10 ม.ค. 2553

บริจาคโลหิต-อวัยวะ การทำบุญที่ยิ่งใหญ่

ผู้คนส่วนใหญ่มักใช้โอกาสปีใหม่เป็นจุดเริ่มต้นทำสิ่งดี ๆ เพื่อสร้างความสบายใจให้แก่ตนเอง มีทั้งการตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือและการบริจาคทรัพย์เพื่อช่วยคนทุกข์ยากแล้ว การบริจาคโลหิตหรืออวัยวะก็ยังถือเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ สามารถพลิกฟื้นวิกฤติร่างกายจากหนักเป็นเบาหรือเข้าสู่ภาวะปกติได้ ถือเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่

และในวันสิ้นปีเช่นนี้ ‘มุมสุขภาพ’ แนะนำให้คุณผู้อ่านร่วมทำบุญรับศักราชใหม่ด้วยการบริจาคโลหิตหรืออวัยวะ ซึ่งควรมีความเข้าใจถึงหน้าที่และความจำเป็นของสิ่งที่จะบริจาคกันก่อน เริ่มจากการบริจาคโลหิต แบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย เม็ดโลหิต (เม็ดโลหิตแดง ขาว เกล็ดโลหิต) และพลาสมา โดยทั่วไปผู้คนมักร่วมบริจาคโลหิต เนื่องจากร่างกายของคนเรามีโลหิต 17-18 แก้วน้ำ แต่ใช้งานเพียง 15-16 แก้วน้ำ ดังนั้นส่วนที่เหลือจึงสามารถบริจาคได้โดยไม่เป็นอันตราย

ในการบริจาคจะใช้เลือดเพียง 350 – 450 ซีซี แล้วจะนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยจากอุบัติเหตุ ผ่าตัด คลอดบุตร เฉลี่ยร้อยละ 77 ส่วนอีกร้อยละ 23 ของโลหิตที่ได้รับการบริจาคจะนำไปรักษาผู้ป่วยเฉพาะโรค เช่น ธาลัสซีเมีย เกล็ดโลหิตต่ำ ฮีโมฟีเลีย เป็นต้น แต่ยังมีการบริจาคส่วนประกอบสำคัญในโลหิตที่แบบเฉพาะเจาะจงลงไป คือ ‘เกล็ดโลหิต’ ซึ่งจะรับบริจาคเมื่อมีการร้องขอจากโรงพยาบาล เนื่องจากเมื่อนำเกล็ดโลหิตออกจากร่างกาย จะมีอายุการใช้งานภายใน 24 ชั่วโมง – 5 วัน แถมยังต้องถูกเก็บรักษาในตู้ที่อุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียส โดยนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาว

ไขกระดูกไม่ทำงาน โรคไข้เลือดออก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เพราะผู้ป่วยเหล่านั้นจะมีเกล็ดโลหิตในร่างกายต่ำกว่า 1-5 แสนตัวต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร เฉพาะส่วนของเลือดยังมี ‘เม็ดโลหิตแดง’ ส่วนประกอบสำคัญที่นำออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยอุบัติเหตุ ผ่าตัด หรือมีภาวะซีดเพราะเม็ดโลหิตแดงผิดปกติ สำหรับการบริจาคเม็ดโลหิตแดงจะรับได้จากผู้บริจาค 2 ยูนิตต่อราย การนำไปใช้แพทย์จะเตรียมเม็ดโลหิตแดงจากผู้บริจาครายเดียวจึงลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ‘พลาสมา’ หรือน้ำเหลือง คือภูมิต้านทานโรคติดต่อและเชื้อโรค การแยกพลาสมาออกจากโลหิตนั้นจะได้เพียง 100 – 150 ซีซี จึงมีการเกิดรับบริจาคเฉพาะพลาสมามากขึ้น เนื่องจากการบริจาคเพียงแต่พลาสมา จะทำให้ได้ปริมาณ 500 ซีซีต่อคน นำไปใช้เป็นส่วนประกอบโลหิต

และสร้างผลิตภัณฑ์โลหิตเพื่อฉีดเข้าเส้นสำหรับป้องกันไวรัสตับบีหรือพิษสุนัขบ้า และ ‘เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต’ (Stem Cell) เซลล์ตัวอ่อนของโลหิตที่จะเจริญเติบโตเป็นเม็ดโลหิตแดง ขาว และเกล็ดโลหิต ร่างกายสร้างขึ้นตลอดเวลา โดยนำไปช่วยผู้ป่วยธาลัสซีเมีย โลหิตจางชนิดไขกระดูกฝ่อ มะเร็งเม็ดโลหิต เป็นต้นนอกเหนือจากการบริจาคโลหิตแล้ว การบริจาคอวัยวะก็ยังเป็นที่ต้องการอยู่ แต่เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน การบริจาคอวัยวะจึงมีจำนวนไม่มาก การบริจาคดวงตา หลังผู้ที่บริจาคเสียชีวิตลง ภายใน 6 ชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญจะต้องทำการจัดเก็บ ก่อนสภาพศพเน่าเปื่อย ทั้งยังไม่ควรมีการฉีดน้ำยากันเน่าด้วย ดวงตาที่บริจาคนั้นจักษุแพทย์สามารถนำไปแยกส่วนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาผู้ที่มีความต้องการกระจกตา เพราะมีอาการกระจกตาขุ่นเป็นฝ้าขาว กระจกตามีความโค้งนูนผิดปกติ หรือตาขาว การบริจาคเยื่อหุ้มรก Amniotie Humbrane เยื่อบางใสหุ้มทารกและน้ำคร่ำ

ขณะเด็กอยู่ในครรภ์มารดา หลังคลอดเยื่อหุ้มรกจะติดค้างกับรถ มี 2 ส่วนประกอบสำคัญ คือ เซลล์และแผ่นฐานรองรับเซลล์ ที่เรียกว่า basement membrane และส่วนของเนื้อเยื่อผูกพันที่อยู่กันอย่างหลวม ๆ และมีสารหลายอย่างละลายอยู่ข้างใน นำไปใช้ประโยชน์ในการผ่าตัดรักษาช่องท้อง ปกปิดแผลที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ทดแทนเนื้อเยื่อ ช่วยสมานแผล ทั้งยังช่วยในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับผิวดวงตาศูนย์กลางการรับบริจาคแห่งใหญ่ในบ้านเราอยู่ที่ ‘สภากาชาดไทย’ ซึ่งยังต้องการโลหิต ดวงตา และอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด ไต หัวใจ ตับ รวมทั้งร่างกายเพื่อการศึกษาของนัก

ไม่มีความคิดเห็น: