ก่อนอื่น…คุณรู้แล้วหรือยัง… ว่าตัวคุณมีเลือดกรุ๊ปอะไร?…
สำคัญมากนะ… เพราะถ้าวันหนึ่ง ...คุณเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดฝัน ...ถ้าคุณเสียเลือดมาก แต่ยังพอมีสติอยู่ ....เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตรงนั้น.... จะต้องถามคุณอย่างแน่นอน… ว่า.....เลือดของคุณ ...กรุ๊ปอะไร?
เจ้าหน้าที่...จะได้นำเลือดที่สามารถเข้ากับคุณได้ ...มาให้คุณ ...เพื่อเป็นการทดแทน....อย่างเพียงพอและรวดเร็ว...ในการที่จะช่วยชีวิตคุณ ...(แทนที่ในปริมาณที่คุณเสียไป) ----แต่หากคุณไม่รู้กรุ๊ปเลือดของตัวเอง.... เจ้าหน้าที่ก็ต้องนำเลือดคุณไปตรวจก่อน.... คุณจึงต้องรอเวลา....ที่จะได้รับเลือดเข้าสู่ร่างกาย..... แต่ ณ ช่วงเวลานั้น .....ร่างกายคุณ…อาจไม่รออะไรแล้วก็ได้…
***การรู้หมู่เลือด***
1. ระบบ ABO (A, B, O หรือ AB)
2. ระบบ Rh (D+, Rh+ หรือ D- และ Rh-)
เป็นประโยชน์ และเพิ่มความปลอดภัยแก่ตนเอง เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เลือด ...(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นเลือดชนิดที่หาได้ยากในคนไทย เช่น ผู้ที่เป็น Rh ลบ ซึ่งในคนไทยพบเพียง 0.3 เท่านั้น)
***การปั่นแยกเลือด***
เลือดที่ได้รับบริจาค 1 ถุง (300-450 มล.) สามารถนำไปปั่นแยก ...ด้วยเครื่องปั่นชนิดพิเศษ ...ซึ่งจะได้ส่วนประกอบต่าง ๆ ตามต้องการ 2-4 ชนิด ได้แก่
- เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Packed Red Cells)
- เลือดที่มีเม็ดเลือดขาวน้อย (Leukocyte Poor Blood)
- เกร็ดเลือดเข้มข้น (Platelet Concentrate)
- พลาสมา-สดแแช่แข็ง (Fresh Frozen Plasma)
- ไครโอปริซิปิเตท (Cryoprecipitate)
- พลาสมา (Plasma) – ส่วนน้ำที่เหลือ...จากการแยกเม็ดเลือดแดงเข้มข้น... ออกจากเลือด ....มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ....โปรตืนและน้ำ...
ดังนั้น... การปั่นแยกเลือด 1 ถุง ....จึงเป็นการใช้เลือดอย่างคุ้มค่า ....เพื่อให้ผู้ป่วยแต่ละโรค ที่มีความต้องการไม่เหมือนกัน.... (คุณสามารถช่วยชีวิต/ยืดชีวิตคน ได้อีกหลายคน) ......อีกทั้งยังช่วยลดปัญหา...การขาดแคลนเลือด .....ทั้งยังทำให้ผู้ป่วย.....ได้เฉพาะส่วนที่ตนเองต้องการเท่านั้น ....เพราะถ้าได้ส่วนอื่น ....ก็จะไม่เกิดประโยชน์อันใด
การให้เลือดและส่วนประกอบชนิดต่าง ๆ ของเลือด แก่ผู้ป่วย
*เลือด*
ใช้สำหรับผู้ป่วยที่เสียเลือดมาก จนเกิดภาวะช็อคและอาจเสียชีวิตได้ มีสาเหตุมาจาก
-การผ่าตัดใหญ่ อุบัติเหตุต่าง ๆ บนท้องถนน หรือ ในโรงงานอุตสาหกรรม
-โดนยิง โดนแทงด้วยของมีคม การตกเลือด การแท้ง
-โรคตับแข็ง มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร โรคไข้เลือดออก โรคไตวายเรื้อรัง ฯลฯ
*เม็ดเลือดแดงเข้มข้น*
ผู้ป่วยมีการเสียเลือดอย่างเรื้อรัง และร่างกายสร้างไม่ได้
-โรคโลหิตจาง (Aplastic Anemia), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia), โรคธาลัสซีเมีย
-โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคมะเร็ง
-เลือดออกในกระเพาะอาหาร / ลำไส้ ฯลฯ
*เกร็ดเลือดเข้มข้น*
การที่จำนวนเกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติ ทำให้เกิดภาวะเลือดออกไม่หยุดที่อวัยวะต่าง ๆ ได้แก่
-โรคโลหิตจาง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
-โรคไข้เลือดออกชนิดรุนแรง
(อาเจียนและถ่ายเป็นเลือด –ถ้าได้รับเกร็ดเลือดทดแทนไม่ทัน ...อาจเสียชีวิตได้)
-การผ่าตัดหัวใจ และ ผู้ป่วยที่เกร็ดเลือดไม่สามารถทำหน้าที่ได้ อาจเป็นโดยกำเนิด ฯลฯ
*พลาสมา-สดแช่แข็ง*
-โรคฮีโมฟีเลียทุกชนิด, โรคไข้เลือดออก, โรคตับแข็ง
-มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร, การผ่าตัดหัวใจ / ตับ ฯลฯ
*ไครโอปริซิปิเตท*
-โรคฮีโมฟีเลีย เอ, การตกเลือดภายหลังคลอด, การผ่าตัดหัวใจ
*พลาสมา*
สำหรับผู้ป่วยบางโรค ที่มีการสูญเสียน้ำอย่างมากจนเกิดภาวะช็อค
-แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก, ไข้เลือดออก, โรคไต โรคตับ (ที่มีอาการบวมมาก)
***ภาวะที่ร่างกายมีเลือดน้อย***
ฉันเคยเจอเหตุการณ์ ...ในภาวะที่ร่างกายมีเลือดน้อยมาแล้ว.... (ทำให้รู้สึกสงสารผู้ป่วย.....ที่เลือดน้อยมาแต่กำเนิดมาก)....อาการที่เกิดขึ้นก็คือ
- หน้ามืด
- หายใจไม่ค่อยออก
- สมองชา มึน (คิดอะไรไม่ค่อยออก)
- ตัวเย็นเฉียบ (หนาวมากด้วย)
- ตาพร่ามัว
- เหงื่อออกท่วมตัว (จริง ๆ )
- ปวดหัวมาก (เหมือนจะแตกเป็นเสี่ยง ๆ )
- ลำไส้บิดมวน บีบจนเจ็บ-- จำเป็นต้องอาเจียน (แม้จะมีแต่น้ำ และสุดท้าย คือน้ำลาย)
นี่คืออาการ...ที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ...ลองจินตนาการดู ..
(ขอบอกว่า …ทรมาน-มาก-มาก)
**ฉันได้ยิน...หมอพูดกับคนที่มาบริจาคเลือดว่า ..."ต้องขอบคุณมากเลยนะคะ.......ที่บอกต่อ ๆ กัน...ให้ช่วยกันมาบริจาค ....ถ้าทางโรงพยาบาล ...สามารถผลิตเลือดเองได้ ...คงตั้งหน้าตั้งตา ผลิตกันทั้งวันทั้งคืน ...คงไม่ต้องรอแต่คนใจบุญ....มาบริจาคอย่างเดียว"
**เลือด... เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของร่างกาย.... แต่ถ้าเราสละออกมาเพียงส่วนหนึ่ง ....โดยที่ร่างกายเรา.... ยังสามารถดำรงอยู่ได้…คงจะดีนะ …หากได้ช่วยเหลือชีวิต ...หรือ ....ยืดอายุผู้อื่น….ให้ยืนยาวต่อไป …ถือว่าเป็นกุศลอย่างสูง
**ถ้ามีความตั้งใจจะไปบริจาคเลือด ....ดูแลตัวเองให้ดี ๆ..... กินอาหารให้ครบหมู่ ......นอนหลับพักผ่อน วันละ ประมาณ 6-7 ชั่วโมง ...ติดต่อกันประมาณ 7 วันขึ้นไป ....แล้วคุณจะมีเลือดที่สมบูรณ์.... ที่พร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่นได้แล้ว .....(ปัจจุบัน โรงพยาบาลส่วนใหญ่ จะรับบริจาค วัน เสาร์-อาทิตย์ ด้วยนะ –อ้างโน่นอ้างนี่ไม่ได้แล้วล่ะ)
ที่มา: ธนาคารเลือด คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และ http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=iamzeon&date=03-10-2007&group...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น