6 พ.ย. 2550

ขับปลอดภัยในหน้าฝน

ตรวจสภาพรถ
•B ตรวจระดับและสภาพน้ำมันเบรก น้ำมันคลัทช์ รอยรั่วซึม
•E ตรวจเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่ ระบบไฟ และ แสงสว่างต่างๆ
•W ตรวจเติมน้ำระบายความร้อนและน้ำฉีดกระจก
•A ตรวจสอบสภาพยาง ดอกยาง และ เติมลมยางให้ถูกต้อง
•G ตรวจสอบระดับน้ำมันก่อนการเดินทาง รอยรั่วซึมต่างๆ
•O ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์
และน้ำมันเกียร์
•N สังเกตเสียงผิดปกติของเครื่องยนต์ และช่วงล่างเพื่อ
แก้ไขแต่เนิ่นๆ

BEWAGON นั้นสำคัญทุกตัว
แต่ที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษในช่วงหน้าฝนคือ B, A, W และ E
B การตรวจสอบระบบเบรก และ น้ำมันเบรก
A การตรวจสอบสภาพยาง ดอกยาง และลมยาง
W การตรวจเติมน้ำฉีดกระจก และสภาพยางปัดน้ำฝน
E การตรวจระบบไฟแสงสว่าง

B - ตรวจสอบระบบเบรก
•หัวใจของน้ำมันเบรกอยู่ที่จุดเดือด ซึ่งมาตรฐานสากลต้องไม่ต่ำกว่า 140
องศาเซลเซียส สาเหตุที่ทำให้จุดเดือดของน้ำมันเบรกลดต่ำลง ได้แก่น้ำ ความ
ชื้น และ ความสกปรก
•ตรวจสอบผ้าเบรกว่ามีความหนาเพียงพอตามข้อกำหนด
•ตรวจสอบเบรกว่าจับล้อเท่ากัน โดยขณะขับรถที่ความเร็ว 30 – 40 กม/ชม
บนถนนราบ ผิวจราจรดี มีความปลอดภัยเพียงพอ ดูกระจกด้านหลังและด้าน
ข้างว่าปลอดภัย ประคองพวงมาลัยไว้พอหลวม และทดสอบด้วยการเหยียบ
เบรกเท้าแรงๆ ถ้าพวงมาลัยนิ่ง ไม่ปัด ก็ใช้ได้ แต่ถ้าพวงมาลัยปัดก็แสดงว่า
เบรกจับล้อไม่เท่ากัน จำเป็นต้องปรับตั้งระบบเบรกใหม่
•กรณีถ้าขาดความชำนาญในการตรวจสอบเอง นำรถเข้าศูนย์ฯน่าจะเป็น
ทางเลือกที่ดีกว่า

A - ตรวจสอบสภาพยาง ดอกยาง และ เติมลมยางให้ถูกต้อง
•ดอกยางต้องอยู่ในสภาพดีไม่สึกจนถึงสะพานยาง ความลึกของดอกยาง
ไม่ควรต่ำกว่า 3 – 4 มิลลิเมตร เพื่อประสิทธิภาพในการรีดน้ำออกจากหน้ายาง
ชีวิตของท่านอาจฝากไว้กับความหนาของดอกยางเพียงไม่กี่มิลลิเมตรนี้
•อายุของยาง โดยปกติไม่ควรเกิน 3 ปีนับจากวันผลิตซึ่งสามารถดูได้จาก
รหัสของยาง เพราะเมื่ออายุมากขึ้น เนื้อยางจะแข็ง ขาดความยืดหยุ่น และ
แรงจิกเกาะถนน
•สูบลมยางให้แรงดันเป็นไปตามที่คู่มือรถกำหนด ความดันลมยางที่มาก
หรือ ต่ำกว่ามาตรฐาน จะทำให้การจับเกาะถนนไม่ดีเท่าที่ควร

W - ตรวจเติมน้ำฉีดกระจก และ ยางปัดน้ำฝน
•ยางปัดน้ำฝนต้องอยู่ในสภาพดี ตรวจสอบได้โดยเมื่อเอามือรูดผ่าน ต้อง
ไม่มีเนื้อยางสีดำติดมือ หรือเวลาเปิดกวาดน้ำที่กระจกหน้าต้องใส ไม่มัว ไม่
เป็นคราบ ไม่เป็นเส้น
•ถังพักน้ำฉีดกระจกต้องใสสะอาด มีน้ำเต็มพร้อมใช้งาน และฉีดน้ำได้แรง
และทิศทางถูกต้อง
•ระมัดระวังฝ้าที่อาจเกิดขึ้นที่กระจกด้านในของรถระหว่างฝนตก โดย
เฉพาะรถที่ไม่มีแอร์ เตรียมผ้าแห้งไว้ในรถสักนิดก็จะเป็นการดีมาก
•การเปลี่ยนยางปัดน้ำฝนปีละครั้ง ทุกช่วงหน้าฝนคงไม่ทำให้คุณเสียเงิน
มากจนเกินไป

การใช้ความเร็ว
•ระมัดระวังให้มากเมื่อฝนเริ่มตกใหม่ๆ ในช่วง 15 – 20 นาทีแรก เพราะ
น้ำฝนจะชะล้างสิ่งสกปรก คราบน้ำมันต่างๆบนผิวถนนให้ลอยขึ้น และทำให้
ผิวถนนลื่น หมั่นสังเกตผิวถนนต่างๆที่จะมีผลกับการจับเกาะของยางล้อ
•ลดความเร็วลง ฝนตก ถนนลื่น คุณควรลดความเร็วของรถลง เหลือ
ประมาณ 2/3 – ¾ ของความเร็วปกติแล้วแต่สภาพการณ์ ซึ่งจะทำให้ยางจับ
เกาะถนนได้ดีขึ้น และคุณยังมีเวลาพอที่จะแก้ไขสถานการณ์ต่างๆและหลบ
หลีกจากอันตรายต่างๆได้ดีกว่าด้วย
•ระมัดระวังรถที่ขับตามและแซงขึ้นไป รวมถึงรถที่สวนมาซึ่งอาจทำให้น้ำ
กระเซ็นมาที่กระจกหน้าและทำให้คุณมองข้างหน้าไม่เห็น
•ถ้าฝนตกหนัก สภาวะอากาศแย่ แนะนำให้หาที่จอดรถในที่ปลอดภัยจะ
ดีกว่า ห้ามขับรถในขณะมองไม่เห็นโดยเด็ดขาด

การทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้า (รถยนต์)
•ในช่วงฝนตก หรือ ขณะที่ถนนลื่น รถต้องการระยะเบรกมากกว่าปกติเมื่อ
เปรียบเทียบกับถนนแห้ง รวมถึงทัศนวิสัย และการมองเห็นที่ไม่ดีเท่าเวลาปกติ
ดังนั้นขอแนะนำให้เพิ่มระยะตามรถคันหน้าให้มากขึ้น
•ควรทิ้งระยะตามรถคันหน้าอย่างน้อย 2 เท่าของเวลาปกติ คือ ทิ้งระยะ
ตามรถคันหน้า 4 – 6 วินาที แล้วแต่สภาพการณ์
•หรือ ทิ้งระยะตามรถคันหน้าอย่างน้อย 1 เมตร ต่อความเร็วของรถทุก
1 กม./ชม. หรือ เป็นตัวเลขเท่ากับความเร็ว เช่น ที่ความเร็ว 60 กม./ชม. คุณ
ต้องทิ้งระยะตามรถคันหน้าอย่างน้อยเท่ากับ 60 เมตร

การเหยียบเบรก และ รีดน้ำออกจากระบบเบรก
•เหยียบเบรกอย่างนุ่มนวล อย่าเหยียบเบรกอย่างรุนแรงเพราะจะทำให้
ล้อล็อค รถลื่นไถลและเสียการควบคุมได้ การป้องกันการเหยียบเบรกที่รุนแรง
จะทำได้ต่อเมื่อ คุณขับรถด้วยความเร็วที่เหมาะสม มีการสังเกตการณ์ที่ดี และ
คาดการณ์ได้อย่างถูกต้อง
•เมื่อจำเป็นต้องขับรถผ่านถนนบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง จะต้องรีดน้ำจาก
ระบบเบรกให้ผ้าเบรกแห้ง เมื่อพ้นเขตน้ำท่วมขังแล้ว โดยอาจใช้วิธีเหยียบ
เบรกตามปกติ หรือ ขณะขับช้าๆด้วยเกียร์ต่ำ ดูกระจกหลังและกระจกข้าง
ว่าปลอดภัย ใช้เท้าขวาเหยียบคันเร่งเบาๆ และใช้เท้าซ้ายลาเบรกโดยการแตะ
เบรกเบาๆ จนกระทั่งเบรกไม่มีเสียงดัง และระบบเบรกตอบสนองตามปกติ
วิธีนี้ต้องนำไปฝึกก่อนให้เกิดความเคยชิน ก่อนใช้ เพื่อจะได้ไม่มีอันตราย

การขับรถลุยน้ำท่วม
•หยุดรถ และประเมิณดูว่าน้ำลึกแค่ไหน ถ้าจำเป็นอาจต้องลงไปเดินลุย
น้ำดูก่อน ถ้าน้ำลึกมากและมีทางเลือกอื่น ไปทางอื่นน่าจะดีกว่า แม้ว่าจะอ้อม
บ้าง แต่ก็ปลอดภัยกว่า อย่าทำตัวเป็นพระเอก ควรรอให้คันอื่นขับรถนำหน้าไป
ก่อน และขับตามไปจะปลอดภัยกว่า กรณีน้ำไม่ลึกมากนักให้ประเมิณและขับ
รถไปในส่วนที่คิดว่าตื้นที่สุด
•สำหรับรถเกียร์ธรรมดา ขับรถที่เกียร์ 1 เร่งเครื่องให้รอบสูงไว้ แล้วเหยียบ
คลัทช์เพื่อให้ความเร็วต่ำ ถ้ารอบต่ำไปเครื่องยนต์อาจดับกลางน้ำได้
•สำหรับรถเกียร์ออโต้ ให้ใช้เกียร์ L เร่งเครื่องให้รอบสูงไว้ แล้วใช้เท้าซ้าย
ลาเบรกเท้าไว้ เพื่อไม่ให้รถวิ่งเร็วเกินไป
•ระมัดระวังคลื่นน้ำจากรถคันอื่นที่ขับตาม และสวนมาซึ่งอาจเข้าไปใน
ห้องเครื่อง และทำให้เครื่องยนต์ดับ หรือ ทำให้รถลอย ยากแก่การควบคุมได้

การใช้ไฟขณะฝนตก
•ระบบไฟแสงสว่างของรถมีความสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้า
ฝน ในเวลากลางคืน และเมื่อการมองเห็นไม่ชัดเจน ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ไฟ
แสงสว่างของรถคุณติดครบทุกดวง เปลี่ยนและจัดเตรียมสำรองไว้ตามสมควร
•ให้ใช้ไฟใหญ่เพื่อสามารถมองเห็นทางและผู้อื่น และให้ผู้อื่นมองเห็นคุณ
ห้ามเปิดเฉพาะไฟหรี่เพียงอย่างเดียว
•ห้ามเปิดไฟสูง เพราะจะทำให้เกิดแสงสะท้อนกับน้ำฝนเข้าตาคนขับรถที่
สวนมา ทำให้เขามองไม่เห็น และอาจเกิดอันตรายได้
•ไม่แนะนำให้เปิดไฟฉุกเฉินในขณะรถวิ่ง เพราะจะรบกวนสายตาของผู้ขับ
รถคันอื่น ทำให้รถที่ขับตามและสวนทางมาสับสน และอาจเห็นไฟเบรกของรถ
คุณไม่ชัดเจน อีกทั้งกรณีที่คุณจำเป็นต้องเปลี่ยนช่องทาง หรือ ทิศทาง ก็จะไม่
สามารถเห็นและทราบได้เนื่องจากสัญญาณฉุกเฉินจะทำให้มองไม่เห็นไฟเลี้ยว

ไม่มีความคิดเห็น: