31 ส.ค. 2551

ความรู้เรื่อง Scanner

สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆได้ดังนี้

• ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
• บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์
• แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์
• เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงไปในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ

สแกนเนอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-fed scanner)
2. แบบแท่นนอน (flatbed scanner)
3. แบบมือถือแบบเลื่อนกระดาษ (sheet-fed scanner)

สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้ผ่านหัวสแกนซึ่ง อยู่กับที่ ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบเลื่อนกระดาษ คือสามารถอ่านภาพที่เป็นแผ่นกระดาษได้เท่านั้น ไม่สามารถ อ่านภาพจากสมุดหรือหนังสือได้ แบบแท่นนอน (Flatbed scanner)

สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้าย ๆ กับเครื่องถ่ายเอกสาร เราแค่วางหนังสือหรือภาพไว้ บนแผ่นกระจกใส และเมื่อทำการสแกน หัวสแกนก็จะเคลื่อนที่จากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบแท่นนอนคือแม้ว่าอ่านภาพจากหนังสือได้ แต่กลไกภายในต้องใช้ การสะท้อนแสงผ่านกระจกหลายแผ่น ทำให้ภาพมีคุณภาพไม่ดีเมื่อเทียบกับแบบแรก

การทำงานของสแกนเนอร์แบบแท่นนอน
แสงจากหลอดไฟกระทบกับหน้าหนังสือด้านที่วางแนบแผ่นกระจก โดยบริเวณที่เป็นสีขาวจะสามารถสะท้อนแสงได้มากกว่า บริเวณที่มีสีทึบกว่า

มอเตอร์ที่ติดอยู่กับหัวสแกนจะค่อย ๆ เลื่อนหัวสแกนเนอร์จากปลายด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง โดยที่หัวสแกนเนอร์ของสแกนเนอร์ จะมีตัวรับแสงได้ละเอียดถึง 1/90,000 ต่อตารางนิ้ว

ข้อมูลดิจิตอลที่ได้ถูกส่งเข้าคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่ซอฟต์แวร์กราฟฟิก หรือซอฟต์แวร์อ่านตัวอักษร (Optical Character Recognition software) สามารถนไปใช้งานได้

แสงสะท้อนจากหน้าหนังสือตกกระทบสู่หมู่กระจกซึ่งจะเรียงตัวทำมุมได้พอเหมาะกับเลนส์ ของสแกนเนอร์ได้ตลอดเวลา

แสงที่ผ่านเลนส์จะรวมตัวกันทำให้มีความเข้มมากขึ้นจะผ่านตกกระทบลงบนไดโอดรับแสงซึ่ง เรียงตัวกันอยู่ที่หลังของเลนส์ ไดโอดดังกล่าวทำหน้าที่เปลี่ยนค่าความเข้มของแสงให้เป็นสัญญาณ ไฟฟ้า โดยแสงที่มีความเข้มมาก ก็จะทำให้สัญญาณ แรงดันไฟฟ้าที่มีค่ามากขึ้นตามไปด้วย

วงจรแปลงอนาลอกเป็นดิจิตอล (A-D:Analog-to-Digital Converter) แปลงสัญญาณอนาลอก ที่ได้จากไดโอด ให้เป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งใช้แทนจุดที่เป็นสีขาวและดำ มีความละเอียดของข้อมูลสูง สแกนเนอร์แบบสีทำงานคล้าย ๆ กันเพียงจะสแกน 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะสแกนเก็บความเข้มของแสง ที่ผ่านตัวกรองแสงสีแดง เขียว และน้ำเงิน และนำมารวมกันเป็นภาพในขั้นสุดท้าย แบบมือถือ

สแกนเนอร์แบบนี้ผู้ใช้ต้องเลื่อนหัวสแกนเนอร์ไปบนหนังสือหรือรูปภาพเอง สแกนเนอร์ แบบมือถือได้รวม เอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกันและมีราคาถูก เพราะกลไกที่ใช้ไม่ สลับซับซ้อน แต่ก็มีข้อจำกัด ตรงที่ว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอ ในการเลื่อนหัวสแกนเนอร์ของผู้ใช้งาน นอกจากนี้หัวสแกนเนอร์แบบนี้ยังมีหัวสแกนที่มีขนาดสั้น ทำให้ อ่านภาพบนหน้าหนังสือขนาดใหญ่ได้ไม่ครบ 1 หน้า ทำให้ต้องอ่านหลายครั้งกว่าจะครบหนึ่งหน้า ซึ่งปัจจุบันมีซอฟต์แวร์หลายตัว ที่ใช้กับสแกนเนอร์ แบบมือถือ ซึ่งสามารถต่อภาพที่เกิดจากการสแกนหลายครั้งเข้าต่อกัน สิ่งที่จำเป็นสำหรับการสแกนภาพมีดังนี้

• สแกนเนอร์
• สาย SCSI สำหรับต่อจากสแกนเนอร์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
• ซอฟต์แวร์สำหรับการสแกนภาพ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของสแกนเนอร์ให้ สแกนภาพตามที่กำหนด
• สแกนเอกสารเก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำกลับมาแก้ไขได้อาจต้องมีซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนด้าน OCR
• จอภาพที่เหมาะสมสำหรับการแสดงภาพที่สแกนมาจากสแกนเนอร์
• เครื่องมือสำหรับแสดงพิมพ์ภาพที่สแกน เช่น เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์หรือสไลด์โปรเจคเตอร์ ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้

1. ภาพ Single Bit
ภาพ Single Bit เป็นภาพที่มีความหยาบมากที่สุดใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล น้อยที่สุดและ นำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อยที่สุดใช้พื้นที่ ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกนภาพน้อยที่สุด Single-bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ

- Line Art ได้แก่ภาพที่มีส่วนประกอบเป็นภาพขาวดำ ตัวอย่างของภาพพวกนี้ ได้แก่ ภาพที่ได้จากการสเก็ต
- Halftone ภาพพวกนี้จะให้สีที่เป็นโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single-bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบๆ

2. ภาพ Gray Scale
ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉดสีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึกมากขึ้นกว่าเดิมภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจุดของภาพอาจประกอบด้วยจำนวนบิตมากกว่า ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น

3. ภาพสี
หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วยจำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมาก ควาามสามารถในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่าใช้สแกนเนอร์ขนาดความละเอียดเท่าไร

4. ตัวหนังสือ
ตัวหนังสือในที่นี้ ได้แก่ เอกสารต่างๆ เช่น ต้องการเก็บเอกสารโดยไม่ต้อง พิมพ์ลงในแฟ้มเอกสารของเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ก็สามารถใช้สแกนเนอร์สแกนเอกสาร ดังกล่าว และเก็บไว้เป็นแฟ้มเอกสารได้ นอก จากนี้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถใช้ โปรแกรมที่สนับสนุน OCR (Optical Characters Reconize) มาแปลงแฟ้มภาพเป็น เอกสารดังกล่าวออกมาเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถแก้ไขได้

ไม่มีความคิดเห็น: