27 ก.ค. 2553

ใครมือชาบ่อยๆ ต้องอ่าน!!!


อาการชา เป็นปัญหาให้เกิดความวิตกกังวล และไม่สบายใจกับผู้ที่ประสบ เกรงว่า อาการชาจะกลายเป็นอัมพาตอัมพฤกษ์ บางคนเครียดจนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ


ชามือ โดยส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาของระบบประสาทส่วนปลายถูกกดทับ ที่สามารถรักษาหายได้ และกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ มือและแขนของคนเรา มีระบบเส้นประสาทไปเลี้ยง ให้ความรู้สึก 3 เส้น คือ

- เส้นประสาทมีเดียม ให้ความรู้สึกด้านฝ่ามือของนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนางที่อยู่ติดกับนิ้วกลาง

- เส้นประสาทอัลนาร์ ให้ความรู้สึกมือด้านนิ้วก้อยและครึ่งหนึ่งของนิ้วนางที่ติดนิ้วก้อย

- เส้นประสาทเรเดียน ให้ความรู้สึกหลังมือของนิ้วหัวแม่มือ ครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง

เมื่อมีอาการชามือ ลองสังเกตให้แน่ชัดว่าชาตรงไหน จะได้ช่วยแพทย์ให้การวินิจฉัยโรคได้ง่ายขึ้น

ถ้าชาด้านฝ่ามือของนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง บางส่วนนิ้วนาง อาจจะเป็นนิ้วใดนิ้วหนึ่งหรือหลายๆ นิ้ว เรียกว่า "พังผืดรัดเส้นประสาทที่ข้อมือ" ซึ่งถ้าจะตรงต่อความจริงน่าจะเรียกว่า "กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ"

การตรวจเบื้องต้น

- เคาะบริเวณข้อมือ จะรู้สึกคล้ายไฟช็อตกระจายไปนิ้วมือ

- ทำคล้ายไหว้พระ แต่นำหลังมือแตะกัน ปลายนิ้วชี้ลงพื้น ประมาณ 60 วินาที จะมีอาการชามือ

สาเหตุของอาการชา

1. มีความผิดปกติของตัวเส้นประสาท เช่น เป็นเบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง

2. มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในอุโมงค์ข้อมือ เช่น ก้อนไขมัน ถุงน้ำ ก้อนเนื้องอก

3. การอักเสบของเยื่อบุข้อ เยื่อหุ้มเอ็นจากโรค เช่น เกาต์ รูมาตอยด์

4. การบวมของเอ็นที่อยู่ภายในอุโมงค์จากการตั้งครรภ์ ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง

5. เกิดการหนาตัวของเยื่อพังผืดข้อมือ

การรักษา แบ่งเป็น 2 กรณี

การรักษาแบบประคับประคอง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่มากนัก โดย

1. โดยการใส่อุปกรณ์พยุงข้อมืออยู่ในท่าทางที่เหมาะสม กระดกข้อมือขึ้นทางหลังมือเล็กน้อย

2. ปรับลักษณะการใช้งานของข้อมือเล็กน้อย

3. ปรับลักษณะการใช้งานของข้อมือให้เหมาะสม

4. รับประทานยาลดการอักเสบ ลดการบวมของเอ็นหรือเยื่อบุเอ็น

5. รับประทานยาวิตามินบี 6

6. ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าช่องอุโมงค์ จะบรรเทาอาการได้ประมาณ 4-6 เดือน

การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งเป็นการรักษาที่หายขาด ด้วยการผ่าตัดขยายอุโมงค์ โดยตัดเยื่อพังผืด แก้ต้นเหตุ กรณีมีก้อนเนื้องอก

ที่มา : โรงพยาบาลไทยนครินทร์

ไม่มีความคิดเห็น: