13 พ.ย. 2550

จุดกำเนิด Gooooooooooogle

*โปรแกรมเล็กๆ ที่ถูกปล่อยออกจากห้องนอนที่หอพักนักศึกษาคนนึง ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ ที่ใหญ่ที่สุด รองจากการคิดค้นอินเตอร์เน็ต ได้อย่างไร*

"..และแล้วจุดเริ่มต้นของไอเดียเล็กๆ ก็กลายเป็นไอเดียที่เปลี่ยนโลกอินเทอร์เน็ตทั้งใบ จุดกำเนิดของยักษ์ใหญ่ในวงการซอฟท์แวร์ ก็เริ่มขึ้นที่นี่ " *เซอร์กี บริน (Sergey Brin) และ ลาร์รี่ เพจ (Larry Page) ผู้ให้กำเนิด Search Engine สะท้านโลก*

*Larry* *Page* เริ่มที่จะคิดว่า เราจะทำไงถึงจะรู้ว่า ลิงค์ใดบ้างที่ลิงค์มายังเว็บหนึ่งๆ หลังจากที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ไม่นาน Larry Page ก็พบว่า จริงๆแล้ว เรื่องของการลิงค์ไปลิงค์มาของเอกสารนี่มีกันมานานแล้วในวงการวิชาการ ก็คือเรื่องของ* ผลงานวิชาการ* นั่นเอง คือโดยปกติแล้ว หากนักวิชาการท่านใด คิดทฤษฎีอะไรออกมาได้ใหม่ๆ หรือค้นพบอะไรใหม่ หรือต้องการจะแก้ไขสิ่งที่มีอยู่แล้ว ก็จะทำการตีพิมพ์ผลงานของตนเองในวารสารวิชาการ (Journal) โดยจะต้องอ้างอิงถึงที่มาของความรู้ หรือ ผลงานที่มีมาก่อนของคนอื่น หรือที่ใกล้เคียง ก็เพื่อให้องค์ความรู้ใหม่ที่ตีพิมพ์ มีรากฐานจากองค์ความรู้ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว (ตีพิมพ์แล้ว) นั่นเอง

ดังนั้น ผลงานวิชาการไหนที่ได้รับการอ้างถึง (Citation) บ่อยๆ จากนักวิชาการคนอื่นๆ แสดงว่าผลงานวิชาการชิ้นนั้น ได้รับการยอมรับอย่างจริง ในวงการวิชาการเรามีตัวชี้วัดกันเลยว่า ผลงานหนึ่งๆ มีการถูกอ้างถึงมากน้อยเพียงใด เราเรียกดัชนีตัวนี้ว่า Citation index ซึ่งการอ้างอิงด้านวิชาการถือเป็นเรื่องใหญ่ ใหญ่ขนาดไหน ก็ใหญ่พอที่จะมีวิชาที่ว่าด้วยเรื่องนี้โดยเฉพาะเลย คือวิชา bibliometrics (่เข้าใจว่าน่าจะเป็นทางกลุ่มนักศึกษา วารสาร หรือ บรรณารักษ์ หรือ สารสนเทศ)

ตอนที่ Tim Berners-Lee (ตอนนี้ได้รับการแต่งตั้ง เป็น Sir Tim Berners-Lee เรียบร้อยแล้ว) วิศวกรอิสระของ CERN คิดค้น World Wide Web ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก คิดว่า เราน่าจะมีวิธีที่จะลิงค์ผลงานวิชาการของนักวิชาการเข้าด้วยกันเลย ไม่ต้องมานั่งกำหนดรูปแบบที่ยุ่งยาก คุณ Tim ก็เลยคิดเรื่องของ Hypertext ขึ้นมา แต่สิ่งที่ Page กำลังทำเป็นการ Reverse Engineer ของ WWW เพราะเค้าต้องการค้นหาถึงที่มา ต้นตอของเอกสารที่ลิงค์กันนั่นเอง ด้วยความรู้นี้ งานของเค้าก็ง่ายขึ้น ที่เหลือก็คือว่าเค้าจะต้องหาให้ได้ ว่าใคร อ้างอิงจากใครโดยอัตโนมัติ พูดง่ายๆ ว่าเค้าต้องวาดกราฟของอินเตอร์เน็ตขึ้นมา บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเค้านั้นเอง แน่นอนว่ากราฟที่เค้าจะสร้างขึ้น จะมีความซับซ้อนสูง และการคำนวนจำนวนลิงค์ที่เชื่อมหากันก็ทำได้ยาก เนื่องจากกราฟมีการเจริญเติบโตเรื่อยๆ เพราะความซับซ้อนของข้อมูลสูง ดังนั้นสูตรการคำนวณเพื่อให้คะแนนแต่ละหน้า ก็จะมีความซับซ้อนด้วย

ตรงนี้นี่เอง ที่ทำให้ *Sergey Brin* กระโดดเข้ามาในโปรเจ็คนี้ ด้วยพื้นเพ background เดิมของ Brin ที่เป็นนักคณิตศาสตร์ ที่จัดว่าเข้าขั้นเป็นอัจฉริยะคนหนึ่ง มีเชื้อสายเป็นคนรัสเซีย เกิดที่รัสเซีย มีพ่อเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียที่ทำงานที่องค์การ NASA และ เป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ (University of Maryland) โดยครอบครัวเค้าอพยพมาอยู่ที่อเมริกา ตอนที่ Brin อายุแค่ 6 ขวบ Brin เรียนจบ ม.ปลาย 1 ปีก่อนชาวบ้าน และหลังจากจบปริญญาตรี ที่แมรี่แลนด์ Brin ก็มาต่อเอกทันทีที่ Stanford ตัว Brin เองก็ต้องมองหาโปรเจ็คปริญญาเอก ด้วยเช่นกัน แต่เค้าเลือกไปเลือกมาเกือบ 2 ปีแล้ว ก็ยังหาหัวข้อลงตัวไม่ได้ จนได้เข้ามคลุกคลีกับโปรเจ็คของ Page ก็เกิดความสนใจ ที่จะเข้ามาทำในส่วนคณิตศาสตร์ ของโปรเจ็คนี้ และอีกสาเหตุก็คือเค้าชอบ Page


*Sergey Brin*
(ทั้งสองเจอกันเพราะ *Larry Page* ไปอยู่ในกลุ่มทัวร์ ที่มี *Sergey Brin*เป็นหัวหน้ากลุ่มทัวร์พอดี การสร้างกราฟของอินเตอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ เป็นจุดเริ่มให้ Larry Page เขียนโปรแกรมเล็กๆ ประเภท Crawler ขึ้นมาตัวหนึ่ง ในห้องนอน ตอนที่ Page เริ่มเขียน crawler นี่ จำนวนหน้าเว็บทั่วโลกก็มีอยู่ประมาณ 10 ล้านหน้าเห็นจะได้ แต่จำนวนลิงค์ที่เชื่อมกันอยู่นี่คงนับไม่ถ้วน โดยหวังจะให้เจ้า Crawler ไต่ไปเก็บข้อมูลมาสร้างเป็นกราฟโดยอัตโนมัติ ในตอนนั้น เค้าอาจจะยังไม่รู้หรอก ว่าโปรแกรมเล็กๆที่เค้าเริ่มเขียนในห้องนอน จะเป็นสิ่งที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก ต่อจาก Internet ....


*Larry Page*
หลายคนคงอาจจะยังไม่คุ้นกับคำว่า Crawler ขยายความให้อีกนิด Crawler เป็นโปรแกรมเล็กๆ โปรแกรมนึง ...

ไม่มีความคิดเห็น: