29 มิ.ย. 2553

รู้มั้ย? "เรตติ้งรายการ" วัดกันอย่างไร

มีสองแบบครับ คือสุ่มตัวอย่าง กับใช้เครื่องติดเพื่อวัดเรตติ้ง



กรณีของเครื่องวัดนั้น เมืองไทยจะติดตั้งโดยบริษัท AC Nielsen ครับ
ซึ่งก็โดนวิจารณ์จากช่องอื่นที่เรตติ้งไม่ดีครับว่าส่วนใหญ่เครื่องเหล่านี้ติด­กับบ้านของคนที่ฐานะไม่ค่อยดี(เนื่องจากคนมีรายได้มักจะไม่ยอมให้ติดตั้งเครื่อ­งแบบนี้ในบ้าน)
ซึ่งส่งผลให้เรตติ้งของละครน้ำเน่าดีกว่ารายการคุณภาพ ที่ให้ความรู้

อันนี้ก็ไม่ได้ดูถูกใครนะครับ
แต่ต้องลองนึกสถานภาพของคนว่าคนส่วนใหญ่ที่หาเช้ากินค่ำ
หรือแม้แต่คนทำงานออฟฟิศจนดึก ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยอยากดูรายการที่เคร่งเครียดครับ
มักเลือกดูรายการบันเทิงเป็นหลัก
ซึ่งละครโทรทัศน์เหล่านี้ก็คลายเครียดได้ทางหนึ่ง

ทางช่องโทรทัศน์ต่างๆ เองก็ทำเรตติ้งรายการของตนเองเช่นกันครับ
ซึ่งเมื่อทำการสำรวจมาก็ปรากฎว่าละครน้ำเน่าทั้งหลายได้รับความนิยมจริงๆ
ในช่วงเวลาทองอย่างช่วงหลังข่าว
ซึ่งรายการประเภทอื่นจะได้รับความสนใจน้อยกว่าเมื่อเทียบกับรายการประเภทนี้
ซึ่งก็เลยทำให้ช่องโทรทัศน์คู่แข่งต้องทำรายการประเภทนี้ตามไปด้วย

---------------------

เรตติ้งรายการเมืองไทย จัดทำโดย บริษัทวิจัย ACNielsen (Thailand)
โดยบริษัทจะกำหนดกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีราว 1,000 ครัวเรือนแล้ว
นำกล่องบันทึกข้อมูลไปติดตั้งกับโทรทัศน์ของบ้านกลุ่มเป้าหมาย
พร้อมกับกำหนดรหัสของสมาชิกภายในบ้านไว้ ซึ่งพวกเขา (ไม่ว่าพ่อ แม่ หรือลูก
หรือญาติกาอื่นๆ) จะเปิดดูโทรทัศน์รายการใด
เครื่องจะบันทึกรายละเอียดในการชมเอาไว้
ในส่วนของบริษัทเองก็จะบันทึกรายการที่ออกอากาศทุกช่องตลอด 24 ชั่วโมง

เมื่อถึงกำหนด บริษัทผู้จัดทำเรตติ้งจะเก็บข้อมูลในกล่องไปประมวลผล
เทียบเคียงกับเทปบันทึกของรายการโทรทัศน์ว่า
ในแต่ละนาทีมีผู้ชมรายการหรือละครหนึ่งๆ เท่าไร
แล้วคำนวณออกมาเป็นตัวเลขเรตติ้ง
ซึ่งก็คือเปอร์เซ็นต์ของผู้ชมรายการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายนั่นเอง

ผลของเรตติ้งจะบอกเป็นตัวเลขตั้งแต่ 0 ขึ้นไป
นับตั้งแต่มีการจัดทำเรตติ้งกันมา ผลเรตติ้งสูงสุด คือ30 จากละครเรื่อง
"คู่กรรม" ที่เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์แสดงนำที่ออกอากาศทางช่อง 7

การจัดทำเรตติ้งนับว่ามีอิทธิพลมากต่อสถานีโทรทัศน์
คณะผู้จัดทำละครหรือรายการ และบริษัทโฆษณา ละครเรื่องไหนมีเรตติ้งดี
โฆษณาจะเยอะ เผลอๆ ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์อาจจะให้ยืดละครออกไปอีกหลายตอน
(เห็นกันบ่อยเลย) อย่างไรก็ตาม
การจัดทำเรตติ้งเป็นที่ถกเถียงกันมากในเรื่องความน่าเชื่อถือ
เพราะการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพียง 1,000
ครัวเรือนจะใช้เป็นตัวแทนประชาชนที่ดูโทรทัศน์หลายสิบล้านคนได้อย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น: