13 พ.ย. 2550

10 วิธีหนีร่างกายเสียสมดุล

ด้วยชีวิตของคนทำงานที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาหลากหลายที่รุมเร้าเข้าทำร้ายตัวเองอย่างช้าๆโดยไม่รู้ต­ัว จากพฤติกรรมต่างๆ ของตัวเราเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกระดูกส ันหลังที่เป็นโครงสร้างหลักของร่างกาย

ดังนั้น ก่อนที่โครงสร้างร่างกายจะเสียสมดุล เราควรต้องเปลี่ยนวีถีชีวิตตัวเองใหม่ใส่ใจกับตัวเองให้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพตลอดอายุขัย ซึ่ง "เพ็ญพิชชากร แสนคำ"นักกายภาพบำบัดจากสถาบันปรับโครงสร้างร่างกาย ซีเคร็ท เชพ เวลเนส เซ็นเตอร์ ได้สรุปพฤติกรรมที่ทำให้โครงสร้างร่างกายเสียสมดุล เอาไว้ 10 ข้อดังนี้

1. การนั่งไขว่ห้าง จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กระดูกคดอย่างแน่นอนหรืออาจจะคดแล้วก็ได้โดยที่ไม่รู้ตัว
2. การนั่งกอดอก ทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรง หรือชาได้ นอกจากนี้ยังมีผลต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะถ้ากระดูกคอผิดรูป จะทำให้กล้ามเนื้อคอเกร็ง และจำกัดการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เป็นสาเหตุของการอาการปวดศีรษะ หรืออาจทำให้เป็นไมเกรนเรื้อรังได้
3. การนั่งหลังงอ/นั่งหลังค่อม เช่นการอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ เป็นชั่วโมง จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรดแลกติค ทำให้มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา
4. การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้นการนั่งเก้าอี้ส่วนใหญ่จะชอบนั่งแบบครึ่งๆก้น ซึ่งส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก เพราะฐานในการรับน้ำหนักตัวแคบ แต่ในทางตรงข้าม ถ้านั่งให้เต็มก้นเต็มเบาะ คือเลื่อนก้นให้เข้าในสุดจนติดพนักพิง จะทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานน้อยและเกิดการรองรับน้ำหนักตัวได้เต็มที่
5. การยืนพักขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียวการยืนที่ถูกต้องควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพกจะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกายไม่ทำให้กล้­ามเนื้อข้างใดข้างหนึ่งต้องทำงานหนักมากเกินไป ในทางตรงข้าม หากยืนพักขาหรือลงน้ำหนักขาไม่เท่ากัน จะทำให้กระดูกเชิงกรานบิดเบี้ยวส่งผลให้กระดูกสันหลังคด

6. การยืนแอ่นพุง/หลังค่อม ควรยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อย ขณะยืน เดิน หรือนั่ง ให้พยายามแขม่วท้องเล็กน้อยโดยให้มีสติรู้สึกตัวอยู่ตลอด หากเป็นไปได้ควรทำตลอดเวลาเพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่นและทำใ­ห้ไม่ปวดหลัง
7. การใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่งจะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลังและการมีโครงสร้างร่างกายที่ผิด
8. การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียวไม่ควรสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่งต่อเนื่องกันเป­็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋า โดยใช้ร่างกายทั้ง 2 ข้างให้เท่าๆกัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอด เพราะจะทำให้ตัวคุณต้องทำงานหนักอยู่เพียงซีกเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้
9.การหิ้วของด้วยนิ้ว การใช้นิ้วหิ้วของหนักบ่อยๆ จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ เพราะจริงๆแล้วกล้ามเนื้อในมือเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก หน้าที่หลักคือการใช้หยิบ,จับโดยไม่หนัก แต่หากต้องใช้จับหรือหิ้วหนักๆ จะทำให้เส้นเอ็นมีการเสียดสี และเกิดพังผืดในที่สุด ยิ่งหากหิ้วหนักมากๆ จะทำให้รั้งกล้ามเนื้อมัดอื่นๆ และเกี่ยวโยงไปถึงกระดูกคอ ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งมากกว่าปกติ มีผลต่อการทรุดของกระดูกและกดทับเส้นประสาทได้
10. การนอนขดตัว/นอนตัวเอียง ท่านอนหงายเป็นท่านอนที่ถูกต้องที่สุด ควรนอนให้ศีรษะอยู่ในแนวระนาบ ขนานกับเพดานไม่แหงนหน้า หรือก้มคอมากเกินไป หมอนหนุนศีรษะต้องไม่แข็งหรือนิ ่มเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่าเพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล่าง หากจำเป็นต้องนอนตะแคง ให้หาหมอนข้างก่ายโดยก่ายให้ขาทั้งหมดอยู่บนหมอนข้าง เพื่อรักษาแนวกระดูกให้อยู่ในแนวตรง

ไม่มีความคิดเห็น: