10 พ.ย. 2550

ความรู้เกี่ยวกับฝัน

คนเรานั้นเมื่อหลับนอนอาจจะมีนิมิต (ฝัน) มาปรากฏในฝันไปในเรื่องต่างๆ อาจจะมี ทั้งให้คุณและเกิดโทษจริงบ้างไม่จริงบ้าง อาจจะมีทั้งให้คุณและเกิดโทษจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง นิมิตบอกโชคลาภบ้าง บอกลางร้ายให้รู้ล่วงหน้าก็มี
ต้นเหตุของความฝัน (เพราะเหตุใดคนเราถึงฝัน) 4 ประการ

1. บุรพนิมิต ความฝันเกิดจากเรื่องราวในอดีตมาปรากฏให้คนนั้นฝันไป มักเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิด ขึ้นจริงมาปรากฏบอกลางหรือโชคลาภ

2. จิตนิวรณ์ ความฝันเกิดเพราะมีอารมณ์จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความฝันอย่างนี้เป็นเพราะ อารมณ์จิตใจของผู้ฝันได้ผูกพันกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่อย่างมากตลอดเวลา เมื่อ หลับไปก็เกิดความฝันในสิ่งนั้น ในเรื่องนั้น ที่ผู้ฝันฝักใฝ่อยู่ หรือได้พบเห็น แล้วจดจำโดยไม่มีวันลืม

3. เทพสังหรณ์ ความฝันเกิด ขึ้นเพราะเทวดาบันดาล ความฝันเช่นนี้เป็นเพราะเทวดาผู้ปกปักรักษา คุ้มครองธรรมะได้ดลบันดาลให้ผู้ฝันเกิดความฝันไป เพื่อสำแดงแจ้งเหตุการณ์ล่วง หน้า โดยเฉพาะเรื่องมงคล แต่ถ้าเป็นฝันร้ายเรื่องร้ายก็เป็นเหมือนการตักเตือน ผู้ฝันให้ระวังภัยและป้องกัน

4. ธาตุโขภะ ความฝันเกิดเพราะกินมาก นอนมาก จนท้องไส้อืด ท้องขึ้นท้องเฟ้อ ธาตุไม่ย่อย เป็น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เวลานอนหลับไม่สนิทจึงฝันไปไร้สาระไม่มีมูลความจริง หรือให้ ประโยชน์แต่อย่างใด

พระนันทาจารย์ ปราชญ์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนา ผู้แต่งคัมภีร์สารัตถะสังคหะ และ เป็นผู้ยืนยันว่า พระอรหันต์ไม่ฝันด้วยเหตุผลดังว่านั้น ได้ระบุมูลเหตุของความ ฝันไว้ เป็นข้อคิดอยู่ 4 ประการ คือ

1. ความฝัน เกิดจากธาตุกำเริบ กล่าวคือร่างกายไม่ปกติครั้นหลับลงจึงฝันไป ในรูปต่างๆ

2. ความฝันเกิดจากดวงจิตที่ฝังพะวง หรือพัวพันอยู่กับสิ่งหนึ่งก่อนหน้าจะ หลับ จึงเก็บเอาสิ่งหนึ่งก่อนหน้าจะหลับ จึงเก็บเอาสิ่งนั้นมาฝัน

3. เกิดจากอิทธิฤทธิ์ของเทวดา เพราะเทวดาต้องการให้โทษหรือให้คุณ

4. ฝันโดยเป็นบุรุพนิมิต คือบอกให้รู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายอย่าง หนึ่งอย่างใดขึ้น

คัมภีร์อธิบายเรื่องฝันของพระนันทาจารย์เล่มนี้ ครั้งหนึ่งได้เคยใช้เป็นหลัก สูตร ของตำราทางพระพุทธศาสนาแต่ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงยกเลิกและใช้เรื่องอื่นแทน

อย่างไรก็ตาม ความฝันก็เป็นเรื่องที่บรรดานักปราชญ์หลายชาติได้ให้ข้อคิดเห็นไว้ ต่างๆ นาๆ และไม่ถึงกับจะลงความเห็นว่า ความฝันเป็นเรื่องไร้สาระไปเสียทีเดียว นัก เพราะนักปราชญ์บางคนก็ถึงกับลงทุนค้นคว้า ถึงสมุฏฐาน หรือที่มาของความฝัน กันอย่างเคร่งครัด โดยถือเอาว่า ความฝันเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งของคนเรา ที่จะ จ้องศึกษาไว้ จนถึงกับทำเป็นตำรา หรือวิชาความฝันออกมาด้วยกันหลายเล่ม เป็นตำรา ที่เขียนขึ้นโดยนักปราชญ์ หรือนักจิตวิทยาหลายชนิด และดูเหมือนว่าวิชาเรื่อง ความฝันนี้ จะเป็นตำราที่เก่าแก่กว่าวิชาอื่นๆ ทั้งหลายในโลกก็ว่าได้

นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งกล่าวว่า “วิชาความฝันนั้น เป็น วิชาเก่าเท่ากับตัวโลกเอง” คำกล่าวเช่นนี้ ไม่ผิดนัก เพราะนักปราชญ์หลายคนยืน ยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ความฝันเป็นสิ่งที่มนุษย์รู้จัก และเริ่มสนใจมาตั้งแต่ โบราณกาล และสืบทอดความสนใจในการค้นคว้า มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ซึ่งแทบจะ กล่าวได้ว่า ไม่มีวิชาใด ที่จะมีผู้ค้นคว้าหาความรู้กันมาก เท่ากับวิชาความฝัน นี้

เพราะตามบันทึกของ ศาสตร์จารย์ซิกมันต์ ฟรอยด์ นักปราชญ์ชาวออสเตรียนผู้มีชื่อ เสียง ซึ่งเป็นทั้งนักจิตวิทยา และแพทย ์ได้ใช้เวลาในการค้นคว้าหาความจริงใน เรื่องความฝันนี้ โดยใช้การรวบรวมเรื่องควมฝันนี้เรื่องเดียวว่า มีหนังสือวิชา ความฝันนี้ถึง 700 กว่าเล่ม เป็นภาษาต่างๆ ซึ่งมีภาษาเยอรมัน,ฝรั่งเศส, อังกฤษ, อิตาเลียน,สเปน,ลาติน,รัสเซีย, และฯลฯ และดูเหมือนว่า เยอรมันจะมีหนังสือประเภท นี้ออกมามากที่สุด รองลงไปก็คือ ฝรั่งเศส

ศาสตราจารย์ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ยอมรับว่า ความฝันเป็นศาสตร์อันลี้ลับอย่างหนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์เรา ที่สามารถจะบอกเหตุการณ์ทั้งอดีต และอนาคตได้ไก ล้เคียงที่สุด ซึ่งแม้ว่าจะมีบุคคลอีกหลายๆ คน ที่ยังไม่ยอมรับ และเชื่อถือใน เรื่องชนิดนี้ก็ตาม แต่บุคคลเหล่านี้ก็ไม่อาจสลัดความรู้สึกนึกคิด ในทางผูกพัน กับเรื่องราวต่างๆ ที่ตนได้ฝันขึ้นทั้งดี และร้ายไปเสียทีเดียวได้นัก เพราะความ ฝันบางเรื่อง สามารถจะเป็นเหตุให้ผู้ฝันบางคนได้รู้ สิ่งที่เขาไม่เคยรู้มาก่อน เลย และรู้ถูกต้องตามความเป็นจริงเสียด้วย

ในทางไทยก็ยอมรับว่า ความฝันซึ่งเป็นเครื่องบอกเหตุการณ์ล่วงหน้าเรียกว่า “บุรพ นิมิต” นั้นมีอยู่จริงเช่น อย่างในคัมภีร์ หรือตำรา ทางศาสนาที่อ้างถึง “พระมหา สุบินของพระพุทธเจ้า” และอย่างที่ไทยเราในสมัยยุคประวัติศาสตร์โบราณเกือบทุก สมัย ก็ยังต้องมีโหรหลวงคอยทำหน้าที่ ถวายคำทำนายพระสุบิน ของพระมหากษัตริย์ อยู่ด้วยทุกครั้งเสมอไป

ไม่มีความคิดเห็น: