31 ม.ค. 2551

ประกันสังคม เจอกับตัวครับ

เนื่องจากเคยเป็นฝ่ายบุคคลในโรงงาน พอจะมีความรู้เรื่องนี้อยู่บ้าง ประกันสังคมเขามีไว้รองรับปัจจัยพื้นฐานครับ และการรักษาพยาบาลก็เป็นหนึ่งในนั้น หากอยากสบายมากนักก็แนะนำให้ซื้อประกันสุขภาพเอาครับ เพราะประกันสังคมหักในส่วนของการพยาบาลเพียง 0.88% ของเงินเดือนเท่านั้นแหละ ผมจึงขอสรุปว่าทำอะไรควรใส่ใจหาข้อมูลจึงจะดี

ผมไม่ได้ทำงานที่ประกันสังคม และตอนนี้ก็ไม่ได้เป็นผู้ที่เสียเงินเข้ากองทุนประกันสังคมแล้ว แต่เนื่องจากเคยทำงานฝ่ายบุคคล จึงขอสาธยายให้รู้ถึงประโยชน์ของประกันสังคมบ้าง ข้อมูลเหล่านี้หาได้จาก http://www.sso.go.th ครับ

ประกันสังคมครอบคลุม 7 อย่าง คือ
1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์
กรณีเจ็บป่วยทั่วไป
กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน
กรณีประสบอันตราย
ค่าพาหนะกรณีย้ายสถานพยาบาล
กรณีขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้
กรณีทันตกรรม
กรณีการบำบัดทดแทนไต
การปลูกถ่ายไขกระดูก
โรคและบริการที่ไม่มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์
การบริการที่ท่านจะได้รับจากสถานพยาบาล
ข้อสังเกต

2. กรณีคลอดบุตร
หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์
หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน
ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

3. กรณีทุพพลภาพ
หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์
หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน
ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

4. กรณีเสียชีวิต
หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์
หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน
ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

5. กรณีสงเคราะห์บุตร
หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์
หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน
ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

6. กรณีชราภาพ
เงื่อนไขและประโยชน์ทดแทน
หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน
ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน
วิธีการคำนวณประโยชน์ทดแทน

7. กรณีว่างงาน
หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์
หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน
ขั้นตอนและวิธีการขอรับประโยชน์ทดแทน
แผนผังขั้นตอนการดำเนินงาน
หมายเหตุ :ต้องขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน

การหักเงินสมทบ ร้อยละ 5 ของค่าจ้าง โดยค่าจ้างสูงสุดที่เอาคำนวณจ่ายเงินสมทบคือไม่เกิน 15,000 (เข้าใจว่ามาจาก 3 ส่วนนายจ้าง,ผู้ประกันตน และรัฐบาล) แบ่งเป็น
- ชราภาพและสงเคราะห์บุตร 3.00 %
- กรณีว่างงาน 0.50 %
- เพื่อคุ้มครองกรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และ ตาย 1.50 % แบ่งย่อยเป็น

1. กรณีเจ็บป่วย เรียกเก็บ 0.88
2. กรณีคลอดบุตร เรียกเก็บ 0.12
3. กรณีทุพพลภาพ เรียกเก็บ 0.44
4. กรณีตาย เรียกเก็บ 0.06

ทั้งนี้ เงินสมทบกรณีชราภาพและสงเคราะห์บุตร ร้อยละ 3 นั้น ประกันสังคมจะคืนให้ทั้งหมด + เงินสมทบในส่วนของนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทนที่จะได้จากกองทุน ซึ่งเงินที่คุณได้กลับนี้มากกว่าที่คุณส่งมาในแต่ละเดือนเสียอีก เพียงแต่มันเป็นเงินสะสม เมื่อถึงเวลาที่กำหนดจึงจะได้เท่านั้นเอง ซึ่งจะได้เป็นบำเหน็จหรือบำนาญก็แล้วแต่จำนวนเงินสมทบที่คุณสะสมไว้ กรณีสงเคราะห์บุตร ที่จ่ายให้ผู้ประกันตนปัจจุบันเดือนละ 350 บาท/บุตร 1 คน คราวละไม่เกิน 2 คนกัน คุณลองดูในส่วนเงินสมทบสิครับ อัตราเงินสมทบของกรณีนี้คือ 3 % แต่สปส.ก็เอามาจ่ายคืนให้คุณหมดในกรณีชราภาพ ดังนั้นเงินประโยชน์จากสงเคราะห์บุตร เหมือนคุณได้ฟรีโดยไม่ต้องส่งสมทบกรณีนี้เลย

ส่วนเงินสมทบกรณีว่างงานก็เรียกเก็บเพียง 0.5 เท่านั้น ในขณะที่คุณมีสิทธิได้ถึง 90 หรือ 180 วันใน 1 ปีแล้วแต่กรณี
อ้างอิงจาก http://www.sso.go.th/webboard.php?cat_id=60&mod=view&qid=1146
หากอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวเองก็เข้าไปลงทะเบียนที่ http://www.sso.go.th แล้วตรวจสอบได้เลยครับ ตัวผมเองทำงานภาคเอกชนอยู่แค่ปีสองปี หลังจากนั้นก็มาทำงานภาครัฐวิสาหกิจ แต่เงินที่สมทบไปก็ยังตรวจสอบได้ครับ นี่ขนาดตอนนั้นเงินเดือนไม่กี่บาท คือจ่ายไม่ถึง 750 แต่ได้เงินเก็บมาเกือบหมื่นสาม ดอกเบี้ย ไม่ได้ต่างจากกองทุนรวมเท่าไหร่เลย (แน่นอนว่าไม่ต้องเสียภาษีเหมือนฝากธนาคาร) แต่เบิกได้ตอนอายุ 55 หรือ 60 ไม่แน่ใจ หากตายไปก็ได้ลูกได้หลานอย่าไปคิดมาก (ดูจากใน http://www.sso.go.th/ เอาเอง)

สุดท้าย คือ เป็นสิ่งที่ดีที่มีกองทุนนี้ขึ้นมาครับ แต่ส่วนของผู้เสียเงินต้องเข้าไปมีสิทธิ์มีเสียงในการกำกับดูแลให้มากกว่านี้ ระบบของเราอายุยังน้อยยังต้องพัฒนาอีกแยะ ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ หรอกครับท่านทั้งหลาย

ไม่มีความคิดเห็น: