพอสรุปได้ว่าปริมาณที่พบในสิ่งแวดล้อม และในร่างกาย มีน้อยมาก จนไม่มีนัยสำคัญทางการแพทย์ที่จะก่อให้เกิดผลเสียตามที่เป็นห่วงกัน

ข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภค

ข้อมูลทั้งหมดผู้เขียนได้รวบรวมและสืบค้นจากบทความวิจัยทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือ ยังไม่พบข้อสรุปหรือการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดการใช้สารดังกล่าวจากสำนักงานคณะ กรรมการอาหารและยา ทั้งจากประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือ ไทย เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่มากเพียงพอที่จะสรุปว่า สารไตรโครซานเป็นอันตราย ต่อมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม คาดว่ายังคงมีการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อหาข้อสรุปให้สังคม




ที่มา : มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค

ท้องเสีย! จุลินทรีย์ดี-ร้ายไม่สมดุล


 
มีจุลินทรีย์ตัวดีมาแนะนำให้รู้จัก อย่าง บิฟิโดแบคทีเรีย อาศัยอยู่ในลำไส้ ช่วยป้องกันสารพิษดูดซึมผ่านเข้าสู่ร่างกาย สร้างกรดแลคติคและกรดไขมันห่วงโซ่สั้นที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวที่ทำให้คนเราเกิดอาการท้องเสีย เช่น E.Coli, Clostridium perfringens, Salmonella spp. และยังช่วยกระตุ้นการสร้างวิตามิน เพิ่มการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุเข้าสู่ร่างกาย

อีกตัวมีชื่อว่า แลคโตบาซิลไล คอยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ แย่งอาหารของจุลินทรีย์ตัวร้ายทำให้ไม่สามารถก่อโรคได้

แต่ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่า เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น จุลินทรีย์ตัวดีจะลดจำนวนน้อยลงกว่าตัวร้าย จึงทำให้ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเรื่องการขับถ่าย อุจจาระสีคล้ำและเหม็นมาก รวมทั้งภูมิต้านทานลดลง ทำให้ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ง่าย

เมื่อเป็นเช่นนั้น พรีไบโอติก หรือกลุ่มหนึ่งของอาหารฟังก์ชั่น มีหน้าที่มากกว่าอาหารที่ให้ความอิ่ม จึงเข้ามาเป็นตัวช่วยคงสภาพความสมดุลของจุลินทรีย์ เพราะมีคุณสมบัติป้องกันและรักษาโรค เนื่องจากพรีไบโอติกมีสารที่ร่างกายย่อยไม่หมด หรือลำไส้ส่วนบนไม่สามารถย่อยได้จึงถูกส่งต่อไปยังลำไส้ใหญ่เพื่อให้เป็นอาหารของจุลินทรีย์ตัวดี ไม่ให้ถูกลดจำนวนลง

พรีไบโอติกซึ่งกำลังได้รับความนิยม คือ อินนูลิน และโอลิโกฟรุกโตส พบมากในรากชิโครี อาร์ติโชก หัวหอม หัวหอมใหญ่ ต้นหอม กระเทียม ถั่วเหลือง หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ หรือกล้วย

ใครมือชาบ่อยๆ ต้องอ่าน!!!


อาการชา เป็นปัญหาให้เกิดความวิตกกังวล และไม่สบายใจกับผู้ที่ประสบ เกรงว่า อาการชาจะกลายเป็นอัมพาตอัมพฤกษ์ บางคนเครียดจนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ


ชามือ โดยส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาของระบบประสาทส่วนปลายถูกกดทับ ที่สามารถรักษาหายได้ และกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ มือและแขนของคนเรา มีระบบเส้นประสาทไปเลี้ยง ให้ความรู้สึก 3 เส้น คือ

- เส้นประสาทมีเดียม ให้ความรู้สึกด้านฝ่ามือของนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนางที่อยู่ติดกับนิ้วกลาง

- เส้นประสาทอัลนาร์ ให้ความรู้สึกมือด้านนิ้วก้อยและครึ่งหนึ่งของนิ้วนางที่ติดนิ้วก้อย

- เส้นประสาทเรเดียน ให้ความรู้สึกหลังมือของนิ้วหัวแม่มือ ครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง

เมื่อมีอาการชามือ ลองสังเกตให้แน่ชัดว่าชาตรงไหน จะได้ช่วยแพทย์ให้การวินิจฉัยโรคได้ง่ายขึ้น

ถ้าชาด้านฝ่ามือของนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง บางส่วนนิ้วนาง อาจจะเป็นนิ้วใดนิ้วหนึ่งหรือหลายๆ นิ้ว เรียกว่า "พังผืดรัดเส้นประสาทที่ข้อมือ" ซึ่งถ้าจะตรงต่อความจริงน่าจะเรียกว่า "กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ"

การตรวจเบื้องต้น

- เคาะบริเวณข้อมือ จะรู้สึกคล้ายไฟช็อตกระจายไปนิ้วมือ

- ทำคล้ายไหว้พระ แต่นำหลังมือแตะกัน ปลายนิ้วชี้ลงพื้น ประมาณ 60 วินาที จะมีอาการชามือ

สาเหตุของอาการชา

1. มีความผิดปกติของตัวเส้นประสาท เช่น เป็นเบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง

2. มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในอุโมงค์ข้อมือ เช่น ก้อนไขมัน ถุงน้ำ ก้อนเนื้องอก

3. การอักเสบของเยื่อบุข้อ เยื่อหุ้มเอ็นจากโรค เช่น เกาต์ รูมาตอยด์

4. การบวมของเอ็นที่อยู่ภายในอุโมงค์จากการตั้งครรภ์ ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง

5. เกิดการหนาตัวของเยื่อพังผืดข้อมือ

การรักษา แบ่งเป็น 2 กรณี

การรักษาแบบประคับประคอง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่มากนัก โดย

1. โดยการใส่อุปกรณ์พยุงข้อมืออยู่ในท่าทางที่เหมาะสม กระดกข้อมือขึ้นทางหลังมือเล็กน้อย

2. ปรับลักษณะการใช้งานของข้อมือเล็กน้อย

3. ปรับลักษณะการใช้งานของข้อมือให้เหมาะสม

4. รับประทานยาลดการอักเสบ ลดการบวมของเอ็นหรือเยื่อบุเอ็น

5. รับประทานยาวิตามินบี 6

6. ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าช่องอุโมงค์ จะบรรเทาอาการได้ประมาณ 4-6 เดือน

การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งเป็นการรักษาที่หายขาด ด้วยการผ่าตัดขยายอุโมงค์ โดยตัดเยื่อพังผืด แก้ต้นเหตุ กรณีมีก้อนเนื้องอก

ที่มา : โรงพยาบาลไทยนครินทร์

เจ็บอกอย่างไร? หัวใจผิดปกติ


 อวัยวะชิ้นสำคัญของร่างกาย อย่าง หัวใจ อยู่เหนือช่องท้อง ตรงกลางอกเยื้องไปด้านซ้าย มีปอดสองข้างขนาบอยู่ทั้งด้านซ้ายและขวา ภายในแบ่งเป็น 4 ห้อง มีลิ้นหัวใจคอยปิด-เปิดระหว่างห้องเพื่อรับและส่งเลือดจากหลอดเลือดหัวใจ
หัวใจยังเต้นเป็นจังหวะ โดยการเต้นทุกครั้งหมายถึง หัวใจกำลังส่งเลือดไปยังปอดเพื่อฟอกจากเลือดดำเป็นแดงแล้วส่งกลับไปที่หัวใจ ให้สูบฉีดออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

แล้วอาการเจ็บบริเวณช่วงอกอย่างไรที่แสดงว่าเกิดความผิดปกติขึ้นกับหัวใจ? นายแพทย์ชัยอนันต์ ชัยยามานนท์ อายุรแพทย์หัวใจเฉพาะทาง การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน ประจำศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ชี้ชัดอาการดังกล่าวว่า...

อาการเจ็บแน่นหน้าอกที่มีเปอร์เซ็นต์สูงว่าผู้นั้นป่วยด้วยโรคหัวใจ คือ เจ็บอกตรงกลาง ค่อนไปด้านซ้าย รู้สึกเจ็บแน่นลามไปยังคอ คาง ไหล่ รวมทั้งช่วงท้อง ที่สำคัญผู้นั้นจะไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ปวดได้อย่างชัดเจนด้วยการใช้นิ้วชี้จุดปวด

ผู้ที่มีอาการข้างต้นแล้วรีบเข้ารับการตรวจ ส่วนใหญ่แพทย์มักพบว่าผู้นั้นมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากไขมันพอกที่ผนังหลอดเลือด และพบมากในผู้สูงอายุที่เน้นบริโภคอาหารที่มีไขมัน ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมาตั้งแต่ยังหนุ่ม-สาว โดยอาการมักกำเริบเมื่อผู้นั้นรู้สึกโกรธ ทำงานหนักหรือเล่นกีฬาอย่างหนัก รวมถึงขณะที่กำลังขับถ่ายหนัก-เบ่งอุจจาระ

K-RAS ยีนชี้ชะตามะเร็งลำไส้ใหญ่



 
ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลามบางคน ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดได้ดี ขณะที่บางคนตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง คำตอบอยู่ที่ยีน K-RASรศ.นายแพทย์ นรินทร์ วรวุฒิ อาจารย์ประจำหน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่ทั่วโลกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 4 ในผู้ชาย และเป็นอันดับ 3 ในผู้หญิง ขณะเดียวกันในเอเชียมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น โดยในไทยพบผู้ป่วยชายสูงเป็นอันดับ 3 และผู้หญิงเป็นอันดับ 5

ที่ผ่านมา แนวทางการรักษาจะใช้รูปแบบการรักษาที่เหมือนกัน ขณะที่ในปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้ามากขึ้น และค้นพบว่า 35 - 45% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะมียีน K-RAS ที่ผิดปกติ

ยีน K-RAS ที่ผิดปกติจะยังส่งสัญญาณกระตุ้นการเติบโตของเซลล์อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะไม่มีปัจจัยกระตุ้นการเติบโตจากภายนอกเซลล์ก็ตาม ซึ่งทำให้ไม่สามารถควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ได้ ดังนั้นจึงเป็นการกระตุ้นเนื้อร้ายให้เติบโตขึ้น

นอกจากนี้ยังพบอีกว่าผู้ป่วยที่มียีน K-RAS ชนิดปกติ จะตอบสนองการรักษาที่ดีจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดบางกลุ่ม ขณะที่ผู้ป่วยที่มียีน K-RAS ชนิดผิดปกติ จะไม่ตอบสนองต่อการรักษาใดๆ ต่อยาเคมีบำบัดในกลุ่มดังกล่าว

ดังนั้น การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แบบเฉพาะบุคคลด้วยการตรวจชนิดของยีน K-RAS จึงเป็นการรักษาแนวใหม่ จึงอยากแนะนำให้ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้รับการตรวจชนิดยีน K-RAS ก่อนการรักษาด้วยยาในกลุ่มดังกล่าว เพื่อช่วยให้ข้อมูลแก่แพทย์ในการตัดสินใจรักษาได้อย่างถูกแนวทาง รวมถึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา ในการรักษาให้กับผู้ป่วยอีกด้วย

“โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่พบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในแถบเอเชีย โดยมีอัตราการเกิดสูงเป็นอันดับที่ 4 รองลงมาจากโรคมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งมดลูก ในปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ด้วยการตรวจชนิดยีน K-RAS ในประเทศไทย เริ่มมีบทบาทมากขึ้น และเป็นแนวทางการรักษาใหม่ที่ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคมในภาพรวม

เนื่องจากเป็นการยืนยันได้ว่าผู้ป่วยคนใดตอบสนองต่อยาที่รักษาหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจให้การรักษาที่ ถูกแนวทาง และมีประสิทธิผล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโอกาสในการรักษาที่มีแนวโน้มดีขึ้น ช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษามะเร็งได้” แพทย์กล่าวสรุปในที่สุด

หยุดภัยร้าย โรคกระดูกสันหลัง !!



 
พบได้บ่อยครั้งสำหรับอาการปวดหลัง ปวดไหล่รวมถึงอาการปวดคอที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ในอาการปวดเหล่านี้ที่ใครหลายคนอาจกำลังเผชิญ ลักษณะการปวดอย่างไรที่ก้าวสู่ความรุนแรงเป็นปัจจัยเสี่ยงนำสู่ โรคกระดูกสันหลัง ภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ที่ต้องพึงระวัง !!

นายแพทย์วีระพันธ์ ควรทรงธรรม ผู้อำนวยการศูนย์รักษาโรคกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ศัลยแพทย์ระบบประสาท ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ให้ความรู้กล่าวถึงการเกิดขึ้นของโรคกระดูกสันหลังว่า โรคกระดูกสันหลังที่มักพบบ่อยจะเป็นส่วนที่เคลื่อนไหวมาก อย่างเช่น ส่วนคอและเอว เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการเคลื่อนไหวมากก็ย่อมมีความเสื่อมเกิดขึ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อเวลาที่พูดถึงโรคกระดูกสันหลังก็มักจะพูดถึงเอวกับคอ

“กระดูกสันหลังตลอด แนวมีเส้นประสาทมีไขสันหลังอยู่ตรงกลางแล้วก็มีเส้นประสาทแตกออกจากไขสันหลังเป็นคู่ ๆ ซ้ายขวา เส้นที่แตกออกจาก บริเวณคอไปที่แขนทั้งสองข้าง ส่วนเอวจะไปที่ขาทั้งสองข้างเส้นประสาทและไขสันหลังพวกนี้อยู่ในโพรงกระดูกสันหลัง เพราะฉะนั้นในปัญหาก็คือบริเวณ รอบกระดูกสันหลังซึ่งเป็นกล้ามเนื้อ หากนั่งผิดท่า ยกของหนักเกินไปก็จะเกิดปัญหากับกล้ามเนื้อ ปวดหลังหรือต้นคอ ปวดสะบักได้ถ้าหยุดพักการใช้กล้ามเนื้อ รับประทานยา ประคบร้อนรักษาอาการประมาณ 2 สัปดาห์ก็จะหายไปได้”

แต่ในอาการรุนแรงจะเริ่มเป็นที่ตัวกระดูกสันหลัง คือส่วนข้อต่อหรือส่วนหมอนรองกระดูกที่เชื่อมระหว่างกระดูก หากยกสิ่งของหนักหมอนรองกระดูกก็จะสึกลงซึ่งบริเวณนั้นจะมีเส้นประสาทอยู่มาก เมื่อโดนกดทับไปยังเส้นไหนก็จะปวดไปตรงนั้น

อย่างที่มักพูดกันว่าปวดหลังร้าวลงขาหรือปวดคอร้าวลงแขนและเมื่อไหร่ที่ร้าวที่ขาหรือแขนก็มักจะเกี่ยวกับเส้นประสาท ไม่ใช่กล้ามเนื้อธรรมดา ซึ่งลักษณะอาการปวดเช่นนี้แนะนำพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เพราะหากเป็นโรคกระดูกสันหลังจะมีความรุนแรงต่างกันไป ซึ่งโรคที่พบบ่อยคือ หมอนรองกระดูกปลิ้นแล้วก็ฉีกกดทับเส้นประสาท อีกอย่างหนึ่งคือ กระดูกสันหลังเสื่อม

“ในความเสื่อมจากที่กล่าวมีได้หลายรูปแบบ หากพูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าเมื่อไหร่เสื่อมก็จะมีอาการปวดตามมาและเวลาที่กระดูกเสื่อมก็จะมีหินปูนเกาะเส้นเอ็นยึดระหว่างกระดูกจะหนาตัวขึ้นเมื่อกดโดนเส้นประสาทก็จะมีอาการร้าวลงขาหรือแขน พวกนี้จะค่อยเป็นค่อยไปพบในคนอายุมากขึ้น ส่วนหมอนรองกระดูกปลิ้นฉีกพบได้ทุกเพศทุกวัย ความรุนแรงของโรคก็มักจะเกิดเร็วและรุนแรงกว่าซึ่งทั้งหมดนี้เรียกรวมกันคือ โรคกระดูกสันหลัง”

จากความเจ็บป่วยในโรคดังกล่าวที่ผ่านมาศูนย์รักษาโรคกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้นำ การรักษาผ่าตัดส่องกล้อง รักษาอาการปวดหลังเนื่องจากภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทส่วนหลังและคอด้วย เทคนิค Full-endoscopic Surgery พร้อมฝึกอบรมให้กับศัลยแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของไทยและต่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย

“การรักษาส่วนใหญ่แบ่งเป็นรักษาโดยไม่ผ่าตัดและผ่าตัด ในกรณีไม่ผ่าตัดจะทานยา กายภาพบำบัด ฯลฯ ซึ่งจากสถิติของโรคกระดูกสันหลังส่วนใหญ่รักษาด้วยวิธีดังกล่าว ส่วนที่เหลือประมาณ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ที่ไม่หายเรื้อรังรุนแรงรบกวนต่อการดำเนินชีวิตก็อาศัยการผ่าตัดรักษา”

โรคที่สามารถรักษาผ่าตัดส่องกล้องด้วยเทคนิคดังกล่าว กล้องขนาด 8 มิลลิเมตร สามารถใช้รักษา โรคหมอนรองกระดูกเอวทุกชนิด เมื่อมีความชำนาญใช้ร่วมกับเครื่องกรอกระดูกใน โรคกระดูกงอกทับเส้นประสาทหรือโพรงกระดูกสันหลังเอวตีบแคบ ได้ ส่วนอีกชนิดเป็นกล้องขนาด 6 มิลลิเมตรใช้รักษา โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท (ปวดคอไปถึงแขน) เป็นอีกก้าวของการรักษาหลังจากได้ผลดีในการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเอวทุกชนิดและโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ช่วยให้ผู้ป่วยบาดเจ็บน้อยและฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

“โรคเหล่านี้พบบ่อยไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่ยังขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนเองไม่ว่าจะเป็นการยกของหนักเกินน้ำหนัก ใส่ส้นสูงมากเกินไป จนต้องแอ่นหลังและพอแอ่นหลังน้ำหนักแทนที่จะลงตรงกลางก็ไปลงข้างหลังคือข้อต่อ พอรับน้ำหนักเยอะขึ้นกระดูก ก็เสื่อม ฯลฯ โรคดังกล่าวจะค่อยเป็นค่อยไป การผ่าตัดส่อง กล้องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเครื่องมือนี้ ร่วมมือกับแพทย์เยอรมัน แต่อย่างไรแล้วผู้ป่วย ที่กระดูกเลื่อน กระดูก เคลื่อนดามเหล็ก การรักษาผ่านกล้องยังคงเป็นข้อจำกัด”

จากที่กล่าว การรักษามีทั้งผ่าตัดและไม่ผ่าตัด แต่อย่างไรก็ตามการรู้หลักปฏิบัติดูแลตนเอง สามารถช่วยหลีกไกลจากโรคเหล่านี้ได้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ฝากคำแนะนำอีกว่า สิ่งที่ไม่ควรละเลยปฏิบัติคือควรให้กระดูกสันหลังรับแรงน้อย อย่างการก้มเก็บของต้องเพิ่มความระมัดระวัง ไม่ยกสิ่งของหนัก เกินไป อีกทั้งควรทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงเพราะอย่างไรแล้วไม่สามารถที่จะทำให้หมอนรองกระดูกใหญ่ขึ้นได้

แต่สามารถทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงได้ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ซึ่งกล้ามเนื้อที่ควรเพิ่มความแข็งแรง คือ กล้ามเนื้อบริเวณหลังและกล้ามเนื้อท้อง เพราะจะช่วย อุ้มกระดูกสันหลังซึ่งถ้าทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง น้ำหนักที่ลงมาที่กล้ามเนื้อจะช่วยรับไว้เหลือที่ผ่านลงสู่กระดูกสันหลังก็จะน้อยลง

ขณะที่การบริโภคอาหารไม่ควรมองข้ามเช่นเดียวกันควรเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณค่า ทางโภชนาการ ทานอาหารที่มีแคลเซียมซึ่งก็จะช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรงชะลอความเสื่อมให้กับกระดูก ไกลห่างจากความเจ็บ

เรื่องนอน ๆ

เรื่องการนอนนี่สำคัญไม่น้อยต่อสุขภาพของคนเราเอาง่าย ๆ หากคุณนอนไม่ถูกวิธี ตื่นขึ้นมาคอเคล็ดไปทำงานไม่ได้ก็มีอยู่บ่อย

เขาว่า หากจะนอนให้ถูกท่าทางนั้นมีอยู่ 3 ท่า

ท่านอนตะแคงขวา เป็นท่านอนที่ดีที่สุด เพราะหัวใจเต้นสะดวกและอาหารจากกระเพาะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทำให้ไม่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานเกินไป และเป็นท่านอนที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดี

ส่วน ท่านอนตะแคงซ้าย เป็นท่านอนที่ช่วยลดอาการปวดหลังได้เช่นกัน แต่ควรกอดหมอนข้างและพาดขาไว้ ข้อเสียคือหัวใจซึ่งอยู่ด้านซ้ายทำงานลำบากขึ้น และอาหารในกระเพาะที่ยังย่อยไม่หมดตั้งแต่ก่อนเข้านอนยังคั่งค้างอยู่ ทำให้เกิดจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ และอาจรู้สึกชาขาซ้ายหากนอนทับเป็นเวลานาน หรือถ้าหนุนหมอนต่ำเกินไปจะทำให้ปวดต้นคอได้

แต่ท่านอนตะแคงทั้งตะแคงซ้ายและขวาช่วยลดเสียงกรนได้ ในผู้ที่กรนจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ลิ้นไก่ยาว โคนลิ้นหนาต่อมทอนซิลโตมากหรือโพรงจมูกอุดตัน

ส่วนนอนหงายถือว่าเป็นท่านอนมาตรฐาน ควรจะใช้หมอนต่ำ ต้นคอจะอยู่ในแนวเดียวกันกับ ลำตัว ไม่ปวดคอ แต่ถ้าหนุนหมอนสักสองสามใบ คอจะก้มโน้มมาข้างหน้า ทำให้เกิดอาการปวดคอได้

และที่มีส่วนสำคัญกับการนอนไม่น้อยคือ ที่นอน

เพราะหากที่นอนมีความนุ่มหรืออ่อนตัวมากเกินไปจะทำให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวที่ผิดปกติ นั่นคือทำให้คุณปวดหลังได้

ตอนนี้ ดร.โรเบิร์ต เอ็กซ์แมน ผู้อำนวยการของสถาบันวิจัย Sleep to Live ซึ่ง รับผิดชอบดูแลการศึกษาวิจัยผลกระทบที่สภาพแวดล้อมในการนอนมีต่อคุณภาพของการนอน ได้คิดค้นเทคโนโลยีเกี่ยวกับที่นอนขึ้นมาใหม่ ทำให้ Sleep to Live แต่ละหลังผลิตขึ้นโดยใช้ระบบวินิจฉัยสรีระร่างกาย เพื่อให้ได้ที่นอนคุณภาพระดับพรีเมี่ยมสำหรับผู้ใช้แต่ละคนโดยเฉพาะ

โดยเทคโนโลยีนี้จะนำข้อมูลจากการสอบถามและการตรวจวัดร่างกายของคนที่มานอนบนที่นอนทดสอบ แล้วมาประมวลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อออกแบบ ผิวสัมผัสของที่นอนและรูปแบบของหมอน ที่เหมาะสมกับสรีระร่างกายของแต่ละคน

โครงสร้างของที่นอน Sleep to Live แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ Cushion Cloud Construction ซึ่งทำหน้าที่รองรับระนาบของกระดูกสันหลังอย่างเหมาะสม ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย และ Full Body Surround ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการนอนให้ครอบคลุมทั่วพื้นผิวของที่นอน

นอกจากนี้ Sleep to Live ยังมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า "My Side Technology" ซึ่งเกิดขึ้นจากแนวความคิดที่ว่า สรีระของร่างกายที่แตกต่างย่อมต้องการโครงสร้างของที่นอนที่แตกต่างกัน

ดังนั้นที่นอนของ Sleep to Live จึงมีความพิเศษตรงที่สามารถออกแบบมาให้เป็นที่นอนที่เหมาะสมสำหรับคน 2 คน บนที่นอนหลังเดียวกัน

โดยแบ่งพื้นที่ของเตียงเป็น 2 ฝั่ง และออกแบบพื้นผิวที่นอนตามความต้องการและสรีระของผู้ใช้แต่ละคน จึงช่วยให้ผู้ใช้นอนหลับสบายอย่างมีคุณภาพ ทั้งยังช่วยลดการรบกวนที่เกิดจากการพลิกตัวในระหว่างนอนของผู้ที่นอนอยู่อีกด้าน

นี่เป็นอีกความก้าวหน้าหนึ่งของเทคโนโลยีที่ช่วยให้คุณนอน